ไทรอยด์เป็นพิษ อย่าคิดว่าไกลตัว แพทย์ชี้ใครๆ ก็เป็นได้ พร้อมเผยอาการเสี่ยงก่อนสาย - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ไทรอยด์เป็นพิษ อย่าคิดว่าไกลตัว แพทย์ชี้ใครๆ ก็เป็นได้ พร้อมเผยอาการเสี่ยงก่อนสาย

61195d26d844466e7f7bf3936d6e16f0

61195d26d844466e7f7bf3936d6e16f0
ไทรอยด์เป็นพิษ อย่าคิดว่าไกลตัว
แพทย์ชี้ใครๆ ก็เป็นได้ พร้อมเผยอาการเสี่ยงก่อนสาย

ข่าวการเสียชีวิตของศิลปินชื่อดังเมื่อไม่นานมานี้ คงทำให้เราได้ยินชื่อ “ไทรอยด์เป็นพิษ” บ่อยขึ้น แต่หลายคนก็ยังคิดว่า “มันไม่ใช่โรคที่พบกันได้บ่อย ๆ มั้ง เราคงไม่เป็นอะไรหรอกน่า” แต่คุณรู้หรือเปล่าว่า ไทรอยด์เป็นพิษเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับเราได้ทุกคน!

หลายคน ๆ อาจเคยมีเพื่อนหรือคนในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคนี้แล้ว แต่ไทรอยด์เป็นพิษกลับเป็นโรคอีกชนิดหนึ่งที่คนทั่วไปยังอาจไม่เข้าใจว่ามันเกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหน หรือใครที่เสี่ยงต่อโรคนี้บ้าง วันนี้  นพ. ปริญญา สมัครการไถ อายุรแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลวิมุต จะมาอธิบายอย่างง่าย ๆ ให้เราเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น แถมวิธีสังเกตอาการที่น่าสงสัยซึ่งอาจนำไปสู่ไทรอยด์เป็นพิษได้

“ไทรอยด์ไม่เหมือนโรคทั่วไปที่เราจะรักษาตัวเองได้ ถ้าเรามีอาการที่น่าสงสัย สิ่งเดียวที่ทำได้และต้องทำทันทีก็คือรีบมาพบแพทย์เฉพาะทาง ทำการตรวจค่าไทรอยด์เพื่อค้นหาสาเหตุและทำการรักษาตามสาเหตุเท่านั้น”  นี่คือสิ่งแรกที่ นพ. ปริญญา เตือนเกี่ยวกับโรคไทรอยด์เป็นพิ

แล้วไทรอยด์เป็นพิษคืออะไร? “ง่าย ๆ ก็คือการที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไป หรือต่อมไทรอยด์เกิดการอักเสบจึงมีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาสูงผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นไทรอยด์ ก็มีความเสี่ยงต่อโรคนี้มากขึ้น อีกปัจจัยก็คือเกี่ยวกับการแพ้ภูมิตัวเองหรือ Autoimmune ซึ่งร่างกายจะผลิตสารบางอย่างที่กระตุ้นให้ไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนสูงขึ้น สรุปก็คือโรคนี้เป็นความผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งซึ่งเราไม่สามารถควบคุมได้ และอย่างที่กล่าวไป โรคนี้ใคร ๆ ก็เป็นได้ - แต่ก็รักษาได้เช่นกัน”

แม้โรคนี้จะมีสาเหตุหลัก ๆ ข้างต้น แต่จากสถิติชี้ว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อการเกิดไทรอยด์เป็นพิษจากการแพ้ภูมิตัวเองแบบ Autoimmune หรือ Graves' Disease สูงกว่าผู้ชายและสามารถเกิดได้ในทุกช่วงอายุ ข้อเท็จจริงนี้ทำให้คุณผู้หญิงทุกคนต้องตรวจเช็กตัวเองมากขึ้

สำหรับคนทั่วไปที่ยังไม่ทราบว่าตัวเองมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษหรือเปล่า นพ. ปริญญา ยังได้ให้คำแนะนำในการตรวจเช็กอาการอย่างคร่าว ๆ ว่า “เนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาพลาญในร่างกาย การเต้นของหัวใจ อุณหภูมิในร่างกาย เพราะฉะนั้นเราจึงสามารถจับสังเกต 5 อาการเบื้องต้นที่อาจบ่งชี้ถึงโรคไทรอยด์เป็นพิษ ได้แก่ 1) อาการใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ  2) มือสั่น เหงื่อออกง่าย ขี้ร้อน 3) อารมณ์หงุดหงิดง่าย อ่อนไหวง่ายกว่าคนปกติ 4) น้ำหนักลด ท้องเสีย หรือประจำเดือนผิดปกติในสตรี และ 5) ต่อมไทรอยด์โตผิดปกติ โชคดีที่ปัจจุบันเราเริ่มมี Smart Watch หรือ Smart Band ที่สามารถดูอัตราการเต้นของหัวใจได้ ถ้าเรามีอาการใจสั่นหรืออัตราการเต้นของหัวใจที่สูงมาก ๆ คือสูงกว่าช่วง 90-120 บางคนอาจจะสูงถึง 150 ต่อเนื่อง ร่วมกับอาการอื่น ๆ ที่กล่าวมา ก็เป็นสัญญาณเตือนค่อนข้างชัดเจนว่าต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาค่าไทรอยด์ หรือบางรายที่ต่อมไทรอยด์โตเป็นก้อนที่ผิดปกติหลายก้อนก็อาจจะต้องอัลตราซาวน์ดูว่าเกิดจากอะไร”

จริง ๆ แล้วไทรอยด์เป็นพิษถือเป็นกลุ่มอาการ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยว่าคนไข้มีโรคอะไรที่ซ่อนอยู่อีก ดังนั้นความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจึงขึ้นอยู่กับว่าเราสังเกตตัวเองและตรวจเจออาการได้เร็วแค่ไหน อัตราการเสียชีวิตจะยิ่งน้อยลงมาก ถ้าเราปล่อยไว้จนอาการรุนแรงมากขึ้น การทำงานของหัวใจก็จะไม่ดีจนอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรือบางกลุ่มจะเกิดอาการตับอักเสบที่รุนแรงและส่งผลให้เสียชีวิตได้ อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องระวังคือถ้าไทรอยด์เป็นพิษเกิดในคนไข้สูงอายุที่มากกว่า 60 ปี อาการที่บอกมาทั้งหมดอาจไม่ชัดเจน เช่น ถ้าคนไข้สูงอายุมีอาการเหนื่อยง่าย เหงื่อออกง่าย คนไข้อาจจะมาด้วยโรคหัวใจหรืออาการที่หนักไปเลย เพราะฉะนั้นผู้สูงอายุที่มีอาการผิดปกติต้องรีบมาตรวจทันที

“เทคโนโลยีการรักษาไทรอยด์เป็นพิษก้าวหน้าไปมาก โดยสามารถรักษาได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับว่าเป็นไทรอยด์เป็นพิษจากอะไร สำหรับการรักษาของศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อและควบคุมน้ำหนัก โรงพยาบาลวิมุต ถ้าอาการน้อย แพทย์ก็จะให้แค่ทานยา ซึ่งหลายคนทานยาประมาณปีครึ่งก็รักษาหายได้ หรือการกลืนแร่เพื่อไปทำลายต่อมไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนสูงผลิตปกติ หรือบางรายที่รักษาด้วยสองวิธีแรกแล้วไม่ได้ผล อาจต้องทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออก ซึ่งในปัจจุบันมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง สิ่งสำคัญคือถ้ารู้เร็วตั้งแต่ยังมีอาการน้อย ๆ ก็จะยิ่งรักษาได้ง่ายขึ้นเท่านั้น” นพ. ปริญญา กล่าว

ตอนนี้เราคงรู้แล้วว่าไทรอยด์เป็นโรคที่รักษาได้ ไม่ได้เป็นโรคที่อันตรายจนต้องตื่นตระหนก เพียงแต่ต้องมีความตระหนักและระวังหมั่นสังเกตตัวเอง ก็สามารถตรวจเจอได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น หากมีอาการเข้าข่าย ก็ให้มาพบแพทย์ และถ้าตรวจเจอก็จะรักษาได้ไม่ยากและหายได้เร็ว สิ่งสำคัญคือการมาพบแพทย์เฉพาะทางนั้น โดยเฉพาะอายุรแพทย์ ต่อมไร้ท้อ ต่อมไทรอยด์ ก็จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพสำหรับคนไข้มากที่สุด

ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก โรงพยาบาลวิมุต ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคเบาหวานและโรคต่อมไร้ท่อแบบครบวงจร ด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเบาหวานและต่อมไร้ท่อ นักโภชนาการ และพยาบาลวิชาชีพ พร้อมบริการติดตามอาการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

ผู้สนใจบริการของศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก โรงพยาบาลวิมุต สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-079-0070 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.vimut.com หรือติดตามข่าวสารต่าง ๆ ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก:www.facebook.com/vimuthospital อินสตาแกรม: vimut_hospital  ไลน์: @vimuthospital   TikTok: @vimuthospital  Youtube: www.youtube.com/c/ViMUTHospital หรือติดต่อที่ โทร. 02-079-0000  
# # # # #

เกี่ยวกับโรงพยาบาลวิมุต
โรงพยาบาลวิมุต ตั้งบนถนนพหลโยธินในย่านธุรกิจของกรุงเทพมหานครฯ ดำเนินงานในรูปแบบสถานพยาบาลระดับ Tertiary Care ขนาด 236 เตียง ผ่านการออกแบบที่สอดคล้องตามมาตรฐานสากล JCI นำเสนอบริการดูแลรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด สมอง เบาหวาน กระดูกและข้อ ทางเดินอาหารและตับ และกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) รวมทั้งบริการทางการแพทย์อื่น ๆ อาทิ ศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุเพื่อตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน ศูนย์ดูแลพื้นฟูสภาวะหลังวิกฤตเพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน ตลอดจนบริการดูแลสุขภาพถึงบ้านเพื่อความสะดวกของผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังให้บริการผ่าน ViMUT Application ที่สามารถเช็คประวัติการรักษาหรือดูตารางนัดหมายแพทย์ นัดหมายด้วยตัวเอง และบริการ Tele Medicine ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตยุคใหม่ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆ ของทางโรงพยาบาล ได้ที่เว็บไซต์ https://www.vimut.com/home
# # # # #


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad