สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ประกาศลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ เพื่อพัฒนาการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ประกาศลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ เพื่อพัฒนาการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้


สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ประกาศลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ เพื่อพัฒนาการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้

โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้จะพัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) และมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์

บรรยายภาพ นางดีพาลี คานนา รองประธานประจำภูมิภาคเอเชีย มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ จากขวา (ที่ 2 จากขวา ) นางนาตาลี แพคควิน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (ที่ จากขวา)  ศาสตราจารย์ คาซูโอะ ยามาโมโตะ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) (ที่ จากซ้าย) และ ศาสตราจารย์ โชบลาการ์ ดากาล รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) (ที่ 1 จากซ้ายร่วมลงนามข้อตกลงร่วมกันภายในงาน

กรุงเทพฯ23 พฤษภาคม 2566 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) และมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ประกาศร่วมลงนามข้อตกลง (MoU) เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างทั้งสององค์กร โดยมีนางนาตาลี แพคควิน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์, นางดีพาลี คานนา รองประธานประจำภูมิภาคเอเชีย มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และศาสตราจารย์คาซูโอะ ยามาโมโตะ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีเอเชีย เข้าร่วมเป็นผู้ลงนามภายในงาน 

โดยความร่วมมือในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันเทคโนโลยีเอเชีย (AIT) และมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ในสาขาที่มีความสนใจร่วมกันในภูมิภาค เช่น ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ การเร่งการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานอย่างยั่งยืน สุขภาพ การเกษตร และการส่งเสริมอำนาจทางเพศ ซึ่งขณะนี้องค์กรทั้งสองอยู่ในช่วงดำเนินการวางแผนการวิจัยในประเด็นข้างต้นร่วมกัน

เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมลงนามข้อตกลง (MoU) กับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ในครั้งนี้ ที่จะช่วยให้เราสามารถทํางานร่วมกันและนำประโยชน์จากจุดแข็งในด้านการศึกษาการวิจัยและการสร้างความสามารถขององค์กรทั้งสอง โดยเรามุ่งมั่นที่จะช่วยพัฒนาสร้างโซลูชันที่ยั่งยืน และมีส่วนร่วมในการนำไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาของภูมิภาคในครั้งนี้" ศาสตราจารย์คาซูโอะ ยามาโมโตะ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีเอเชีย กล่าว

มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการแก้ปัญหา ด้านความคิด และการสนทนาที่ก้าวหน้าเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติ เรายินดีที่จะให้ความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีเอเชีย (AIT) เพื่อค้นหาโซลูชันสมัยใหม่ เพื่อตอบสนองความท้าทายในการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย” นางดีพาลี คานนา รองประธานประจำภูมิภาคเอเชีย มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ กล่าว

มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์มีความสัมพันธ์ที่ยาวนานในประเทศไทยนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2460 เมื่อริเริ่มเปิดตัวโครงการต่อต้านโรคพยาธิปากขอ และช่วยริเริ่มการก่อตั้งกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย

นอกจากนี้ มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ยังได้ร่วมมือกับรัฐบาลไทยตั้งแต่ปี 2460 ไปจนถึงปี 2477 เพื่อจัดตั้งการศึกษาด้านการแพทย์และพยาบาลในประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุล ยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และตั้งแต่ปี 2533 มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ได้ให้การสนับสนุนมากกว่า 36 โครงการที่มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมอบทุนกว่า ร้อยล้านบาท (ประมาณ 8.8 ล้านดอลลาร์ในด้านการเกษตร สุขภาพ และโภชนาการ

ปัจจุบัน มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์เข้าสู่การเฉลิมฉลองครบรอบการก่อตั้ง 110 ปีในเดือนพฤษภาคมนี้

###

เกี่ยวกับสถาบัน AIT

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เป็นสถาบันนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษา ที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2502 เพื่อช่วยตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของภูมิภาคสําหรับการเรียนรู้ระดับสูง ในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการจัดการ รวมถึงการวิจัยและการสร้างความสามารถ โดยภารกิจหลักของสถาบันเทคโนโลยีเอเชีย (AIT) คือการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะระดับสูงและมุ่งมั่นที่จะมีบทบาทสําคัญในการพัฒนาภูมิภาคและการอยู่ร่วมกันที่นำไปสู่เศรษฐกิจโลกอย่างยั่งยืน

 

 

เกี่ยวกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์

มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (The Rockefeller Foundation) เป็นผู้นำองค์กรการกุศลที่สร้างขึ้นบนความร่วมมือ ผู้เชี่ยวชาญแนวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับให้ทุก ๆ คน ครอบครัว และชุมชนสามารถเจริญเติบโตได้ เรามีพันธกิจที่จะช่วยส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ และทําให้โอกาสสำหรับทุกคนเปิดกว้างมากยิ่งขึ้นและมีความยั่งยืน เรามุ่งเน้นที่จะขยายพลังงานหมุนเวียนสําหรับทุกคน กระตุ้นความคล่องตัวของฐานะทางเศรษฐกิจ (Economic Mobility) และสร้างความมั่นใจในการเข้าถึงการดูแลสุขภาพ และอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างเท่าเทียมกัน สําหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถลงทะเบียน เพื่อรับจดหมายข่าวสารที่ rockefellerfoundation.org และติดตามบนช่องทาง Twitter @RockefellerFdn

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad