"Circular Meal...มื้อนี้เปลี่ยนโลก" ซีพีเอฟ บริหารจัดการอาหารส่วนเกิน ร่วมดูแลเด็กและชุมชน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2564

"Circular Meal...มื้อนี้เปลี่ยนโลก" ซีพีเอฟ บริหารจัดการอาหารส่วนเกิน ร่วมดูแลเด็กและชุมชน

"Circular Meal...มื้อนี้เปลี่ยนโลก"  ซีพีเอฟ บริหารจัดการอาหารส่วนเกิน ร่วมดูแลเด็กและชุมชน

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง  เด็ก ผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้  ฯลฯ  "อาหาร" ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในช่วงนี้ ที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องปากท้อง การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริม
การเข้าถึงอาหารอย่างเพียงพอ  กระจายไปทุกพื้นที่อย่างครอบคลุม  ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสให้กับทุกคน

“Circular Meal…มื้อนี้เปลี่ยนโลก” โครงการที่เกิดจากความร่วมมือของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ  มูลนิธิสโกลาร์ส ออฟ ซัสทีแนนซ์ (ประเทศไทย) หรือ SOS และบริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด หรือ GEPP  นำอาหารส่วนเกินคุณภาพดีทั้ง
วัตถุดิบและอาหารแช่แข็ง ไปส่งมอบให้กับชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อปรุงเป็นมื้ออาหารสำหรับสมาชิกในชุมชน ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย เติมพลังกายและกำลังใจต่อสู้จนกว่าจะผ่านวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ ขณะเดียวกัน ยังมุ่งมั่นปลูกจิตสำนึกรักษ์โลกจากการ
ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด



ที่ผ่านมา ได้มอบอาหารไปแล้วกว่า 7,600 ชุด ให้กับมูลนิธิเด็ก ผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิค 19 จำนวน 6 แห่ง มีสมาชิกกว่า 5,000 คน ประกอบด้วย ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ ชุมชนคลองส้มป่อย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชน
มักกะสัน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนสวนรื่น ศูนย์สร้างโอกาสพระราม 8 และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก เพื่อส่งต่อให้กับชุมชนดวงแข ตรอกสลักหิน  รวมทั้งชุมชนกลุ่มเปราะบางที่มีรายได้น้อยอีก 7 ชุมชน ผ่านการปรุงอาหารจากครัวรักษ์อาหาร ของ SOS เช่น ชุมชนบ้านครัว
เหนือ ชุมชนคลองส้มป่อย ครัววัดแข ครัววัดโสม ครัววัดภาชี โดยมีเป้าหมายส่งมอบอาหาร ตลอดปี 2564 จำนวน 10,000 ชุด

นางชนัญธิดา วุฒิวารี หรือ ครูโบ ห้วหน้าครูอาสาจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนมักกะสัน กล่าวว่า ชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน มีสมาชิกประมาณ 2,000 คน จาก 605 ครัวเรือน เป็นหนึ่งในชุมชนที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูง ได้รับการตรวจจากชมรมแพทย์ชนบทไปแล้ว 2 รอบ
อาหารจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตในแต่ละวัน  อาหารที่ได้รับจากซีพีเอฟ เป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูปพร้อมทาน ซึ่งมีรสชาติดีอยู่แล้วและทานง่าย ทางศูนย์ฯ จะปรุงจากครัวกลางและพยายามจัดสรรอาหารให้กับทุกคนตามปริมาณที่ได้รับบริจาคอย่างเท่าเทียมกัน
โดยให้กับผู้ป่วยติดเตียง ผู้กักตัวเป็นอันดับแรก ด้วยการนำอาหารไปส่งมอบให้ตามบ้าน  

“ชาวชุมชนดีใจมากที่ได้รับอาหาร ซึ่งครั้งนี้ซีพีเอฟให้เป็นไก่ป๊อบ จะทานได้ทุกคน สำหรับบางคนอาหารแบบนี้ คือ เกินกำลังซื้อของเขา จึงเป็นโอกาสของพวกเขาที่ได้รับอาหารดีๆ ที่สำคัญเราต้องมีส่วนช่วยในการดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยการเก็บและล้างถุงใส่อาหารคืนให้
เพื่อนำไปรีไซเคิลให้ถูกวิธีด้วย” ครูโบ กล่าว

ด้านนางเกสรา คลื่นแก้ว หรือ ป้าหนิงของเด็กๆ ในชุมชนคลองส้มป่อย ซึ่งเป็นชุมชนอิสลามใจกลางกรุงเทพฯ กล่าวว่า ตอนนี้สิ่งที่ต้องการมากที่สุดเพื่อให้คนในชุมชนอยู่รอด คือ อาหาร โดยเฉพาะวัตถุดิบ เนื้อไก่ ไข่ไก่ และผัก เพื่อปรุงอาหารและแจกจ่ายให้คนในชุมชน 850
คน ได้รับอาหารอย่างทั่วถึง เนื่องจากมีภารกิจสำคัญต้องดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 รอเข้ารับการรักษาและผู้กักตัวเอง ซึ่งมีจำนวนมาก การส่งอาหารให้คนกลุ่มนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อสนับสนุนการกักตัวโดยไม่ออกจากบ้าน   ไก่คาราเกะ ที่ได้รับจากซีพีเอฟ ปรุงง่าย รสชาติดี
ทานสะดวก ปรุงจากครัวกลางและแจกจ่ายได้อย่างทั่วถึง ถูกใจคนในชุมชนเพราะทานง่าย  

“ช่วงเวลาแบบนี้ ปากท้องเป็นเรื่องสำคัญ การได้รับอาหารบริจาคในแต่ละมื้อ แม้มื้อเดียวก็ช่วยคนในชุมชนได้มาก เราไม่มีงบประมาณมากพอ  จึงอยากได้วัตถุดิบและมาปรุงที่ครัวกลางของเรา เพื่อแจกจ่ายกันอย่างทั่วถึง ซึ่งอาหารกล่องที่ได้รับบริจาคทุกวันนี้ครั้งละ 50-100
กล่อง ไม่เพียงพออยู่แล้ว เราก็ต้องจัดให้กับคนที่มีความจำเป็นมากที่สุด” ป้าหนิง กล่าว

นางสุนันทา สุนทรสมัย หรือ พี่อุ้ย หัวหน้าครัวรักษ์อาหาร เครือข่ายบ้านมั่นคง เขตบางพลัด อีกหนึ่งชุมชนที่ได้รับอาหารบริจาคจากซีพีเอฟ เล่าว่า อาหารบริจาคที่ SOS นำไปให้ ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายของชุมชนในการทำอาหารในแต่ละสัปดาห์ได้มาก ทำให้ชุมชน
สามารถทำอาหารแจกคนในชุมชนได้หลายมื้อ ซึ่งแจกสัปดาห์ละ 4 วันๆ ละ 2 มื้อ และอาหารกล่องอีกวันละ 300 กล่อง เนื่องจากช่วงนี้มีผู้กักตัวและผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น วัตถุดิบที่ได้รับมีหลากหลาย เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง นม ส่วนอาหารที่ชุมชนต้องการคือ ข้าว เนื้อสัตว์
และไข่ไก่ ซึ่งจิตอาสาของชุมชนจะใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารในเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน


“หลายคนพูดกับพี่อุ้ยว่า ถ้าไม่ใช่คนในชุมชน ไม่รู้ว่าจะมีกินแบบนี้ไหม ซึ่งคนตกงานและขาดรายได้จะเพิ่มขึ้นอีกเยอะ วัตถุดิบที่ได้รับมาช่วยคนในชุมชนประหยัดค่าอาหารในแต่ละมื้อและนำเงินไปใช้ในเรื่องที่จำเป็นกว่าได้” นางสุนันทา กล่าว

นางสาวธนาภรณ์ อ้อยอิสรานุกุล ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ SOS เล่าว่า อาหารที่ได้รับจากซีพีเอฟส่วนใหญ่เป็นอาหารแช่แข็ง ซึ่งมูลนิธิฯ จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารตรวจสอบคุณภาพทุกครั้ง พร้อมแนะนำวิธีการเก็บรักษาและวิธีการปรุงอย่างถูกต้องและถูกหลักอนามัยให้กับ
ชุมชน เพื่อส่งมอบมื้ออาหารปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการให้กับคนในชุมชน  ในแต่ละครั้งที่ได้รับอาหาร มูลนิธิฯ จะวางแผนทันทีและจัดสรรวัตถุดิบอย่างเหมาะสมเพื่อให้เพียงพอกับจำนวนคนในชุมชน หรือปรุงเป็นอาหารกล่องผ่าน “ครัวรักษ์อาหาร” ของมูลนิธิฯ
หรือครัวกลางของชุมชน และนำไปแจกจ่ายอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ได้ขอความร่วมมือจากชุมชนช่วยทำความสะอาดและแยกบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำไปจัดการต่อไม่ให้เกิดเป็นขยะหรือสร้างมลพิษกับสิ่งแวดล้อม ตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ

“โควิด 19 ทำให้คนจนเฉียบพลัน อาหารที่มูลนิธิฯ เคยส่งมอบให้ชุมชนหนึ่งสำหรับ 50 คน ตอนนี้เพิ่มเป็น 200-300 คน ทำให้อาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยิ่งวิกฤตในปัจจุบันมีชุมชนติดต่อขอรับอาหารมากขึ้น อาหารที่ได้รับบริจาคเหล่านี้ช่วยแบ่งเบาภาระค่าอาหาร
ของพวกเขาได้มาก โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ส่งเสริมอาหารให้กับผู้ขาดแคลน” นางสาวธนาภรณ์ กล่าว

"Circular Meal...มื้อนี้เปลี่ยนโลก" อีกหนึ่งโครงการที่ซีพีเอฟในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหาร มุ่งมั่นมีส่วนร่วมรับผิดชอบและช่วยดูแลสังคม ด้วยการบริหารจัดการอาหารส่วนเกินให้เกิดประโยชน์สูงสุด  นอกจากนี้  ในช่วงวิกฤตโควิด-19  ตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบันซีพี
เอฟเดินหน้าส่งมอบอาหารให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และพี่น้องคนไทยแล้วเป็นจำนวนหลายล้านแพ็ค น้ำดื่มและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพหลายล้านขวด ตลอดจนสนับสนุนวัตถุดิบอาหารสดและเครื่องปรุงรสต่างๆ ให้โรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนาม ศูนย์บริการฉีดวัคซีน
จุดตรวจโควิดเชิงรุก และหน่วยงานต่าง ๆ มากกว่า 500 แห่งทั่วประเทศ./  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad