ถึงเวลา “TIME” เสริมกำลังนโยบาย Thailand Plus Package ของรัฐบาล รูปแบบการสร้างกำลังคนแนวใหม่ ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม รองรับการลงทุนจากต่างประเทศ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563

ถึงเวลา “TIME” เสริมกำลังนโยบาย Thailand Plus Package ของรัฐบาล รูปแบบการสร้างกำลังคนแนวใหม่ ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม รองรับการลงทุนจากต่างประเทศ

ถึงเวลา “TIME” เสริมกำลังนโยบาย Thailand Plus Package ของรัฐบาล รูปแบบการสร้างกำลังคนแนวใหม่ ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม รองรับการลงทุนจากต่างประเทศ

ณ ห้องจามจุรี บอลรูม โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพฯ : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จัดงานสัมมนา “Thailand Plus Package ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย” ระดมภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย แลกเปลี่ยนมุมมองของการพัฒนาบุคลากรทักษะสูง และรูปแบบการสร้างกำลังคนแนวใหม่ให้ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม
ผศ.ดร.พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการ สอวช. เปิดเผยว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบกับสภาวะแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ทั้งการท้าทายของเทคโนโลยีใหม่ๆ ความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงปัญหาผลิตภาพการผลิต ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ส่งผลให้ประเทศไทยมีความจำเป็นที่ต้องเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) มาเป็นเครื่องมือในการรับมือที่ในปัจจุบันภาคเอกชนได้มีการนำ วทน. มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีการยกระดับกระบวนการผลิตไปสู่การใช้เทคโนโลยีที่ช่วยในการผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภครายบุคคลมากยิ่งขึ้น สร้างสินค้าที่เป็นนวัตกรรม และสามารถรองรับการเติบโตของภาคการผลิตและบริการอย่างเพียงพอในเชิงปริมาณและคุณภาพ ในทางเดียวกันภาครัฐเองก็ได้มีการมุ่งเน้นสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และสาขาอุตสาหกรรมที่เป็น New Engines of Growth หรือเครื่องยนต์สร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตัวใหม่ ที่จะสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้ การที่ประเทศไทยจะสามารถดำเนินงานไปยังทิศทางดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science, Technology, Engineering and Mathematics : STEM) เพิ่มมากขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในประเทศ และการเตรียมพร้อมเป็นฐานรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติที่จะมาลงทุนในประเทศไทย รวมทั้งการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการพัฒนาทักษะแรงงานอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่สำคัญ ภาครัฐจึงได้มีการขับเคลื่อนมาตรการที่มุ่งเน้นการเร่งรัดการลงทุนและรองรับการย้ายฐานการผลิตสืบเนื่องจากผลกระทบของสงครามการค้า หรือ Thailand Plus Package โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการพัฒนาทักษะของบุคลากรภายในประเทศ ได้แก่ 1. การกำหนดมาตรการการคลังเพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมแรงงาน โดยให้ผู้ประกอบการนำเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่เข้าข่าย Advanced Technology ไปหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 2.5 เท่า และ 2. มาตรการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจ้างงานบุคลากรทักษะสูงในสาขาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมขั้นสูง โดยสามารถนำค่าจ้างไปหักค่าใช้จ่ายได้ 1.5 เท่า ซึ่งเรื่องดังกล่าว สอวช. ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการนำมาตรการดังกล่าวไปใช้จริงในเดือนมกราคม พ.ศ.2563 ทั้งในส่วนการจัดทำรายละเอียดทักษะเพื่ออนาคต หรือ Future Skills Set การจัดทำรายละเอียดเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนหน่วยฝึกอบรม (Registered Training Organization - RTO) และการจัดทำรายละเอียดเงื่อนไขการรับรองการจ้างงานบุคลากรตำแหน่งงานทักษะสูง ในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรม ซึ่งจากการดำเนินมาตรการดังกล่าวคาดว่าภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยจะมีบุคลากรที่มีสมรรถนะที่สามารถตอบสนองทันต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอุตสาหกรรมอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของโลก ทันต่อการเปลี่ยนงานและอาชีพในโลกอนาคต มีทักษะสอดคล้องกับที่ตลาดงานต้องการ และทำให้ประเทศไทยสามารถรองรับการลงทุนหรือการย้ายฐานการผลิตที่มาจากต่างประเทศในระยะยาวได้
นอกเหนือจากมาตรการด้านการพัฒนากำลังคนดังที่กล่าวแล้ว การจัดงานในครั้งนี้ ไฮไลท์คือการนำเสนอรูปแบบการสร้างกำลังคนแนวใหม่อย่างโครงการยกระดับภาคอุตสาหกรรมด้วยการบริหารจัดการนวัตกรรมองค์กรแบบทั่วถึง หรือ TIME (Total Innovation Management Enterprise) ซึ่งมี สวทช. เป็นหน่วยบริหารจัดการ เพื่อให้บุคลากรบริษัทมีความรู้ทางวิชาการควบคู่ไปกับทักษะทางอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อเป็นแรงสนับสนุนสำคัญให้ภาคเอกชนสามารถใช้ วทน. ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และยังเป็นการสร้างกลไกที่ช่วยพัฒนากำลังคนตามความต้องการของประเทศ เพื่อรองรับการยกระดับทักษะของบุคลากรภายในประเทศให้มีทักษะ ความรู้ และความเชี่ยวชาญสอดคล้องต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงเป็นการวางระบบสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ทั้งในรูปแบบของการจัดหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-degree) และหลักสูตรระดับปริญญา (Degree) เพื่อพัฒนากำลังคนของประเทศให้เป็นไปอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ
“TIME เป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากการทดลองนำร่องโครงการ WiL และโครงการพัฒนานักวิจัยในอุตสาหกรรมร่วมกับสถานประกอบการขนาดกลาง ของ สอวช. ที่ประสบความสำเร็จจากการนำร่องโดยจากการดำเนินโครงการดังกล่าวพบว่า บริษัทเกิดการพัฒนากระบวนการทำงานแบบข้ามสายงานเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ อย่างไรก็ตามการพัฒนากำลังคนทักษะสูงที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมนั้น ต้องมีความร่วมมือจากสามภาคส่วน ทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาอย่างเข้มข้นในทุกระดับ โดยแต่ละภาคส่วนล้วนได้ประโยชน์ร่วมกัน สถานประกอบการจะได้แรงงานทักษะสูงที่เข้าใจเนื้องานและสามารถเชื่อมการเรียนรู้สู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล ภาคการศึกษาได้รับประโยชน์ในเชิงความร่วมมือและการพัฒนาปรับปรุงงานและหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ในขณะเดียวกันภาครัฐก็ได้แก้ปัญหาคุณภาพและสมรรถนะของบัณฑิตที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริง โครงการ TIME จึงถือว่าเป็นแก้ไขปัญหาที่เข้ากับบริบททางสังคมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทย” ดร.พูลศักดิ์ กล่าว
ด้าน ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช.กล่าวว่า TIME เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาทั้งในระดับ ปวส. ปริญญาตรี และปริญญาโท ได้เข้าไปเรียนและฝึกทักษะในสถานประกอบการ โดยโครงการ TIME ในระดับ ปวส. ปริญญาตรี เป็นการจัดระบบการศึกษาให้นักศึกษามีองค์ความรู้และทักษะสอดคล้องต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมผ่านการทำงานในสถานประกอบการพร้อมกับการลงทะเบียนเรียนในสถาบันการศึกษา ซึ่งนักศึกษาจะได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานเสมือนเป็นพนักงาน และได้เรียนรายวิชาตามหลักสูตรหลังเลิกงานหรือวันหยุดในสถานที่ที่สถานประกอบการจัดให้ ส่วน TIME ระดับปริญญาโท เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาโท พร้อมกับเข้าทำงานเต็มเวลาในสถานประกอบการเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยจัดให้มีการเรียนและการฝึกทักษะการทำงานตามกระบวนการการพัฒนาบุคลากรผู้มีความรู้ด้านการจัดการนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรม (RDI QS) ในสถานประกอบการ เพื่อดำเนินโครงการนวัตกรรมและนำเสนอเป็นผลงานทางวิชาการผ่านโครงการวิทยานิพนธ์
“การดำเนินโครงการ TIME ระดับ ปวส. และปริญญาตรี เราคาดหวังว่าจะช่วยบ่มเพาะให้นักศึกษาก้าวสู่การเป็นบุคลากรทักษะสูงที่จะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมระดับประเทศ (High Qualified Workforce / Technician) ช่วยสถานประกอบการแก้ปัญหา Turn Over เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการประกอบอาชีพสำหรับผู้ด้อยโอกาส ช่วยประเทศในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงเกิดการเชื่อมโยงองค์ความรู้ระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนสถานศึกษาจะมีหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะกับอุตสาหกรรมแต่ละประเภท สำหรับระดับปริญญาโท TIME จะช่วยสร้างให้เกิดการพัฒนากำลังคนตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม (Demand Driven) ตลอดจนสร้างขีดความสามารถด้านนวัตกรรมให้แก่ภาคอุตสาหกรรม” ดร.ฐิตาภา กล่าว

ที่มา:สวทช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad