มูลนิธิรอยัลแบงค์คอกซิมโฟนีออร์เคสตร้าฯ เปิดบ้านหลังใหม่วง RBSO ณ ตึก AUA ราชดำริ ปั้นเป็นศูนย์กิจกรรม พร้อมฝึกทักษะทางดนตรี - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564

มูลนิธิรอยัลแบงค์คอกซิมโฟนีออร์เคสตร้าฯ เปิดบ้านหลังใหม่วง RBSO ณ ตึก AUA ราชดำริ ปั้นเป็นศูนย์กิจกรรม พร้อมฝึกทักษะทางดนตรี

                             

มูลนิธิรอยัลแบงค์คอกซิมโฟนีออร์เคสตร้าฯ เปิดบ้านหลังใหม่วง RBSO ณ ตึก AUA ราชดำริ

ปั้นเป็นศูนย์กิจกรรม พร้อมฝึกทักษะทางดนตรี มุ่งยกระดับวงสู่ความเป็นเลิศระดับเวิลด์คลาส

สมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์ (American University Alumni Association under the royal​ patronage หรือAUAA) ซึ่งกำลังจะครบรอบ 100 ปี หลังจากก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2467 เป็นอาคารเก่าแก่ซึ่งตั้งอยู่ ณ ริมถนนราชดำริ ที่หลายคนอาจคุ้นเคยในชื่อ ตึกเอยูเอ ในฐานะที่ตั้งของสถาบันสอนภาษาอังกฤษ เอยูเอ (AUA Language Center) จนกลายเป็นคำเรียกติดปากกันมายาวนาน

ล่าสุดสมาคมฯ ได้ทำการออกแบบและสร้างอาคารหลังใหม่แห่งนี้ โดยได้ 2 สถาปนิกในนาม EAST Architects ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิรัส พัชรเศวต และผู้ช่วยศาสตราจารย์สยาณี วิโรจน์รัตน์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็นผู้ออกแบบ และมีคุณองอาจ สาตรพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ ประจำ พ.ศ. 2552 สาขาทัศนศิลป์ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เป็นที่ปรึกษา โดยได้ทำการเปิดตัวอาคารดังกล่าวตั้งแต่ช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมา

สำหรับอาคารหลังใหม่นี้ มีเป้าหมายให้เป็นศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมทั้ง 7 ชั้น โดยเป็นสถานที่สำหรับการจัดกิจกรรมด้านศิลปะ การจัดคอนเสิร์ต ฉายภาพยนตร์ ตลาดนัด รวมถึงห้องสมุด พร้อมเปิดอาคารสู่สาธารณะเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมให้สอดคล้องกับโลกในยุคปัจจุบัน เพื่อตอบสนองเด็กรุ่นใหม่ที่มีความสนใจเรื่องราวหลากหลายได้มีพื้นที่ในการพัฒนาตัวเอง และพัฒนาองค์ความรู้ โดยการสนับสนุนให้ทุกพื้นที่ในอาคารเติมเต็ม และสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมในประเทศให้มากที่สุด   

สำหรับอาคารหลังใหม่นี้ มีพื้นที่ใช้สอย 7 ชั้น โดยชั้น 1 และ 2 เป็นโถงโล่งและห้องจัดนิทรรศการตามลำดับ ชั้น 3 และ 4 รวมกันเป็นห้องสมุดและออดิทอเรียม ชั้น 5 เป็นพื้นที่สำนักงานให้เช่า ชั้น 6และ 7 เป็นพื้นที่ของสถาบันสอนภาษาเอยูเอ โดยพื้นที่ 4 ชั้นแรกเรียกรวมกันว่าเป็นพื้นที่ของสำนักงานสมาคมฯ และเป็นที่ตั้งใหม่ของศูนย์วัฒนธรรมไทย-อเมริกัน ที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในเวลาอันใกล้นี้



ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม. ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิรอยัลแบงค์คอกซิมโฟนีออร์เคสตร้า เปิดเผยว่า ด้วยเป้าหมายของสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาฯ ซึ่งมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ มูลนิธิรอยัลแบงค์คอกซิมโฟนีออร์เคสตร้า ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา จึงได้เลือกอาคารหลังใหม่แห่งนี้ให้เป็นสถานที่สำหรับฝึกซ้อมของวงรอยัลแบงค์คอกซิมโฟนี ออร์เคสตร้า (Royal Bangkok Symphony Orchestra : RBSO) ตลอดจนการจัดกิจกรรม และการแสดงคอนเสิร์ตขนาดย่อมต่างๆ

โอกาสที่วง RBSO ได้เข้ามาใช้อาคารแห่งใหม่นี้ ด้วยพื้นที่ที่กว้างขวาง และมีความทันสมัย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักดนตรีที่จะมารวมตัวกันฝึกซ้อม และทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ เปรียบเสมือนบ้านแห่งใหม่ของ RBSO ซึ่งเชื่อว่าจะมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างทักษะและพัฒนาศักยภาพของวง ก้าวสู่ความเป็นเลิศทางดนตรีระดับเวิลด์คลาส และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ตามเป้าหมายที่วางไว้ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าว

งรอยัลแบงคอกซิมโฟนีออเคสตรา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2525 ในฐานะ ชมรมวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชอิสริยยศในขณะนั้น ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต่อมาในปี พ.ศ.2528 ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิชื่อ มูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า รอยัลแบงคอกซิมโฟนีออ์เคสตร้า เมื่อปี 2559 จวบจนปัจจุบัน

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ในฐานะองค์อุปถัมภ์ RBSO พระองค์ตั้งพระทัยมุ่งมันที่จะพัฒนาวง RBSO ให้เป็นวงออร์เคสตร้าชั้นนำในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค มีความสามารถเทียบเท่าวงออร์เคสตร้าระดับนำในประเทศยุโรป พระองค์ทรงรับเป็นองค์ประธานคณะกรรมการด้านดนตรี RBSO ทรงวางแผนงานการจัดการแสดงคอนเสิร์ตประจำปี โปรแกรมการแสดง การคัดเลือกนักดนตรีเข้าเป็นสมาชิก RBSO นอกจากนี้ทรงมีส่วนสำคัญในการคัดเลือกผู้อำนวยเพลงรับเชิญ ศิลปิน ที่มาแสดงร่วมกับRBSO โดยมุ่งเน้นให้มีการถ่ายทอดประสบการณ์ให้สมาชิก RBSO

นับแต่วันก่อตั้งวง RBSO ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมกับชุมชน การตอบสนองความต้องการของชุมชน และการให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ดนตรีคลาสสิก จึงได้ริเริ่มโครงการดนตรีในสวน ในปี พ.ศ. 2536 เป็นคอนเสิร์ตที่เปิดให้ผู้เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นำเสนอบทเพลงที่ได้รับความนิยมทั้งเพลงไทย เพลงสากล เพลงประกอบภาพยนตร์ และบทเพลงคลาสสิก ในด้านการส่งเสริมการศึกษาดนตรีคลาสสิก มูลนิธิฯ ได้ก่อตั้งโรงเรียนดนตรีบางกอกซิมโฟนี ในปี พ.ศ. 2539 สอนวิชาดนตรีสากลคลาสสิกแก่เยาวชนและผู้สนใจ ซึ่งมีผู้เข้าเรียนกับโรงเรียนนับแต่เริ่มก่อตั้งแล้วเป็นจำนวนมากกว่า 1000 คน และมีเยาวชนหลายรายได้รับความสำเร็จศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในประเทศและต่างประเทศ และเป็นนักดนตรีอาชีพ

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad