SCG D’COR ผนึกพันธมิตร ดันโปรเจกต์Unique the space ชูการออกแบบเดินหน้าสร้างสังคม เนรมิตสวนชุมชน ‘โชฎึก’ ต้นแบบสวนรักษ์โลก - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2564

SCG D’COR ผนึกพันธมิตร ดันโปรเจกต์Unique the space ชูการออกแบบเดินหน้าสร้างสังคม เนรมิตสวนชุมชน ‘โชฎึก’ ต้นแบบสวนรักษ์โลก

SCG D’COR ผนึกพันธมิตร ดันโปรเจกต์Unique the space

ชูการออกแบบเดินหน้าสร้างสังคม เนรมิตสวนชุมชน โชฎึก

ต้นแบบสวนรักษ์โลก


SCG D’COR ผนึกกำลัง Art4D พร้อม 2 สถาปนิกชั้นนำเมืองไทย จัดโครงการ UNIQUE THE SPACEก้าวใหม่แห่งการสร้างส่วนร่วมภาคสังคมด้วยการดีไซน์ พร้อมดึงนักออกแบบร่วมเวิร์คช็อปเนรมิตสวนชุมชนโชฎึกเพื่อพัฒนาพื้นที่ เสริมศักยภาพสู่การเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีอรรถประโยชน์ต่อชุมชน อัญชลี ชวนะลิขิกร ย้ำโปรเจกต์นี้ช่วยผลักดันพื้นที่ชุมชนให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพด้วยวัสดุตกแต่งมัลติฟังก์ชันจากเอสซีจีเดคคอร์ วัสุดทดแทนรักษ์โลกแบบCircular Supplies ฟากสถาปนิกพันธมิตรเชื่อการพัฒนาระดับชุมชนสามารถผลักดันสู่เป้าหมายใหญ่ในการขับเคลื่อนระดับเมือง

 

นางอัญชลี ชวนะลิขิกร กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามไฟเบอร์ซีเมนต์กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า โครงการ Unique The Space นับเป็นโครงการแรกของ SCG D’COR ที่มีส่วนร่วมในภาคสังคมอย่างเป็นทางการ โดยเชื่อว่าการออกแบบจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ จึงคัดเลือกพื้นที่ชุมชุนที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สำหรับทุกคน ขณะเดียวกันต้องการเฟ้นหาศักยภาพและความเป็นไปได้ใหม่ๆจากการนำวัสดุเอสซีจี เดดคอร์มาเป็นวัสดุหลักในการออกแบบและสร้างสรรค์พื้นที่ชุมชนเพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างเอสซีจี เดคคอร์,Art4D, We!Park, กลุ่มปั้นเมือง และ 2 สถาปนิกชั้นนำของเมืองไทย วสุ วิรัชศิลป์ จาก VaSLab Architecture และ มนัสพงษ์ สงวนโรจนวุฒิ จาก Hypothesis รับหน้าที่เป็นสถาปนิกที่ปรึกษา (Mentor) ให้กับสถาปนิกและนักออกแบบรุ่นใหม่ที่มีจิตใจรักการออกแบบเพื่อสาธารณะ พร้อมตัวแทนจาก ปั้นเมือง ตวงพร ปิตินานนท์ และ We!Parkยศพล บุญสม ร่วมให้คำปรึกษาในด้านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมและการออกแบบพื้นที่สาธารณะขนาดเล็ก(Pocket Park) เพื่อเอื้อต่อกิจกรรมสุขภาวะของชุมชนภายใต้โจทย์ “Unique The Space imagine a better place, a better city ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาส่วนย่อยในระดับชุมชนสู่การขับเคลื่อนเมืองในระดับประเทศ ด้วยสวนต้นแบบที่องค์กรพร้อมต่อยอดพัฒนาสู่สวนอื่นในอนาคต โดยเน้นการใช้วัสดุทดแทน Circular Supplies เพื่อรักษาต้นทุนของธรรมชาติ ในทางกลับกันได้ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการเกิดของเสียที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม


โครงการนี้นับว่ามีความท้าทายเป็นอย่างมาก เพราะเกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ประมาณเมษายน ปี 2563 แต่เราพยายามจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์โดยมีการลงพื้นที่จริงเพื่อเก็บบันทึกความต้องการชุมชน การพบปะเพื่อทำความรู้จักกันภายในทีมออกแบบ รวมถึงการนำเสนอแบบต่อชุมชนโชฎึก พร้อมเวิร์คช็อปในรูปแบบ Hybrid Working ที่เราลุกขึ้นมาเป็นผู้นำเพื่อสานต่อโครงการให้เดินหน้าต่อแบบไร้อุปสรรค นับว่าท้าทายนักออกแบบรวมถึงทีมงาน และทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่น

 

สำหรับโครงการ Unique The Space วัสดุหลักในการเนรมิตพื้นที่ เราเปิดโอกาสให้นักออกแบบสามารถเลือกวัสดุตกแต่งจากเอสซีจี เดคคอร์ได้ตามจินตนาการที่คิดไว้โดยไม่จำกัด เพื่อให้เกิดไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบที่แปลกใหม่ ไม่เหมือนใคร ซึ่งเมื่อการออกแบบสวนชุมชนโชฎึกแล้วเสร็จก็พบว่า วัสดุตกแต่งเอสซีจี เดคคอร์ มีมุมมองและความเป็นไปได้ที่ไม่ยึดติดแค่การใช้ในรูปแบบเดิม เป็นประโยชน์กับนักออกแบบ ทำให้ทุกคนได้เห็นว่าผลิตภัณฑ์มีความเป็นไปได้ในการใช้งานที่หลากหลายกว่าที่มันควรจะเป็น นอกจากนี้วัสดุของเอสซีจีเดคคอร์ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากการคิดค้นเพื่อเป็นวัสดุทดแทนมาตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการใช้วัสดุธรรมชาติ ซึ่งวัสดุดังกล่าวจะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี คุณอัญชลี กล่าว

 

วสุ วิรัชศิลป์ สถาปนิกที่ปรึกษา VaSLab Architectureเผยว่า การ workshop ครั้งนี้ เราให้อิสระน้องๆนักออกแบบในทีมช่วยกันคิดว่าสิ่งที่ชุมชนต้องการคืออะไร โดยวัสดุส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ในงานออกแบบเป็นไม้ตกแต่งอเนกประสงค์ เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น ไลน์ ซึ่งเน้นตกแต่งบริเวณสนามเด็กเล่นและบริเวณรั้วริมคลอง นับเป็นจุดเด่นของงานออกแบบครั้งนี้ที่สวยสะดุดตาจากเส้นสายของตัวระแนงไม้ เสริมให้พื้นที่ดูอบอุ่น ที่สำคัญวัสดุติดตั้งง่าย ดูแลรักษาง่ายกว่าไม้จริง เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่กลางแจ้ง  และรู้สึกมีความสุขมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ ถ้าเราทำสิ่งเล็กๆแล้วเกิดผล จากชุมชนเป็นจังหวัดเป็นประเทศ เรื่องพวกนี้เป็นโปรเจกต์เล็กที่เกิดผลใหญ่ ด้าน มนัสพงษ์ สงวนโรจนวุฒิ สถาปนิกที่ปรึกษา Hypothesis เปิดเผยว่า ได้เริ่มจากการให้น้องในทีมเข้าไปสำรวจพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลาของวัน เพื่อให้เห็นความต้องการและซึมซับบรรยากาศของชุมชน โดยองค์ประกอบภายในสวนชุมชน เช่น กระถางต้นไม้และที่นั่ง ได้เลือกใช้วัสดุตกแต่งพื้นผิว เอสซีจี เดคคอร์ รุ่นโมดิน่า ด้วยดีไซน์ของวัสดุที่มีลายเส้นในตัว เมื่อนำมาใช้งานจึงช่วยเพิ่มมิติ texture แสงและเงาให้กับผลงานจึงดูไม่น่าเบื่อ รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ เป็นครั้งแรกที่ได้ทำงานออกแบบเพื่อชุมชนเช่นเดียวกับน้องๆทุกคนที่เข้าร่วมโครงการ โครงการนี้จะช่วยปลูกจิตสำนึกสาธารณะภายในใจของพวกเขา ที่กำลังจะเป็นสถาปนิกรุ่นใหม่ในสังคม

 

            ขณะที่ นางสาวตวงพร ปิตินานนท์ สถาปนิกชุมชนกลุ่มปั้นเมือง เผยว่า สำหรับจุดมุ่งหมายของการทำงานในพื้นที่มาจากความต้องการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านเก่าในเขตเมืองให้เติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาเมืองโดยยังรักษาคุณค่าและจิตวิญญาณของคนในพื้นที่ด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในชุมชน ย้ำถึงการมีสิทธิ์มีเสียงในการเป็นส่วนสำคัญของการลุกขึ้นมาจัดการพื้นที่ของตนเองและเป็นบรรทัดฐานของการพัฒนาพื้นที่สาธารณะอื่นๆในอนาคต่อไป ด้านนายยศพล บุญสม ผู้ร่วมก่อตั้ง We!park มองว่าสวนชุมชนโชฎึกเดิมเคยเป็นพื้นที่เศษเหลือและเป็นพื้นที่รกร้างริมคลองผดุงกรุงเกษมใจกลางชุมชน ก่อนจะกลายเป็นสวนชุมชนปัจจุบัน อีกทั้งชุมชนโดยรอบมีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม สวนชุมชนโชฎึกจึงถูกบรรจุเป็นหนึ่งในพื้นที่การปรับปรุงพื้นที่ริมคลองของเขตสัมพันธวงศ์ ซึ่ง We!Park ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในผู้ร่วมพัฒนา นอกจากนี้สวนดังกล่าวยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่จัดแสดงของเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2564 (Bangkok Design Week 2021) นับเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่งานออกแบบได้พัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนพร้อมกับการพัฒนาเมืองไปพร้อมๆกัน

 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมา อาทิตยา โชคกิจมนัสชัย ผู้อำนวยการเขตสัมพันธวงศ์ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในพิธีเปิดสวนชุมชนโชฎึกรูปแบบใหม่อย่างเป็นทางการ พร้อมมอบประกาศนียบัตรแก่นักออกแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คช้อปออกแบบสู่การก่อสร้างจริง Unique The Space และถือโอกาสกลับมาจัดแสดงผลงานผ่านเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2564 (Bangkok Design Week 2021) ที่จัดขึ้นเพื่อแสดงผลงานศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์และงานออกแบบต่างๆที่สถาปนิกให้ความสนใจตามจุดแสดงผลงานย่านเจริญกรุงและตลาดน้อยซึ่งรวมถึงพื้นที่ชุมชนโชฎึก นับเป็นการเชื่อมต่อพื้นที่กิจกรรมเข้าด้วยกัน ผลักดันให้เกิดการใช้งานพื้นที่จากการออกแบบจริง สร้างโอกาสใหม่ให้ย่านเก่ากลับมาเติบโตอย่างยั่งยืนจากการดีไซน์


จากความสำเร็จที่เกิดขึ้นในชุมชนโชฎึก เอสซีจี เดคคอร์ เชื่อว่าต้นแบบจากพื้นที่สาธารณะแห่งนี้จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ตลอดจนเป็นโมเดลความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนโมเดลใหม่ที่จะถูกทำซ้ำในพื้นที่อื่นๆ ของกรุงเทพฯ เพื่อให้เมืองกรุงเทพฯของเราเป็นเมืองที่นาอยู่ขึ้นกว่าวันวาน นางอัญชลี กล่าวทิ้งท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad