วิศวะมหิดล ส่งเสริมเยาวชนก้าวสู่โลกทัศน์ใหม่...วิศวกรแห่งอนาคต - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563

วิศวะมหิดล ส่งเสริมเยาวชนก้าวสู่โลกทัศน์ใหม่...วิศวกรแห่งอนาคต

 


วิศวะมหิดล ส่งเสริมเยาวชนก้าวสู่โลกทัศน์ใหม่...วิศวกรแห่งอนาคต

อนาคตประเทศไทยขับเคลื่อนด้วยพลังสร้างสรรค์ของเยาวชนคนรุ่นใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี และผศ.ดร.จำรัส พร้อมมาศ ที่ปรึกษาคณบดี พร้อมด้วยหัวหน้าภาควิชาต่างๆ ต้อนรับคณะครูและเยาวชนนักเรียนจาก โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิศวะ-สถาปัตย์ และแผนการเรียนวิทย์-คอมพิวเตอร์ จำนวนกว่า 80 คน ในการมาเยี่ยมชมคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเปิดโลกทัศน์สู่อนาคต...แนวทางการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี พร้อมทั้งเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการสุดล้ำ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่า มหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศหลายด้าน และล่าสุดได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเป็นที่ 1 ในประเทศไทย และอันดับที่ 448 ของโลก โดย URAP-University Ranking By Academic Performance 2020-2021  และได้รับเลือกเป็นอันดับ 1 มหาวิทยาลัยสีเขียว ติดต่อกัน 5 ปี ทั้งนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีวิสัยทัศน์ก้าวสู่การเป็น World-Class Engineering มุ่งสร้างงานวิจัยพัฒนาและการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และบ่มเพาะวิศวกรแห่งอนาคตโดยเปิดโอกาสให้เยาวชนนักเรียนมาสัมผัสประสบการณ์ตรงท่องโลกวิศวกรรมและเทคโนโลยี ในระบบ Eco-Systems ทันสมัยและห้องปฏิบัติการที่ก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยี และพรั่งพร้อมผู้ชี่ยวชาญทุกสาขา



ห้องปฏิบัติการที่ก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีระดับโลก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นแหล่งสร้างนวัตกรรมจากแรงบันดาลใจให้เป็นจริง ส่งเสริมการศึกษาและวิจัยต่อยอดนวัตกรรมเปลี่ยนโลกที่ตอบโจทย์สร้างประโยชน์แก่สังคมไทยและประชาคมโลก อาทิ

1.Innogineer Studio เปรียบเสมือนเวิร์คช็อป ครบครันเครื่องมือไฮเทคที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ และเมคเกอร์นักศึกษาสามารถเข้ามาทำโปรเจคต่าง ๆ บ่มเพาะสตาร์ทอัพ สร้างชิ้นงานและต้นแบบจากความคิดสร้างสรรค์จากความฝันสู่ความเป็นจริง

2. Innogineer BAY ศูนย์ฝึกหัดด้านหุ่นยนต์และระบบ AI ที่ทันสมัยระดับโลก

3. ศูนย์ LogHealth คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้ศึกษาวิจัยและออกแบบพัฒนาระบบโลจิสติกส์โรงพยาบาล และดำเนินการจัดทำแผนแม่บทระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภาคสาธารณสุขของประเทศ (Healthcare Logistics Big Data)

4. ศูนย์ทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือแพทย์ (Biocompatibility Testing of Medical Devices)

5.ห้องปฏิบัติการและศูนย์วิจัยที่เชี่ยวชาญของภาควิชาต่าง ๆ  อาทิ ห้องปฏิบัติการวิจัยด้านนิติวิศวกรรม (Digital Forensics Lab) ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

6.ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART Lab)

7.ห้องปฎิบัติการการเชื่อมต่อสัญญาณสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (BCI Lab) ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

8.Laboratory of Computer Mechanics for Design (LCMD Lab) และ Biomechanics Analysis and Orthopedic Device Design Laboratory (B-AODD Lab) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล 

9.Flexible Manufacturing System ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

10.ห้องปฏิบัติการโพลีเมอร์และนาโนเอ็นจิเนียริ่ง (Biopolymers and Nanoengineering for Drug Delivery and Molecular Imaging Lab) เป็นต้น 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad