ส่องเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเมืองชวา… หาโอกาสการลงทุน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ส่องเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเมืองชวา… หาโอกาสการลงทุน

ส่องเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเมืองชวา… หาโอกาสการลงทุน

SCB CIO  แบบเจาะลึก เรื่อง ส่องเศรษฐกิจและตลาดหุ้นอินโดนีเซีย  เพื่อหาโอกาสการลงทุน เนื่องจากเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าจับตา มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน earning มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี เฉลี่ย 12-13% ในปี 2022-2023

ส่องเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเมืองชวา… หาโอกาสการลงทุน

 ท่ามกลางความผันผวนจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น แรงกดดันเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขาขึ้นแบบเร็วและแรง การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอยในบางประเทศ  โดย SCB CIO เชื่อว่าการกระจายการลงทุนไปสู่ประเทศที่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทนของ portfolio ได้  บทวิเคราะห์นี้ SCB CIO อยากชวนทุกคนมารู้จักเศรษฐกิจและตลาดหุ้นอินโดนีเซียมากขึ้นผ่าน 5 คำถามสำคัญ ได้แก่

(i) โครงสร้างเศรษฐกิจอินโดนีเซียเป็นอย่างไร และ แตกต่างกับเศรษฐกิจไทยอย่างไร?

อินโดนีเซียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ในเอเชีย-แปซิฟิกและอันดับ 1 ในอาเซียน ซึ่งป็นเเศรษฐกิจที่พึ่งพาการใช้จ่ายในประเทศเป็นสำคัญ (Domestic demand-led growth) ต่างจากไทยและเวียดนามที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าและบริการที่มากกว่าอินโดนีเซีย  โดยปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจอินโดนีเซียมาจากขนาดประชากรที่ใหญ่และกลุ่มชนชั้นกลางที่เติบโต นอกจากนั้น ยังมีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก ซึ่งจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนทางตรงต่อเนื่อง รวมถึงการลงทุนในธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสูงในอนาคน เช่น อุตสาหกรรม EV

(ii) วัฏจักรราคาสินค้าโภคภัณฑ์ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอินโดนีเซียอย่างไร?

การส่งออกกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ถ่านหิน น้ำมันปาล์ม และแร่ธาตุนิกเกิล เป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ที่ทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มเคลื่อนไหวตามวัฏจักรราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ผ่านการส่งออกและการลงทุนในประเทศต่อเนื่องมายังรายได้และการจ้างงานของครัวเรือนแต่ในระยะหลังนี้ปัจจัยนี้มีผลต่อเศรษฐกิจอินโดนีเซียน้อยลงเนื่องจากการเติบโตของกลุ่มชนชั้นกลางที่ช่วยประคับประคองการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศได้มากขึ้น รวมถึงการลงทุนของธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น จากที่เคยเน้นไปแค่อุตสาหกรรมการทำเหมือง

(iii) ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ นโยบายการเงินตึงตัว และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินอินโดนีเซียในระยะสามปีข้างหน้าอย่างไร?

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของอินโดนีเซียโดยรวมในปัจจุบันยังถือว่าอยู่ในระดับที่ดี แนวโน้มในระยะ 3 ปีข้างหน้าก็ยังไม่น่ากังวล หากพิจารณาจาก 1) ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลในปีนี้และ 3 ปีข้างหน้าการขาดดุลอยู่ในระดับต่ำไม่เกิน 2% ของ GDP 2) หนี้ของภาครัฐและเอกชนอยู่ในระดับต่ำเป็น Buffer สำคัญที่จะช่วยรับมือในช่วงที่เกิดวิกฤต 3) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ค่าเงิน IDR ก็ไม่ผันผวนในทิศทางอ่อนค่ารุนแรงเหมือนในอดีต 4) แรงกดดันจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวจากประเทศชั้นนำกดดันต่อตลาดเงินอินโดนีเซียไม่มาก ผลจากต่างชาติถือครองพันธบัตรอินโดนีเซียในสัดส่วนต่ำ 5) เงินเฟ้อสูงยังไม่กดดันให้ธนาคารกลางอินโดนีเซียต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วและแรง ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการดูแลค่าครองชีพของรัฐบาล

(iv) โครงสร้างตลาดทุนของอินโดนีเซียเป็นอย่างไร? แตกต่างกับตลาดหุ้นไทยและเวียดนามอย่างไร?

ตลาดหุ้นอินโดนีเซียมีหุ้นกลุ่มการเงินเป็นกลุ่มที่มี market capitalization ใหญ่ที่สุด รองลงมามีการกระจายตัวอยู่ในกลุ่ม Consumer discretionary กลุ่มสื่อสาร กลุ่ม Material และ Consumer staples นอกจากนี้ มูลค่าตลาดยังกระจุกตัวอยู่ในหุ้น 10 บริษัทแรกซึ่งมีสัดส่วนอยู่ราว 50% ของมูลค่าตลาด คล้ายคลึงกับตลาดหุ้นเวียดนาม ขณะที่ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างกระจายตัวในหลาย sectors มากกว่า

(v) มูลค่าของตลาดหุ้นอินโดนีเซียเป็นอย่างไร? หุ้นกลุ่มไหนเป็นกลุ่มที่น่าสนใจ?

โดยรวม SCB CIO มีมุมมองเป็น Slightly positive ต่อตลาดหุ้นอินโดนีเซีย มูลค่าตลาดหุ้นอินโดนีเซียยังมีความน่าสนใจ เนื่องจาก Forward P/E ที่ 15 เท่า สำหรับ JCI และ 14 เท่า สำหรับ MSCI-Indonesia ยังเป็นระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 5 ปี (-0.9 และ -1.4 SD ตามลำดับ) ขณะที่ Earning ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดี (เฉลี่ย 12-13% ในปี 2022-23) โดยเฉพาะกลุ่ม Large และ Mid Cap และหากเปรียบเทียบกับไทยและเวียดนาม อินโดนีเซียก็ยังคงน่าสนใจ ในแง่ของความผันผวนที่ต่ำกว่า ผลตอบแทนโดยรวมที่ดีกว่า และ Earning ใน 1-2 ปี ที่ยังเติบโตได้ดี ในส่วนของ Sectors ที่น่าสนใจสำหรับลงทุนในตลาดหุ้นอินโดนีเซีย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1) กลุ่มธุรกิจการเงิน กลุ่มสุขภาพ และกลุ่ม Consumer discretionary ที่ได้รับปัจจัยบวกจากการเติบโตของกลุ่มชนชั้นกลางและการขยายตัวของธุรกิจบริการ โดยเฉพาะธุรกิจ Platfrom และ 2) กลุ่มพลังงานและกลุ่ม Material ที่ได้อานิสงส์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระดับสูง แต่ในระยะสั้นผลบวกเริ่มมีข้อจำกัดจากแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่กำลังเข้าสู่ระดับสูงสุด อย่างไรก็ตาม ในระยะกลาง การลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ EV น่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนในกลุ่ม Material

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad