กรมการค้าภายในเผย “จุรินทร์” เตรียมนั่งหัวโต๊ะ ถกมาตรการแก้ไขปัญหาผลไม้แบบครบวงจรที่จังหวัดจันทบุรี 8 ก.พ.นี้ เชิญล้ง ผู้ส่งออก และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมหารือ เล็งแก้ปัญหาล้งกับเกษตรกรเบี้ยวการซื้อขาย จ่อใช้สัญญาที่บังคับใช้ได้ตามกฎหมาย พร้อมวางแผนกระจายผลผลิต ในประเทศจะจับมือตลาด ห้าง ช่วยระบาย ดึงสายการบินให้โหลดขึ้นเครื่อง เปิดพื้นที่ขายในปั๊ม ส่วนด้านส่งออก จะช่วยดอกเบี้ย 3% และลุยขายเพื่อนบ้าน จีน อินเดีย
นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า วันที่ 8 ก.พ.2563 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นประธานในการแก้ปัญหาการค้าผลไม้ไทยแบบครบวงจร ที่จังหวัดจันทบุรี โดยจะเชิญโรงคัดและบรรจุผลไม้ (ล้ง) ผู้ส่งออก และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมหารือ เพื่อร่วมกันจัดทำมาตรการในการดูแลราคาผลไม้ภาคตะวันออกในช่วงที่ผลผลิตจะออกสู่ตลาดตั้งแต่ช่วงเดือนเม.ย.2563 เป็นต้นไป โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด เงาะ เพื่อป้องกันปัญหาราคาตกต่ำ และหาช่องทางในการระบายผลผลิตออกสู่ตลาดทั้งในประเทศและส่งออก
ทั้งนี้ ในด้านการแก้ไขปัญหาการรับซื้อผลไม้ ระหว่างล้งกับเกษตรกร จะผลักดันให้มีการทำสัญญาที่ถูกต้องและบังคับใช้ได้ทางกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม เพราะที่ผ่านมา เคยมีปัญหาทั้งล้งเบี้ยวเกษตรกร ที่พอราคาผลไม้ลดลง ก็ไม่ยอมซื้อในราคาที่เคยตกลงกันไว้ เพราะอยากจะซื้อในราคาที่ถูกกว่า หรือทางฝั่งเกษตรกร พอราคาสูงกว่าราคาที่ตกลงไว้ ก็ไม่ยอมขาย เพราะอยากขายได้ในราคาที่สูงขึ้น จึงต้องมีสัญญาที่เอาผิดกันได้ จะเป็นในเรื่องค่าเสียหายทางแพ่ง หรืออะไรก็ว่าไป
“กำลังประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูว่าการทำสัญญามาตรฐานที่บังคับใช้ได้ตามกฎหมาย ต้องใช้อำนาจของหน่วยงานใด เพื่อให้มีการนำสัญญาไปใช้ จะได้ป้องกันการเบี้ยว และกระทบต่อการซื้อขายผลไม้ เพราะที่ผ่านๆ มา มีสัญญากันก็จริง แต่เป็นเหมือนเซ็นเอ็มโอยูเอาไว้มากกว่า บางครั้งเซ็นแล้ว ก็ไม่ทำตาม ทำให้มีปัญหากันทั้ง 2 ฝั่ง”นายวิชัยกล่าว
นายวิชัยกล่าวว่า ทางด้านมาตรการรับมือกับผลผลิตผลไม้ที่จะนำมาใช้ในปีนี้ ตลาดในประเทศ ได้เตรียมมาตรการเอาไว้แล้ว เช่น การร่วมมือกับตลาดที่อยู่ในความส่งเสริมของกรมฯ เป็นแหล่งกระจายผลไม้ การเชื่อมโยงการจำหน่ายระหว่างผู้ผลิต ผู้ส่งออก กับเกษตรกร การร่วมมือกับห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกค้าส่ง เพื่อจำหน่ายผลไม้ และการจัดมหกรรมผลไม้ เพื่อกระตุ้นการบริโภคผลไม้ ทั้งในส่วนของนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติในแหล่งท่องเที่ยวรวม 4 ภาค
นอกจากนี้ จะประสานกับสายการบิน เพื่อให้สามารถนำผลไม้ขึ้นเครื่อง เพื่อนำไปบริโภคหรือใช้เป็นของฝาก มีเป้าหมายที่จะขอความร่วมมือจากทุกสายการบิน จากที่ปีที่แล้ว ได้รับความร่วมมือจาก 4 สายการบิน คือ ไทยสไมล์ นกแอร์ แอร์เอเชีย และบางกอกแอร์เวย์ส รวมถึงจะประสานสถานีบริการน้ำมัน เพื่อเปิดพื้นที่ให้เกษตรกรจำหน่ายผลไม้ ดึงไปรษณีย์ช่วยจำหน่ายและขนส่งผลไม้ และประสานภัตตาคารและโรงแรม เพื่อนำผลไม้ไปใช้เสิร์ฟให้กับลูกค้า เป็นต้น
ส่วนด้านการส่งออก มีแผนช่วยสนับสนุนสภาพคล่องกับผู้ส่งออก มีวงเงินให้กู้ประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยจะช่วยสนับสนุนดอกเบี้ย 3% เพื่อให้ผู้ส่งออกมีเงินทุนไปซื้อผลไม้จากเกษตรกร และยังจะเร่งทำตลาดส่งออก โดยมีเป้าหมายตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน จีน และอินเดีย
สำหรับคาดการณ์ผลผลิตผลไม้ปี 2563 มีดังนี้ ทุเรียน 1.163 ล้านตัน มังคุด 3.72 แสนตัน เงาะ 3.05 แสนตัน ลำไย 1.07 ล้านตัน ลิ้นจี้ 3.7 หมื่นตัน และลองกอง 1.18 แสนตัน โดยทุเรียนจะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนเม.ย.2563 เช่นเดียวกับมังคุด และเงาะ ที่จะทยอยออกตามมา ส่วนภาคใต้ ทุเรียน มังคุด เงาะ จะเริ่มออกตั้งแต่เดือนก.ค.2563 ลำไย เริ่มออกช่วงก.ค.2563 ลิ้นจี่ เดือนเม.ย.2563 และลองกอง เริ่มออกเดือนก.ค.2563 ส่วนที่ภาคใต้ออก ก.ย.2563
นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า วันที่ 8 ก.พ.2563 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นประธานในการแก้ปัญหาการค้าผลไม้ไทยแบบครบวงจร ที่จังหวัดจันทบุรี โดยจะเชิญโรงคัดและบรรจุผลไม้ (ล้ง) ผู้ส่งออก และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมหารือ เพื่อร่วมกันจัดทำมาตรการในการดูแลราคาผลไม้ภาคตะวันออกในช่วงที่ผลผลิตจะออกสู่ตลาดตั้งแต่ช่วงเดือนเม.ย.2563 เป็นต้นไป โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด เงาะ เพื่อป้องกันปัญหาราคาตกต่ำ และหาช่องทางในการระบายผลผลิตออกสู่ตลาดทั้งในประเทศและส่งออก
ทั้งนี้ ในด้านการแก้ไขปัญหาการรับซื้อผลไม้ ระหว่างล้งกับเกษตรกร จะผลักดันให้มีการทำสัญญาที่ถูกต้องและบังคับใช้ได้ทางกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม เพราะที่ผ่านมา เคยมีปัญหาทั้งล้งเบี้ยวเกษตรกร ที่พอราคาผลไม้ลดลง ก็ไม่ยอมซื้อในราคาที่เคยตกลงกันไว้ เพราะอยากจะซื้อในราคาที่ถูกกว่า หรือทางฝั่งเกษตรกร พอราคาสูงกว่าราคาที่ตกลงไว้ ก็ไม่ยอมขาย เพราะอยากขายได้ในราคาที่สูงขึ้น จึงต้องมีสัญญาที่เอาผิดกันได้ จะเป็นในเรื่องค่าเสียหายทางแพ่ง หรืออะไรก็ว่าไป
“กำลังประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูว่าการทำสัญญามาตรฐานที่บังคับใช้ได้ตามกฎหมาย ต้องใช้อำนาจของหน่วยงานใด เพื่อให้มีการนำสัญญาไปใช้ จะได้ป้องกันการเบี้ยว และกระทบต่อการซื้อขายผลไม้ เพราะที่ผ่านๆ มา มีสัญญากันก็จริง แต่เป็นเหมือนเซ็นเอ็มโอยูเอาไว้มากกว่า บางครั้งเซ็นแล้ว ก็ไม่ทำตาม ทำให้มีปัญหากันทั้ง 2 ฝั่ง”นายวิชัยกล่าว
นายวิชัยกล่าวว่า ทางด้านมาตรการรับมือกับผลผลิตผลไม้ที่จะนำมาใช้ในปีนี้ ตลาดในประเทศ ได้เตรียมมาตรการเอาไว้แล้ว เช่น การร่วมมือกับตลาดที่อยู่ในความส่งเสริมของกรมฯ เป็นแหล่งกระจายผลไม้ การเชื่อมโยงการจำหน่ายระหว่างผู้ผลิต ผู้ส่งออก กับเกษตรกร การร่วมมือกับห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกค้าส่ง เพื่อจำหน่ายผลไม้ และการจัดมหกรรมผลไม้ เพื่อกระตุ้นการบริโภคผลไม้ ทั้งในส่วนของนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติในแหล่งท่องเที่ยวรวม 4 ภาค
นอกจากนี้ จะประสานกับสายการบิน เพื่อให้สามารถนำผลไม้ขึ้นเครื่อง เพื่อนำไปบริโภคหรือใช้เป็นของฝาก มีเป้าหมายที่จะขอความร่วมมือจากทุกสายการบิน จากที่ปีที่แล้ว ได้รับความร่วมมือจาก 4 สายการบิน คือ ไทยสไมล์ นกแอร์ แอร์เอเชีย และบางกอกแอร์เวย์ส รวมถึงจะประสานสถานีบริการน้ำมัน เพื่อเปิดพื้นที่ให้เกษตรกรจำหน่ายผลไม้ ดึงไปรษณีย์ช่วยจำหน่ายและขนส่งผลไม้ และประสานภัตตาคารและโรงแรม เพื่อนำผลไม้ไปใช้เสิร์ฟให้กับลูกค้า เป็นต้น
ส่วนด้านการส่งออก มีแผนช่วยสนับสนุนสภาพคล่องกับผู้ส่งออก มีวงเงินให้กู้ประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยจะช่วยสนับสนุนดอกเบี้ย 3% เพื่อให้ผู้ส่งออกมีเงินทุนไปซื้อผลไม้จากเกษตรกร และยังจะเร่งทำตลาดส่งออก โดยมีเป้าหมายตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน จีน และอินเดีย
สำหรับคาดการณ์ผลผลิตผลไม้ปี 2563 มีดังนี้ ทุเรียน 1.163 ล้านตัน มังคุด 3.72 แสนตัน เงาะ 3.05 แสนตัน ลำไย 1.07 ล้านตัน ลิ้นจี้ 3.7 หมื่นตัน และลองกอง 1.18 แสนตัน โดยทุเรียนจะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนเม.ย.2563 เช่นเดียวกับมังคุด และเงาะ ที่จะทยอยออกตามมา ส่วนภาคใต้ ทุเรียน มังคุด เงาะ จะเริ่มออกตั้งแต่เดือนก.ค.2563 ลำไย เริ่มออกช่วงก.ค.2563 ลิ้นจี่ เดือนเม.ย.2563 และลองกอง เริ่มออกเดือนก.ค.2563 ส่วนที่ภาคใต้ออก ก.ย.2563
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น