สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ จี้รัฐเร่งแก้ปัญญาวัสดุก่อสร้างขาดแคลน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562

สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ จี้รัฐเร่งแก้ปัญญาวัสดุก่อสร้างขาดแคลน

สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ จี้รัฐเร่งแก้ปัญญาวัสดุก่อสร้างขาดแคลน

นายกฤษดา จันทร์จำรัสแสง ที่ปรึกษาสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์วัสดุก่อสร้างปัจจุบันมีความขาดแคลนเนื่องมาจากโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐมีการก่อสร้างพร้อมกันหลายโครงการ ทำให้เกิดความต้องการวัสดุก่อสร้างจำนวนมาก และอาจจะส่งผลต่อราคาให้เพิ่มสูงขึ้นหากสินค้ามีไม่เพียงพอต่อความต้องการและในบางพื้นที่มีการสั่งนำเข้าหินก่อสร้างจากประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากมีความล่าช้าในการออก พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่ ที่ต่อเนื่องถึงการวางยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี และการออกแผนแม่บทบริหารจัดการแร่  5 ปี ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ย่ำแย่เพราะผลกระทบจากสงครามการค้าทำให้การส่งออกของไทยถดถอยส่งผลให้วัสดุก่อสร้างแพงและขาดแคลน

สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ จี้รัฐเร่งแก้ปัญญาวัสดุก่อสร้างขาดแคลน เหตุก่อสร้างพร้อมกันหลายโครงการ
โดยเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ทางกลุ่มผู้ประกอบการเหมืองแร่ 9 บริษัทได้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเสนอให้มีปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการอื่นในพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เปิดช่องให้เขตปฏิรูปที่ดิน(สปก.) ที่มีสภาพเป็นหิน ดินทราย ดินลูกรังหรือเหมืองแร่ ซึ่งไม่เอื้อต่อการทำเกษตรกรรมถูกนำมาใช้ในกิจการเหมืองแร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับรัฐและเกษตรกร
ทั้งนี้ทางภาคเอกชนมองว่ารัฐบาลควรมีแผนแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและแผนรับมือในระยะยาวเพราะที่ผ่านมาได้มีนโยบายการลงทุนขนาดใหญ่ที่เน้นลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกว่า 44 โครงการ มูลค่ารวม 1.947 ล้านล้านบาท เป็นโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 17 โครงการ วงเงิน 7.82 แสนล้านบาทโครงการที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติแล้วและเตรียมดำเนินการ 12 โครงการ วงเงิน  4.12 แสนล้านบาทโครงการที่คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) เห็นชอบแล้วและเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี 2 โครงการ วงเงิน 2 แสนล้านบาทและอีก 13 โครงการ วงเงินลงทุน 5.51 แสนล้านบาท รอเสนอ ครม.
ซึ่งหลายโครงการอยู่ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ที่ตั้งงบลงทุนในปี 2562-2566 ไว้สูงถึง 1.7 ล้านล้านบาทเช่น ท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด สนามบินอู่ตะเภา รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ- ดอนเมือง- อู่ตะเภา) โดยจะมีการผลักดันโครงการดังกล่าวให้เกิดเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน ซึ่งมีหลายโครงการเริ่มลงมือก่อสร้างพร้อมกันในช่วงปี 2563-2565 ความต้องการวัสดุก่อสร้างก็จะขยับตัวสูงขึ้นตามลำดับจึงจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องกำชับให้แต่ละภาคส่วนเตรียมรับมือการขาดแคลนวัสดุก่อสร้าง พร้อมการควบคุมคุณภาพและราคาที่เป็นธรรม
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรจะพิจารณาแก้ปัญหาการส่งออกแร่ที่มีแนวโน้มทรงตัวและลดลง สาเหตุหนึ่งก็เพราะเมื่อปลายปี 2561 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ปรับเพิ่มค่าภาคหลวงแร่ส่งออกราชอาณาจักรจาก 4% เป็น7% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมากทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกสำคัญและเสียตลาดจนถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad