ไอคอนสยาม เดินหน้ารักษ์สิ่งแวดล้อม ชวนแยกขยะรีไซเคิล โครงการ “ขยะเติมสุข เปลี่ยนขยะเป็นความสุขส่งต่อถึงกัน” มอบรายได้ให้มูลนิธิโรงพยาบาลตากสิน พร้อมสานต่อแนวคิด BCG Economy Model - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ไอคอนสยาม เดินหน้ารักษ์สิ่งแวดล้อม ชวนแยกขยะรีไซเคิล โครงการ “ขยะเติมสุข เปลี่ยนขยะเป็นความสุขส่งต่อถึงกัน” มอบรายได้ให้มูลนิธิโรงพยาบาลตากสิน พร้อมสานต่อแนวคิด BCG Economy Model


ไอคอนสยาม เดินหน้ารักษ์สิ่งแวดล้อม ชวนแยกขยะรีไซเคิล โครงการ “ขยะเติมสุข เปลี่ยนขยะเป็นความสุขส่งต่อถึงกัน”


ไอคอนสยาม เดินหน้ารักษ์สิ่งแวดล้อม ชวนแยกขยะรีไซเคิล 

โครงการ “ขยะเติมสุข เปลี่ยนขยะเป็นความสุขส่งต่อถึงกัน” 

มอบรายได้ให้มูลนิธิโรงพยาบาลตากสิน  

พร้อมสานต่อแนวคิด BCG Economy Model 

 

เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก  (5 มิถุนายนของทุกปี) ไอคอนสยาม ยึดมั่นในวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับคนจำนวนมาก และต้องการเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย จึงได้นำกลยุทธ์ “ร่วมกันรังสรรค์ (Co-creation) และการสร้างคุณค่าสมประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย (Creating Shared Values)” มาบรรจุเข้าไปในกระบวนการดำเนินธุรกิจทุกประเภท โดยให้ความสำคัญ ใน 3 มิติ คือ ผู้คน ชุมชนสังคม และสิ่งแวดล้อม  ล่าสุด ไอคอนสยาม จับมือร่วมกับพันธมิตร และ โรงเรียน รวมถึง ชุมชนบริเวณโดยรอบ จัดทำโครงการ “ขยะเติมสุข เปลี่ยนขยะเป็นความสุขส่งต่อถึงกัน” เพื่อรณรงค์ให้ทุกคนร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการตั้งกล่องรับบริจาคขยะรีไซเคิล ได้แก่ ขวดพลาสติก ขวดแก้ว ถุงพลาสติก ลังกระดาษ กระดาษรีไซเคิล เพื่อนำไปจำหน่ายและนำรายได้ไปมอบให้แก่มูลนิธิโรงพยาบาลตากสิน เพื่อสมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับอาคารอเนกประสงค์ 23 ชั้น (อาคารใหม่) และมอบรายได้ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ โดยสามารถร่วมบริจาคได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2565 ณ ไอคอนสยาม ถนนเจริญนคร 

นางสุมา วงษ์พันธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด กล่าวว่า  นโยบายของไอคอนสยามให้ความสำคัญในการร่วมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและอยู่คู่เคียงแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างสมศักดิ์ศรีสืบไป  จึงได้ดำเนินพันธกิจต่อสังคม 3 เรื่องหลักอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาโดยรอบ,  การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและส่งเสริมต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนอย่างยั่งยืน และ การสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยอันดีงามที่อยู่คู่กับวิถีคนริมน้ำเจ้าพระยามาช้านาน    โดยล่าสุดจัดทำโครงการเพื่อเดินหน้าให้ทุกคนมาร่วมกันรักษ์สิ่งแวดล้อม กับโครงการ “ขยะเติมสุข เปลี่ยนขยะเป็นความสุขส่งต่อถึงกัน” ขึ้นเพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงความตั้งใจในการร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งตรงกับวันที่ มิถุนายนของทุกปี และเป็นการดำเนินการสอดคล้องตามหลักแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าเกิดของเสียที่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด  

โครงการ “ขยะเติมสุขเปลี่ยนขยะเป็นความสุขส่งต่อถึงกัน” เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของกระบวนการรีไซเคิล โดยการเชิญชวนรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันนำขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ ไม่ว่าจะเป็นขวดพลาสติก ขวดแก้ว ถุงพลาสติก ลังกระดาษ กระดาษรีไซเคิล มาหย่อนลงในตู้ขยะเติมสุข เพื่อให้ทางโครงการได้นำขยะไปคัดแยกอย่างถูกต้อง และเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามนอกจากการคัดแยกขยะเพื่อนำไปรีไซเคิลขยะแล้วนั้น ทางโครงการยังได้นำขยะที่ได้คัดแยกนี้ไปจำหน่ายเพื่อนำรายได้ทั้งหมดสมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับอาคารอเนกประสงค์ 23 ชั้น อีกทั้งไอคอนสยามได้ตั้งเป้าหมายร่วมสมทบเงินเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มอีก 100% จากมูลค่าที่ได้จากยอดบริจาคอีกด้วย” คุณสุมา กล่าวเพิ่มเติม 

สำหรับจุดตั้งกล่องรับบริจาคขยะรีไซเคิล หรือกล่องขยะเติมสุข จะตั้งไว้จำนวน จุดคือ 1. ริเวอร์ พาร์ค บริเวณท่าเรือ  2. บริเวณลิฟต์ Lobby A เมืองสุขสยาม ด้านหลังร้านนารายา 3. บริเวณลิฟต์ Lobby C ชั้น ทางออกลานจอดรถ และ 4. ตรงข้ามร้านอาหาร BONCHON ชั้น 6   สำหรับผู้ที่ประสงค์จะนำขยะรีไซเคิลมาบริจาคเป็นจำนวนมากสามารถติดต่อทีมงานที่ 098-269-5252   

เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทาง BCG Economy Model ไอคอนสยาม  ยังคงได้ดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ 1.Bio Economy หรือเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า 2.เศรษฐกิจหมุนเวียน Circular  Economy การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าเกิดของเสียที่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดหรือ Reduce  หรือนำของเหลือใช้หรือผลิตผลมาใช้ซ้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจหรือ Reuse  และสุดท้าย Recycle นำของใช้แล้วกลับมาผลิตใช้ไหม่เพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด และ 3. Green Economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจทั้งภาคการผลิตและบริการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลักและเพื่อให้ภาคการผลิตและภาคบริการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุดและลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน อาทิ โครงการทำปุ๋ยชีวภาพจากกากกาแฟ สำหรับการบำรุงรักษาต้นไม้ภายในไอคอนสยาม และบริเวณโดยรอบ เพื่อการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า  โครงการถังวนถุง เป็นโครงการ “มือวิเศษ ถังวน” ร่วมกับ พีพีพี พลาสติก (PPP Plastics) นำการเปิดให้ประชาชนนำขยะพลาสติกประเภทยืดมาส่งคืนเพื่อนำกลับไปรีไซเคิล โครงการ “ส่งพลาสติกกลับบ้าน” เพื่อรับขยะพลาสติกที่ผู้บริโภคแยกแล้ว นำมาฝากทิ้งที่จุดบริการรับฝากขยะนี้ เพื่อส่งไปผ่านกระบวนการเปลี่ยนเป็นเส้นใยพลาสติก และเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ และนำไปแปรรูปในโรงงาน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์รีไซเคิลและอัพไซเคิลต่อไป  

นอกจากนี้ ไอคอนสยามยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน รวมถึงการให้ความสำคัญกับการลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่มีประสิทธิภาพสูงและประหยัดพลังงานเพื่อความปลอดภัยและการอนุรักษ์พลังงานที่ยั่งยืน ซึ่งจากความมุ่งมั่นดำเนินการด้านพลังงานทำให้ไอคอนสยาม ได้รับรางวัล Thailand Energy Awards 2020 จาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน รางวัลดีเด่น ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ประจำปี 2563 ประเภท อาคารสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (อาคารใหม่)  

ตลอดจนการส่งเสริมปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร เป็นไปตามเกณฑ์ที่ กฟน.กำหนด  เป็นผลให้ไอคอนสยาม ได้รับรางวัล MEA ENERGY AWARDS 2021 จากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)ภายใต้แนวคิด “คุณภาพอากาศในอาคารดี ดัชนีการใช้พลังงานได้มาตรฐาน” โดยอาคารของไอคอนสยามนั้น ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่ กฟน. กำหนด (MEA Index ไม่เกิน 1.00) โดยมีค่า MEA Index ประเมินได้เท่ากับ 0.966 ซึ่งเป็นอาคารที่มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพอากาศภายในอาคารได้มาตรฐานอยู่ในเกณฑ์ดีและเหมาะสมสำหรับผู้เข้ามาใช้บริการในอาคาร 

                                                            # # # # 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad