เงินบาทในช่วงที่ผ่านมาผันผวนสูงจากหลายปัจจัย ในระยะสั้นนี้จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเมืองเป็นสำคัญ โดยหากจัดตั้งรัฐบาลได้เร็ว เงินบาทอาจแข็งค่าสู่กรอบ 33.35-33.85
กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB FM) มองว่า เงินบาทในช่วงที่ผ่านมาผันผวนสูง เป็นผลจาก 1) ทิศทางเงินดอลลาร์สหรัฐตามมุมมองการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed 2) เศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอทำให้เงินหยวนอ่อนค่า และ 3) ปัจจัยทางการมืองซึ่งส่งผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายสู่ไทย โดยเงินบาทในระยะสั้นนี้จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งหากจัดตั้งรัฐบาลได้เร็ว เงินบาทก็มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่องจากเงินทุนเคลื่อนย้ายที่น่าจะไหลกลับเข้ามาได้ แต่หากการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า หรือเกิดการประท้วงเป็นวงกว้าง เงินบาทก็อาจอ่อนค่าเร็ว ด้านอัตราดอกเบี้ย มองว่า กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps มาอยู่ที่ 2.25% ในการประชุมสัปดาห์หน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้ออาจกลับมาสูงขึ้นได้ ทั้งจากสถานการณ์เอลนีโญหรือราคาน้ำมันที่กลับมาสูงขึ้น
นายแพททริก ปูเลีย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เงินบาทในช่วงที่ผ่านมาผันผวนสูงขึ้นจากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น 1) การขึ้นดอกเบี้ยและการสื่อสารของ Fed โดยล่าสุดแม้จะขึ้นดอกเบี้ยมาที่ 5.50% ตามที่ตลาดคาด แต่ก็ยังไม่บอกว่าจะขึ้นดอกเบี้ยต่อหรือไม่ ทำให้นักลงทุนมองว่า Hiking cycle น่าจะจบลง เงินดอลลาร์จึงอ่อนค่ากดดันให้บาทแข็งค่า 2) ราคาทองคำ โดยในเวลาที่ราคาทองคำสูงขึ้น ผู้ค้าทองคำไทยมักขายทองคำในตลาดโลกเพื่อทำกำไร จึงมีการแลกดอลลาร์เป็นเงินบาท กดดันให้บาทแข็งค่า 3) ทิศทางค่าเงินหยวน โดยในเวลาที่ตัวเลขเศรษฐกิจจีนออกมาอ่อนแอกว่าคาด เงินหยวนจะอ่อนค่า กดดันบาทอ่อนตาม และ 4) ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งส่งผลต่อแนวโน้มเงินทุนเคลื่อนย้ายสู่ตลาดการเงินไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น