Voice for Change ร่วมลงชื่อผลักดัน เพื่อให้คุณและคนไทยมีโอกาสเข้ าถึงการรักษามะเร็งตั บตามมาตรฐานสากล
เราไม่ได้ขอเสียงเพื่อการเลื อกตั้ง แต่เราขอหนึ่งเสียงของคุณ เพื่อเปลี่ยนชีวิตผู้ป่วยมะเร็ งตับ
ปัจจุบัน โรคมะเร็งตับถือเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพอันดับ 1 ของประเทศไทย ด้วยอุบัติการณ์สูงถึง 27,394 ราย และอัตราการเสียชีวิต 26,704 ราย ภายในปี พ.ศ. 2563 เพียงปีเดียว โดยยอดผู้ป่วยใหม่และเสียชีวิตยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย ครอบครัวผู้ป่วย ผลิตภาพทางเศรษฐกิจ และระบบสาธารณสุขของประเทศ มูลนิธิรักษ์ตับ ในฐานะกลุ่มผู้ป่วยโรคตับและมะเร็งตับจึงจัดงานเปิดตัวแคมเปญ Voice for Change: หนึ่งเสียง เปลี่ยนชีวิตผู้ป่วยมะเร็งตับ เพื่อผลักดันการเข้าถึงยานวัตกรรมสำหรับโรคมะเร็งตับให้เข้าไปอยู่ในสิทธิการรักษาพยาบาลของคนไทย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตที่ยาวนานขึ้น ลดความเสียหายอันอาจเกิดจากทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นกำลังการผลิตของประเทศ พร้อมอยากเชิญชวนให้คนไทย ร่วมลงชื่อสนับสนุนแคมเปญบนเว็บไซต์ change.org เพื่อแสดงความสนับสนุนและสะท้อนเสียงของประชาชนที่ต้องการผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของยานวัตกรรมที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งตับ และเร่งพิจารณาสิทธิการรักษาพยาบาลของคนไทยให้ครอบคลุมยาที่มีประสิทธิภาพตามหลักมาตรฐานสากล
โดยแคมเปญมีเป้าหมายที่รวบรวมให้ได้ 10,000 รายชื่
มูลนิธิรักษ์ตับชวนรวมพลัง ลงชื่อแคมเปญ “ Voice for change - หนึ่งเสียง เปลี่ยนชีวิตผู้ป่วยมะเร็งตับ” ดันให้ถึงเป้าหมาย 10,000 เสียง เพื่อเพิ่มโอกาสผู้ป่วยเข้าถึ งสิทธิการรักษาด้วยยานวัตกรรม ฟังเสียงสะท้อนจากผู้ป่วยมะเร็ งตับระยะลุกลาม กับความหวังหายจากโรคที่ลดลงทุ กขณะ หนุนการรักษามะเร็งที่ครอบคลุ มสู่วาระเร่งด่วน ต่อลมหายใจให้ผู้ป่วย
กรุงเทพฯ 23 มีนาคม 2566 – มะเร็งตับถือเป็นหนึ่งในสาเหตุ การเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย และยังถือเป็นมะเร็งที่มียอดผู้ เสียชีวิตมากที่สุดเมื่อเทียบกั บมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่พบในประเทศ [1] โดยในปี พ.ศ. 2563 ยอดผู้เสียชีวิตจากมะเร็งตับมี จำนวนสูงถึง 26,704 ราย จากจำนวนผู้ป่วยที่พบทั้งหมด 27,394 ราย ขณะที่ยอดผู้ป่วยใหม่และจำนวนผู้ เสียชีวิตยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้ นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ถือเป็นวาระเร่งด่วนทางด้ านสาธารณสุขของไทยที่ทุกคนต้ องหันมาให้ความสำคัญไม่แพ้ภัยสุ ขภาพอื่นๆ
เนื่องจากมะเร็งตับมักไม่ค่ อยแสดงอาการในระยะเริ่มต้น กว่าผู้ป่วยจะทราบว่าตนเองป่ วยเป็นมะเร็งตับก็อยู่ในระยะลุ กลามแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังมีโอกาสที่จะได้รั บการรักษาให้หายได้ หากแต่ปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งตั บในไทยยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ การรักษาตามมาตรฐานสากล ประกอบกับราคาค่าใช้จ่ายในการรั กษาที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้ยอดผู้เสียชีวิ ตจากมะเร็งตับยังคงเพิ่มสูงขึ้น ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจึงไม่ ใช่แค่หนึ่งชีวิตที่ถูกพรากไป แต่ยังหมายถึงหนึ่งชีวิตที่มี ความหมายสำหรับอีกหลายชีวิต หนึ่งชีวิตอันเป็นที่รัก หนึ่งชีวิตที่อาจเป็นเสาหลั กของครอบครัว หรือหนึ่งชีวิตที่อาจเป็นตัวคุ ณเองก็ได้
เพื่อเป็นกระบอกเสียงสะท้อนถึ งผลกระทบที่ผู้ป่วยต้องเผชิ ญและผลักดันให้เกิดการเปลี่ ยนแปลงด้านแนวทางการรักษาผู้ป่ วยมะเร็งตับอย่างมีคุณภาพ มูลนิธิรักษ์ตับ จึงได้จัดแคมเปญ Voice for Change: หนึ่งเสียง เปลี่ยนชีวิตผู้ป่วยมะเร็งตับ เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนมาร่ วมลงชื่อเพื่อเร่งผลักดันสิทธิ การรักษาพยาบาลของคนไทยให้ ครอบคลุมยานวัตกรรมสำหรั บโรคมะเร็งตับ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายที่ จะรวบรวมจำนวนผู้ลงชื่อให้ได้ 10,000 รายชื่อบน change.org อย่างไรก็ดี จนถึงขณะนี้ มีผู้ลงชื่อผลักดันแคมเปญ แล้ว 3,432 คน หรือราว 1 ใน 4 ของยอดที่ต้องการ ซึ่งยังขาดอยู่อีก 6,568 รายชื่อ เพื่อยื่นเรื่องให้หน่วยงานที่ พิจารณาสิทธิการรั กษาพยาบาลตระหนักถึงความสำคั ญของยานวัตกรรมที่มีต่อคุณภาพชี วิตของผู้ป่วยมะเร็งตับ และบรรจุยาที่มีประสิทธิ ภาพตามหลั กมาตรฐานสากลลงในรายการเบิกจ่าย ซึ่งจะช่วยขยายโอกาสการเข้าถึ งการรักษาและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ ดีขึ้นให้ผู้ป่วยมะเร็งตับ
แม้แนวทางการรักษาโรคมะเร็งตั บในปัจจุบันจะมีหลากหลายวิธี อาทิ การผ่าตัด การปลูกถ่ายตับ การอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงก้ อนมะเร็ง การรักษาด้วยเคมีบำบัด ( Chemotherapy) การรักษาด้วยยามุ่งเป้า ( Targeted Therapy) และการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกั นบำบัด ( Immunotherapy) ร่วมกับยาต้านการสร้างหลอดเลือด โดยขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ ในการเลือกแนวทางการรักษาที่ เหมาะสมกับผู้ป่วย แต่ยังมีผู้ป่วยมะเร็งตั บจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้ าถึงยานวัตกรรมเพื่อรักษามะเร็ งตับที่มีผลการวิจัยรับรองถึ งประสิทธิภาพในการเพิ่มอั ตราการรอดชีวิตได้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านสิทธิเบิ กจ่ายการรักษาพยาบาลขั้นพื้ นฐานของคนไทยที่ยังไม่ครอบคลุม ส่งผลให้ผู้ป่วยยังคงต้องทุกข์ ทรมานจากอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง
คุณวีรยุทธ ยอดคำ ผู้ป่วยมะเร็งเซลล์ตับระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะลุกลาม เผยถึงประสบการณ์การป่วยเป็ นมะเร็งตับและขั้นตอนการรักษาว่ า “ผมป่วยมาตั้งแต่ปี 2562 รับประทานอาหารไม่ได้ น้ำหนักลดลงวันละ 1-2 กิโลกรัมทุกวัน ในช่วง 1 เดือน น้ำหนักผมลดไป 20 กิโลกรัม คิดว่าตัวเองคงไม่รอด” ก่อนจะเล่าต่อว่า “พอเจอคุณหมอ คุณหมอแนะนำให้รักษาด้วยการรั บประทานยา เพราะเคสผมเป็นระยะลุกลาม เนื่องจากเป็นไวรัสตับอักเสบซี คุณหมอจึงให้ยาต้านไวรัสก่อน แล้วค่อยใช้ยาพุ่งเป้ารั กษามะเร็งอีกที ผมรับประทานยาเม็ดได้ประมาณ 2-3 เดือน แล้วเกิดอาการข้างเคียงเยอะมาก มือเท้าแตก จับอะไรนิดหน่อยเป็ นแผลแตกหมดเลย ใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้ างลำบากจึงขออาจารย์หยุ ดยาเพราะรู้สึกทนไม่ไหว และขอเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่น อาจารย์เลยแนะนำตัวยาปัจจุบั นให้ เป็นยาฉีดเข้าเส้นเลือด ซึ่งรู้สึกว่าดีขึ้น ไม่มีผลข้างเคียง และน้ำหนักเพิ่มขึ้น ถ้าเปรียบเทียบกับผู้ป่วยมะเร็ งรายอื่นๆ ที่ผมเคยพูดคุยด้วยตอนรอพบคุ ณหมอ เขาบอกว่าพวกเขาได้รับยาคีโม แต่มันไม่ใช่ยาที่พวกเขาอยากได้ เพราะกลับบ้านไปแล้วจะรู้สึกเจ็ บปวดทรมานมาก ผมร่วง กินข้าวไม่ได้ นอนไม่ได้ เพราะจริง ๆ แล้วทุกคนก็อยากเข้าถึงยาที่มี ประสิทธิภาพ อยากได้สิ่งที่ดี ๆ ให้ชีวิตตัวเอง ” ปัจจุบันผมมาหาหมอทุกๆ 3 สัปดาห์ เพื่อมารับยา แต่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง เพราะยาไม่ได้อยู่ในสิทธิ์รักษา 30 บาท”
การเผชิญกับโรคมะเร็งตับถือเป็ นความท้าทายไม่แค่เฉพาะกับผู้ป่ วย แต่ยังรวมถึงครอบครัวและเจ้าหน้ าที่ผู้ดูแล ที่ต้องต่อสู้เคียงข้างร่วมกั นไปกับผู้ป่วย และคอยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ มะเร็งตับยังถือเป็นภัยสุขภาพที่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้ องในระบบสาธารณสุขของไทยต้องรั บมืออย่างต่อเนื่องด้ วยจำนวนยอดผู้ป่วยที่พุ่งสูงขึ้ น โดย รศ.พญ.วัฒนา สุขีไพศาลเจริญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้ านระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่ น และประธานมูลนิธิรักษ์ตับ กล่าวว่า “อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งตั บในไทยเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็ นห่วง เสียงสะท้อนและสนับสนุนจากเราทุ กคน ในการรณรงค์ให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องพิจารณาสิทธิการรั กษาพยาบาล โดยเฉพาะสิทธิในการเบิกจ่ ายยาตามแนวทางการรั กษาพยาบาลโดยไม่สร้ างความยากลำบากด้านค่าใช้จ่ ายแก่ผู้ป่วย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยผลั กดันความเปลี่ยนแปลงต่อเส้ นทางการรักษาของผู้ป่วยได้อย่ างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยชะลอสถานการณ์ความรุ นแรงของโรค และช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสเข้าถึ งสิทธิการรักษาที่ได้มาตรฐานเช่ นประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ ผู้ป่วย ”
นอกจากการจัดกิจกรรมการรณรงค์ บนเว็บไซต์ change.org เพื่อรวบรวมรายชื่อประชาชนที่ต้ องการเห็นความเปลี่ ยนแปลงของการรักษาผู้ป่วยมะเร็ งตับแล้ว ทางมูลนิธิฯ ยังได้ทำการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ อวิดีโอในโลกออนไลน์ร่วมกั บสามอินฟลูเอนเซอร์คนรุ่นใหม่ ได้แก่ พี่ชาวี @RealChaVee , อาเธอร์ (อาธารญา) @ArthurLoriJa และ sutiฯ @sfkkfs เพื่อสะท้อนเรื่ องราวความยากลำบากที่ผู้ป่ วยมะเร็งตับและครอบครัวต้องเผชิ ญ รวมถึงตอกย้ำถึงความสำคัญของพลั งเสียงเรียกร้องจากประชาชนเพื่ อนำไปสู่การพิจารณาและบรรจุสิ ทธิการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุม
แคมเปญ Voice for Change: หนึ่งเสียง เปลี่ยนชีวิตผู้ป่วยมะเร็งตับ มีเป้าหมายรวบรวม 10,000 รายชื่อ เพื่อนำไปประกอบจดหมายเปิดผนึ กและยื่นต่อหน่วยงานภาครัฐที่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณาสิ ทธิรักษาพยาบาลของคนไทย อันจะนำไปสู่โอกาสในการเข้าถึ งตัวเลือกการรักษาที่มีประสิทธิ ภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มอั ตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย คลายความกังวลใจด้านต่างๆ ของผู้ดูแล ลดการสูญเสียทรั พยากรแรงงานของประเทศ และช่วยให้ระบบดูแลสุ ขภาพของประเทศไทยรับมือกับภัยคุ กคามทางสุขภาพนี้ได้อย่างยั่งยื น
ปัจจุบันมะเร็งตับยังคงเป็นภั ยสุขภาพที่คุกคามชีวิ ตคนไทยและสร้ างความยากลำบากในการใช้ชีวิตให้ แก่ผู้ป่วยอย่างมาก โดยที่เราไม่อาจรู้ว่าจะเกิดขึ้ นกับคนใกล้ตัวหรือแม้กระทั่งตั วเราเองเมื่อใด การผลักดันเพื่อให้เกิดการเปลี่ ยนแปลงด้านแนวทางการรั กษาโรคมะเร็งที่มีประสิทธิ ภาพมากขึ้นจึงเป็นหนทางหนึ่งที่ อาจมอบโอกาสให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ งตับได้ลุกขึ้นสู้และมีชีวิ ตใหม่ เพื่อคนที่พวกเขารัก แต่การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้ นได้นั้นก็ต้องอาศัยพลั งและความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะตัวเราในฐานะประชาชน ที่ต้องร่วมกันเปล่งเสียงสะท้ อนให้ดังยิ่งขึ้น เพราะทุกเสียงของเราล้วนมี ความหมายสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ
ทุกเสียงมีความสำคัญต่อการผลั กดันการพิจารณาสิทธิรักษาพยาบาล ร่วมลงชื่อในแคมเปญ ‘ Voice for Change: หนึ่งเสียง เปลี่ยนชีวิตผู้ป่วยมะเร็งตับ’ ทางเว็บไซต์ https://chng.it/mb2YytDG
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น