Varuna โชว์เคสความสำเร็จอีกขั้นในงาน IPTC 2023 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2566

Varuna โชว์เคสความสำเร็จอีกขั้นในงาน IPTC 2023

Varuna โชว์เคสความสำเร็จอีกขั้นในงาน IPTC 2023

Varuna โชว์เคสความสำเร็จอีกขั้นในงาน IPTC 2023 บทพิสูจน์แฟลตฟอร์มฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวของไทย เครื่องมือช่วยโลกลดคาร์บอน

จากความมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อใช้วางแผนฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่องและจริงจังนานกว่า 2 ปี วรุณา (Varuna) ผู้นำการใช้เทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech) ในการวางแผนฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวยังคงก้าวต่อไปเพื่อนำเครื่องมือทรงพลัง อย่าง “VLM Forest” หรือ “VARUNA Land Monitoring Forest” เข้าร่วมโชว์ความสำเร็จในงานประชุมเทคโนโลยีปิโตรเลียมนานาชาติ IPTC 2023 พร้อมต่อยอดนำไปประยุกต์ใช้ในวงกว้างทั้งภาคธุรกิจและภาคประชาชน หวังตอกย้ำให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาพื้นที่สีเขียว ประเมินค่าคาร์บอนได้อย่างแม่นยำ นำไปสู่แนวทางช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อย่างสมบูรณ์

พณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหารด้านธุรกิจ บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงการเข้าร่วมงาน IPTC 2023 ของบริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือบริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) ภายใต้ ปตท.สผ. ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่วรุณาจะเร่งผลักดันทำให้ทุกคนตระหนักถึงการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีเพื่อสร้างความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมให้กับโลก สอดคล้องกับแนวคิดหลักของงานนั่นคือ “Balancing the Energy Landscape through Innovation and Sustainability”

“หลังจากประสบความสำเร็จในการทำงานโครงการ OUR Khung BangKachao เพื่อบริหารจัดการพื้นที่คุ้งบางกระเจ้า ด้วยการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สีเขียวแล้ว ครั้งนี้ วรุณา จึงนำเสนอเทคโนโลยีสมัยใหม่อัจฉริยะที่เกี่ยวข้องกับฟื้นฟูพื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถใช้บริหารป่าไม้อย่างครบวงจร หรือ Smart Forest Solution ภายใต้ชื่อ “VLM Forest” หรือ “VARUNA Land Monitoring Forest” ให้กับผู้เข้าร่วมงานนับพันคนจากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ภายในงาน IPTC 2023”

“แพลตฟอร์ม VLM Forest ของวรุณา จะวิเคราะห์และแสดงผลพื้นที่สีเขียว ทั้งพื้นที่ธรรมชาติ และพื้นที่การเกษตร โดยใช้โดรนสำรวจชนิดมัลติสเปคตรัม ในการจัดเก็บภาพพื้นที่ขนาดใหญ่ด้วยความละเอียดสูงระดับเซนติเมตร ร่วมกับการใช้ภาพถ่าย Normalized Difference Vegetation Index (NDVI) จากดาวเทียม ช่วยให้ได้ข้อมูลสภาพพื้นที่ที่มีความละเอียดและแม่นยำสูง เพื่อนำมาวิเคราะห์และประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) จนได้ฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ ช่วยให้ผู้ใช้งานนำไปวางแผนพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ให้สำเร็จตามเป้าหมายได้นั่นเอง” พณัญญา กล่าว

ความน่าสนใจของเทคโนโลยี “VLM Forest” นอกจากจะเป็นการประมวลผลการใช้โดรนและดาวเทียมเชื่อมโยงการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ วางแผนและบริหารจัดการพื้นที่เขียว (Green Area Management) แล้ว วรุณายังได้พัฒนาต่อยอดให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ (Green Area Monitoring) อัพเดทต่อเนื่อง ช่วยมอนิเตอร์ให้เห็นชัดเจนว่าในการลงทุนปลูกป่านั้นได้ผลที่น่าพึงพอใจเพียงไร พร้อมส่งผลประเมินความสมบูรณ์ของป่าเป็นรายปี

นอกจากนี้ วรุณายังได้สร้างสรรค์และพัฒนา “VLM Forest” ให้มีโซลูชันการตรวจสอบและคำนวณคาร์บอนเครดิตรูปแบบใหม่บนพื้นที่ขนาดใหญ่ (Large Scale Carbon Credit Solution) ซึ่งโซลูชันนี้สะท้อนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเห็นโอกาสนำแพลตฟอร์มนี้ไปใช้วิเคราะห์และประเมินผลการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ Carbon Credit ขององค์กรได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งประโยชน์ในการช่วยตรวจจับพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดไฟป่า (Wildfire Hotspot Detection) ยังสื่อถึงศักยภาพที่ชัดเจนของ “VLM Forest” ในการบริหารป่าไม้อย่างครบวงจรอีกด้วย

“องค์กรจะได้ประโยชน์ต่อยอดจากการใช้แพลตฟอร์ม Smart Forest Solution ตั้งแต่ต้นทาง นั่นคือการหาพื้นที่ปลูกป่า มีการวิเคราะห์ข้อมูล ติดตามผล ครบจบในแพลตฟอร์มเดียว และเป้าหมายสำคัญเราอยากให้องค์กรที่กำลังมองหาเครื่องมือที่จะช่วยเรื่องการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียว รวมทั้งองค์กรที่ให้ความสำคัญในเรื่อง Sustainability มี “VLM Forest” เป็นตัวช่วยสำคัญทั้งในเรื่องการให้ข้อมูลด้าน Nature Base Carbon Credit อย่างครบถ้วนเพื่อนำไปขอรับรองต่อไปได้” พณัญญา กล่าวเสริม

และอีกหนึ่งไฮไลท์ของโชว์เคสครั้งนี้ วรุณายังได้นำฟีเจอร์ “ปลูกต้นไม้” บน คันนา แอปพลิเคชัน (KANNA Application) ที่จะชวนให้ประชาชนทุกคนสามารถทดลองวาดต้นไม้ผ่านแอปพลิเคชันในการประเมินค่าคาร์บอนพื้นที่นั้นๆ นับเป็นการสร้างความตระหนักรู้เรื่องการลดโลกร้อน เปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ด้วยการนำเทคโนโลยีไอทีที่อยู่ใกล้ตัวของทุกคน มาใช้เป็นตัวช่วยให้ทุกคนเชื่อว่าเรื่องปลูกป่านั้นทำได้ง่าย ทำได้ทุกวัน เพื่อนำไปสู่การลดภาวะโลกร้อนและสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคป่าไม้ได้ในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad