รมว.เกษตรฯขึ้นเวทีโลกยกศาสตร์พระราชาในหลวงร.9-ร.10 พัฒนาการเกษตรยั่งยืน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562

รมว.เกษตรฯขึ้นเวทีโลกยกศาสตร์พระราชาในหลวงร.9-ร.10 พัฒนาการเกษตรยั่งยืน

รมว.เกษตรฯขึ้นเวทีโลกยกศาสตร์พระราชาในหลวงร.9-ร.10 พัฒนาการเกษตรยั่งยืน

“รมว.เกษตร ขึ้นเวทีโลกยกศาสตร์พระราชาในหลวงร.9 - ร.10 พัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน เพิ่มความมั่นคงอาหาร การพัฒนาชนบท และขจัดปัญหาความยากจนอย่างเต็มที่”
30 มิถุนายน 2562 นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลัง ร่วมประชุมองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือเอฟเอโอ ว่ารัฐบาลไทย ได้น้อมนำศาสตร์พระราชาของในหลวง รัชกาลที่ 9 และพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ รัชกาลที่ 10 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินโครงการต่างๆ จนประสบความสำเร็จ เพื่อเพิ่มความมั่นคงอาหาร การพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน การพัฒนาชนบท และขจัดปัญหาความยากจนอย่างเต็มที่
รมว. เกษตรฯ กล่าวในเวทีการประชุมที่ให้ความสำคัญถึงปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐาน ว่ามีสาเหตุมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสภาพแวดล้อม ในอดีตเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยเผชิญปัญหาผู้อพยพจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง และสงครามอินโดจีน ในเวลานั้น ประเทศไทยต้องดูแลเลี้ยงดูคนอพยพจำนวนนับแสนคน แต่ประเทศไทยก็ได้รับความช่วยเหลือจากองค์การข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) รวมถึงมิตรประเทศต่างๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือนำผู้ลี้ภัยเหล่านั้นไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่ 3
ในปัจจุบัน ปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานมีสาเหตุจากปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่อพยพเข้ามาหางานทำ เพื่อต้องการทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นทั้งแรงงานภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ โดยรัฐบาลไทยได้ดูแลคนเหล่านั้นตามหลักมนุษยธรรม โดยได้แก้ไขปัญหาผู้อพยพ โดยมีการขึ้นทะเบียนและอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวสามารถประกอบอาชีพในประเทศไทยได้อย่างถูกต้อง เพื่อแก้ไขปัญหาการหลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย
 
ตั้งแต่ปี 2015 ไทยมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่สำคัญ เพื่อแก้ไขปัญหาการประมงที่ผิดกฎหมาย ไร้การรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) และปัญหาแรงงานในอุตสาหกรรมประมง ทั้งนี้จากนโยบายด้านแรงงาน ประเทศไทยยังมีการผ่อนปรนให้สิทธิในการมีถิ่นที่อยู่ถาวรแก่บุคคลต่างด้าวที่อาศัยในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 30 ปี และประสงค์ที่จะทำงานในประเทศไทย รวมทั้งบุตรหลานที่เกิดในประเทศไทยให้ได้รับสิทธิการถือสัญชาติไทย สิทธิ์ในการศึกษา และการรักษาพยาบาล เช่นเดียวกับประชาชนไทย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้น องค์กรสหประชาชาติ และ NGOs ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกับรัฐบาลไทย
รมว.เกษตรฯ กล่าวอีกว่า รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการประมงที่ผิดกฎหมาย ไร้การรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) ซึ่งไทยขอขอบคุณ FAO สหภาพยุโรป และ ILO ที่ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการแก้ไขปัญหา IUU และปัญหาแรงงานทาสในอุตสาหกรรมประมง และร่วมกับสมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินโลก และ FAO เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งดินและน้ำ ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างความมั่นคงอาหารและการพัฒนาเกษตรอย่างยั่งยืน รัฐบาลไทย ขอยืยันว่าจะขับเคลื่อนวาระทรัพยากรดิน ให้มีการจัดตั้งเป็นองค์กรถาวรภายใต้ธรรมนูญของ FAO รวมทั้งการพัฒนาชนบท และเกษตรกรรม จะนำมาซึ่งการสร้างงาน สร้างโอกาส สร้างอาชีพ ให้แก่เกษตรกร ให้คนรุ่นหนุ่มสาว และผู้หญิงในชนบท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทและการแก้ไขปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานของไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad