กยท. เปิดบ้านต้อนรับประเทศสมาชิก ANRPC 9 ประเทศ ร่วมระดมความเห็นพัฒนาห่วงโซ่อุปทานยางพารา หวังสร้างความยั่งยืนทั้งระบบ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กยท. เปิดบ้านต้อนรับประเทศสมาชิก ANRPC 9 ประเทศ ร่วมระดมความเห็นพัฒนาห่วงโซ่อุปทานยางพารา หวังสร้างความยั่งยืนทั้งระบบ


  เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นเจ้าภาพต้อนรับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสมาชิกสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ 9 ประเทศ ประกอบด้วย บังคลาเทศ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา พม่า และไทย เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและหาแนวทางในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน หวังสร้างความยั่งยืนยางพาราทั้งระบบ
          นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านธุรกิจและปฏิบัติการกล่าวว่า ยางธรรมชาติเป็นวัตถุดิบที่สำคัญและเป็นกลยุทธ์เชิงอุตสาหกรรมที่มีการใช้ในหลายภาคส่วนรวมถึงการขนส่ง การก่อสร้าง การกีฬาการตกแต่ง และของใช้ในครัวเรือน นอกจากนี้ การทำสวนยางยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการสร้างและรักษาพื้นที่สีเขียว อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2555 อุตสาหกรรมยางพาราประสบกับปัญหาด้านราคาทำให้ได้รับผลกระทบจากอุปสงค์และอุปทานวัตถุดิบยางโลกที่ไม่สมดุล ดังนั้น ประเทศสมาชิกสมาคมผู้ผลิตยางธรรมชาติ The Association of Natural Rubber Producing Countries (ANRPC) ทั้ง 13 ประเทศ ได้แก่ บังคลาเทศ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา พม่า จีน เวียดนาม ปาปัวนิกินี สิงคโปร์ และไทย จึงมีความเห็นร่วมกันในการหาแนวทาง รูปแบบ และนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิตยางควบคู่กัน การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ภายใต้หัวข้อ ประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ดำเนินการต่อเนื่องจากปี 2561 ณ จังหวัดสงขลา ซึ่งประเทศสมาชิก ANRPC ให้ความสำคัญและความสนใจอย่างยิ่งต่อกระบวนการพัฒนาตลาดกลางยางพาราและการพัฒนากลุ่มเกษตรกรของไทย นับว่าเป็นต้นแบบที่ดีในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานยางพาราให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
          นายณกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "ในฐานะประเทศเจ้าภาพ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การสัมมนาครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกผู้ผลิตยางธรรมชาติทุกประเทศ ในการร่วมกันหาแนวทาง หรือรูปแบบในการแก้ปัญหาราคายาง และความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานยางธรรมชาติและเสริมสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมยางอย่างยั่งยืนทั้งระบบต่อไป
"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad