รับมืออากาศเปลี่ยน ป้องกันลูกรักป่วย - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562

รับมืออากาศเปลี่ยน ป้องกันลูกรักป่วย


          เมื่อเข้าสู่ช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

          โดยเฉพาะในฤดูฝนเชื้อส่วนใหญ่จะเติมโตได้ดีในสภาพอากาศที่อับชื้นจนทำให้เด็กเล็กที่ยังภูมิต้านทานไม่ดีนักป่วยและยังเกิดโรคระบาดในเด็กได้ง่ายมากแถมอาการป่วยของเด็กก็มักจะรุนแรงและเกิดอาการแทรกซ้อนได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่เสียด้วย เพราะฉะนั้นผู้ปกครอง จึงต้องดูแลและระวัง ให้มากเพื่อให้เจ้าตัวน้อยปลอดภัยจากโรคต่างๆ โดยเฉพาะผู้ปกครองจึงต้องดูแล ระวังให้มากเพื่อให้เจ้าตัวน้อย ปลอดภัยจากโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรค ระบบทางเดินหายใจ หลอดลมอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ และโรคมื้อเท้าปาก
          แล้วระยะเวลากี่วันที่เด็กๆ ควรจะหายไข้ได้แล้ว
          ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหากเด็กป่วยด้วยไข้หวัดปกติ จะสามารถหายเองได้ ด้วยการกินยาลดไข้ เวลามีไข้ รักษาตามอาการ ยาละลาย เสมหะ ยาลด น้ำมูก ดื่มน้ำอุ่นมากๆ พักผ่อนเยอะๆ ก็จะหายเองได้ ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ถ้าหากอาการป่วยเลย 1 สัปดาห์ จะถือว่าผิดปกติอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคอื่นๆ ร่วมด้วย หรือมีอาการภาวะปอดอักเสบ ปอดติดเชื้อ แต่ถ้าในกรณีที่เป็นไข้หวัด ทั่วไป ประมาณ 5 วัน ก็หายเป็นปกติแล้ว แต่ว่าเด็กบางคนเป็นภูมิแพ้ทำให้อาการป่วยอาจจะแทรกซ้อนตามมา ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อ ตรวจว่ามีอาการอื่นแทรกซ้อนไหม มีการติดเชื้ออะไร หรือเปล่า
          ลักษณะอาการป่วย ด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ
          ในช่วงฤดูฝนมักจะมีการระบาดของเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางระบบหายใจหลายชนิดทำให้เด็กๆ รวมถึงผู้ใหญ่ ป่วยด้วยโรค ระบบหายใจมากขึ้น โดยโรคระบบทางเดินหายใจในเด็กที่พบบ่อยที่สุดคงหนีไม่พ้นโรคหวัดซึ่งพบได้ราว 60-70 เปอร์เซ็นต์ โดยไข้หวัดที่เกิด จากเชื้อไวรัสจะทำให้มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เจ็บคอ ไอจาม คัดจมูก แสบตา น้ำตาไหล ตาแดง ส่วนใหญ่จะมีอาการอยู่ประมาณ 5-7 วัน ก็จะหายเป็นปกติ ถ้าเป็นหวัดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้สูง บางรายอาจหนาว สั่น ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ซึ่ง ลักษณะของน้ำมูกมักจะมีสีเขียวปนเลืองให้เห็นตั้งแต่วันแรกๆ ของการเป็นโรค อาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ และกดเจ็บร่วม ด้วย
          รู้เท่าทัน ป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ
          เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาวเด็กๆหลายคนมักจะป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเป็นจำนวนมาก และป่วยบ่อยกว่าปกติ โดยช่วงอายุที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ คือ เด็กช่วงวัยทารก เพราะหากป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น เด็กคลอด 1 ปีแรก เป็นช่วงเวลาที่เด็กจะเป็นอะไรค่อนข้างง่าย และเป็นเยอะกว่าช่วงวัยอื่นๆ เพราะเด็กไม่สามารถพูดได้จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าเด็กเจ็บ หรือปวดตรงส่วนไหน
          ทั้งนี้ส่วนหนึ่งโรคระบบทางเดินหายใจเกิดจากสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการแพร่ระบาดของเชื้อโรค หาก ผู้ปกครองไม่อยากจะให้ลูกหลานต้องป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ ก็ควรให้การดูแลที่เหมาะสมเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ เช่น การจัด สิ่งแวดล้อมในบ้านที่อยู่อาศัยให้สะอาดอยู่เสมอไม่เข้าไปบริเวณที่มีคนแออัด หรือบริเวณที่คนพลุกพลาน แต่สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ การไป โรงเรียนผู้ปกครองควรป้องกันบุตรหลานด้วยการใส่ผ้าปิดปาก
          วิธีการดูแลลูกน้อยในช่วงอากาศเปลี่ยน
          1. การเลือกเสื้อผ้า เสื้อผ้าต้องระบายอากาศดี ไม่อับชื้น เพราะจะช่วยให้ร่างกายของเด็กรู้สึกสบายตัว และต้องใส่ใจเรื่อง กลิ่นเหม็น อับเป็นพิเศษ
          2. พยายามอย่าโดนฝน หลีกเลี่ยงอย่าให้โดนฝน พกร่ม เสื้อกันฝน หมวก และผ้าขนหนู ติดกระเป๋าไว้ หากโดนฝนทุกวันเด็กๆ จะป่วย ง่าย เพราะภูมิต้านทานยังน้อย
          3. ทายากันยุง ทาโลชั่นกันยุง หรือสเปรย์กันยุงให้ติดเป็นนิสัย เพื่อป้องกันการเป็นไข้เลือดออก หรือใช้อื่นๆที่มียุงเป็นพาหะ
          4. ออกกำลังกาย พาลูกออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเป็นการสร้างความแข็งแรงให้กับระบบกล้ามเนื้อ ทำให้ลูกพร้อมที่จะต่อสู้ กับ เชื้อโรคในหน้าฝน
          5. ฉีดวัคซีน ฉีดวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์เพราะหากลูกได้รับวัคซีนไม่ครบร่างกายอาจขาดภูมิคุ้มกัน และเจ็บป่วยได้ง่าย
ในช่วงฤดูฝนโรคส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส RSV และเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกคนควรได้รับวัคซีนในช่วง นี้โดยเฉพาะในเด็ก ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป เพราะจะช่วยลดความรุนแรงขอโรคได้ ในส่วนของไวรัส RSV ยังมีวัคซีนป้องกันสิ่งที่ทำได้ คือ การหลีกเลี่ยงทั้งนี้โรคไข้หวัดใหญ่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่และจะมีการระบาดจนทำให้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมากในช่วงฤดูหนาว
          เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เมื่ออากาศมีเปลี่ยนแปลงคนก็จะป่วยมากขึ้น โรคก็จะแพร่กระจายได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะในเด็กที่จะติดต่อกันได้ง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad