“CAT เพาะพันธุ์ดี” มุ่งมั่นสร้างต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ นำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ร่วมพัฒนาการทำเกษตรสมัยใหม่ให้กับ โรงเรียนวัดหุบรัก (ไพรประชาอุปถัมภ์) จ.นครปฐม - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562

“CAT เพาะพันธุ์ดี” มุ่งมั่นสร้างต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ นำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ร่วมพัฒนาการทำเกษตรสมัยใหม่ให้กับ โรงเรียนวัดหุบรัก (ไพรประชาอุปถัมภ์) จ.นครปฐม

“CAT เพาะพันธุ์ดี” มุ่งมั่นสร้างต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ นำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ร่วมพัฒนาการทำเกษตรสมัยใหม่ให้กับ โรงเรียนวัดหุบรัก (ไพรประชาอุปถัมภ์) จ.นครปฐม

“CAT เพาะพันธุ์ดี” มุ่งมั่นสร้างต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ นำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ร่วมพัฒนาการทำเกษตรสมัยใหม่ให้กับ โรงเรียนวัดหุบรัก (ไพรประชาอุปถัมภ์) จ.นครปฐม

นายยงยุทธ์ พุทธพฤกษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริการลูกค้า กสท เขตตะวันตก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT พร้อมด้วยพนักงานร่วมส่งมอบระบบ IoT สำหรับการทำเกษตรสมัยใหม่ให้แก่โรงเรียนวัดหุบรัก(ไพรประชาอุปถัมภ์) จ.นครปฐม ซึ่งเป็นการสนับสนุนองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้าน Smart Farm ภายใต้โครงการ "CAT เพาะพันธุ์ดี" โดยมี นายสุทธิโรจน์ ปฐมเจริญสุขชัย ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนายสุจริต อกตัน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหุบรัก (ไพรประชาอุปถัมภ์) เป็นผู้รับมอบ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2562


“CAT เพาะพันธุ์ดี” มุ่งมั่นสร้างต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ นำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ร่วมพัฒนาการทำเกษตรสมัยใหม่ให้กับ โรงเรียนวัดหุบรัก (ไพรประชาอุปถัมภ์) จ.นครปฐม

    โครงการ "CAT เพาะพันธุ์ดี" มีเป้าหมายนำเทคโนโลยี IoT Smart Farm เข้าไปช่วยในการพัฒนาภาคการเกษตรท้องถิ่นระดับชุมชนและสาธิตวิธีการใช้งานอุปกรณ์การทำเกษตรในยุคดิจิทัล ให้กับโรงเรียนสอนให้เด็กมีใจรักการเกษตร เพื่อรับมือกับเกษตร 4.0 ยุคที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เปลี่ยนแปลงการเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการ และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งเสริมให้การเกษตรเข้าถึงได้ง่าย มีความแม่นยำสูง ส่งผลให้สามารถผลิตผลผลิตได้ต้นทุนต่ำลง และมีปริมาณมากขึ้น ทำให้ได้ราคาดีขึ้น พร้อมที่จะสามารถพึ่งพาตนเองได้
“CAT เพาะพันธุ์ดี” มุ่งมั่นสร้างต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ นำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ร่วมพัฒนาการทำเกษตรสมัยใหม่ให้กับ โรงเรียนวัดหุบรัก (ไพรประชาอุปถัมภ์) จ.นครปฐม
    โรงเรียนวัดหุบรัก(ไพรประชาอุปถัมภ์) ได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนเด็กกินผัก โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มุ่งเน้นการส่งเสริมให้เด็กได้กินผักผลไม้ที่ดีและปลอดภัยในโรงเรียน ซึ่งสนองรับกับโครงการ "CAT เพาะพันธุ์ดี" ที่ช่วยส่งเสริมการทำแปลงเกษตรอัจฉริยะ เพื่อให้น้อง ๆ นักเรียนได้มีผักสวนครัวไว้รับประทาน และทาง CATได้เล็งเห็นความสำคัญในสิ่งนี้ จึงได้ส่งมอบระบบ IoTที่ประกอบไปด้วย
การควบคุมระบบเปิด-ปิดน้ำ
“CAT เพาะพันธุ์ดี” มุ่งมั่นสร้างต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ นำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ร่วมพัฒนาการทำเกษตรสมัยใหม่ให้กับ โรงเรียนวัดหุบรัก (ไพรประชาอุปถัมภ์) จ.นครปฐม

          "น้ำ" คือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรสวยงามและอุดมสมบูรณ์ได้ตามต้องการ CAT จึงได้พัฒนาแอปพลิเคชันที่สามารถควบคุมได้จากโทรศัพท์มือถือ ในการเปิด-ปิดน้ำของสปริงเกอร์ ที่ถูกติดตั้งไว้ที่แปลงผัก สั่งการด้วยปลายนิ้ว เพียง 1 คลิกจากที่ใดก็ได้ สามารถควบคุมการทำงานได้อย่างเรียลไทม์ การให้น้ำแก่พืชได้ทันเวลาตามที่พืชต้องการ จะช่วยลดความเสียหายจากการขาดน้ำของพืชได้ อีกทั้งยังสร้างความแม่นยำ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย    
          ระบบเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิความชื้นในดินและอากาศ
          "ความชื้น" คือตัวควบคุมความเจริญเติบโตของพืชผลในแปลงผัก เพราะน้ำในดินจะละลายธาตุอาหารของพืชออกมาให้พืชดูดไปใช้ประโยชน์ ถ้าพืชขาดน้ำจะทำให้การเจริญเติบโตลดลง ส่งผลให้ผลผลิตของพืชจะลดลง ซึ่งกำหนดเวลาให้น้ำก็สามารถพิจารณาได้จากปริมาณความชื้นในดินได้ ทาง CAT มีเทคโนโลยีที่สามารถวัดอุณหภูมิความชื้นในดินและอากาศ ที่ส่งสัญญาณเตือนทางแอปพลิเคชัน ทำให้น้อง ๆ นักเรียนได้เรียนรู้การแก้ปัญหา เลือกชนิดของพืชผักที่สามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ในดินแต่ละแบบ ด้วยความแม่นยำและรวดเร็วผ่านเทคโนโลยี จึงทำให้การทำแปลงเกษตรอัจฉริยะไม่ใช่เรื่องยาก ใคร ๆ ก็สามารถพัฒนาผลิตผลและคุณภาพของแปลงเกษตรพืชผักสวนครัวของโรงเรียนได้
          โครงการ CAT เพาะพันธุ์ดี นอกจากสื่อความหมายหลักในการพัฒนาสมาร์ตฟาร์มให้ขยายไปในกลุ่มเกษตรกรแล้ว ยังสื่อถึงการสร้างคนพันธุ์ดี ครอบคลุมมิติของ"ดี"ที่หมายถึงคนดีมีคุณภาพอันเป็นต้นทุนสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน และ"D" ที่สื่อความหมายถึง "Digital" อันเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ขององค์กร CAT เพื่อการสร้างคน Digital ให้เป็นกำลังสำคัญของประเทศในภาคเกษตรกรรม โดย CAT หวังให้ผลระยะยาวจากการพัฒนาสมาร์ตฟาร์มของโครงการฯ ได้ช่วยส่งเสริมการพัฒนาเกษตร 4.0 เพื่อนำมาซึ่งผลผลิตที่มีคุณภาพ รวมทั้งด้านการพัฒนาคนดิจิทัลที่มีคุณภาพให้กับประเทศไทยซึ่งมีเกษตรกรรมเป็นรากฐานสำคัญ
 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad