กว่าจะเป็นคอลเลกชันพิเศษสุดสร้างสรรค์ของ “ผู้ประกอบการหญิง” ในโครงการ Women Made โดย Sea (ประเทศไทย) - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

กว่าจะเป็นคอลเลกชันพิเศษสุดสร้างสรรค์ของ “ผู้ประกอบการหญิง” ในโครงการ Women Made โดย Sea (ประเทศไทย)

  

     กว่าจะเป็นคอลเลกชันพิเศษสุดสร้างสรรค์ของ                            “ผู้ประกอบการหญิง”

ในโครงการ Women Made โดย Sea (ประเทศไทย)


ปัจจุบัน เรามักเห็นการก้าวขึ้นสู่แถวหน้าของผู้ประกอบการหญิงในหลากหลายธุรกิจ แต่ขณะเดียวกัน   ก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ไม่ได้เอื้อให้ทุกคนเติบโตได้ตามความตั้งใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทักษะและความรู้ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนตามไม่ทัน กอปรกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่คาดเดาไม่ได้ และที่สำคัญยังขาดการสนับสนุนจากคนรอบข้าง จนทำให้ผู้ประกอบการหญิงเกิดความกลัว ท้อ และหมดความมั่นใจจนล้มเลิกไปในที่สุด

Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ ได้แก่ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และซีมันนี่ (SeaMoney) ได้เล็งเห็นปัญหานี้ของผู้ประกอบการหญิงกว่า 70% ในประเทศไทยขาดความมั่นใจและกลัวความล้มเหลว ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตทางธุรกิจและการสร้างนวัตกรรมในธุรกิจของตน จึงได้จับมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์ จัดทำโครงการ Women Made เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการหญิงเปิดใจเอาชนะความกลัว ก้าวข้ามอุปสรรคเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้อย่างเต็มศักยภาพ และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีทางสังคมผ่านธุรกิจของตน

คุณนก-มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) ได้เล่าว่าถึงจุดเริ่มต้นของโครงการ Women Made ว่า “โครงการ Women Made เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2022 เปรียบเสมือนพื้นที่การเรียนรู้และสนามทดลองให้ผู้ประกอบการผู้หญิงได้ลงมือทำอะไรใหม่ ๆ เพื่อต่อยอดธุรกิจ ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อยอดธุรกิจและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ โดยมีเป้าหมายที่จะนำธุรกิจไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ในแบบที่ไม่ต้องกลัวความผิดพลาด”

โครงการ Women Made ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการหญิงในประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยมีผู้สมัครร่วมโครงการกว่า 100 แบรนด์ ต้องผ่านคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการอย่างเข้มข้นด้วย 3 ข้อหลัก คือ 1. Business Performance: มีประสบการณ์การขายสินค้าหรือทำธุรกิจและสินค้ามีความโดดเด่น 2. Online Scale Potential: ธุรกิจมีศักยภาพในการเติบโตบนโลกออนไลน์ 3. Social Impact: ธุรกิจมีความตั้งใจและเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม จนได้ผู้ร่วมโครงการทั้ง 10 แบรนด์

และเมื่อผ่านการคัดเลือกแล้ว ทั้ง 10 แบรนด์ได้เข้าร่วมอบรมมาสเตอร์คลาสพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำทั้งด้านการทำธุรกิจออนไลน์ การตลาดและแบรนดิ้ง การออกแบบและต่อยอดผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม โดยได้รับเงินสนับสนุนในการพัฒนาสินค้าแบรนด์ละ 25,000 บาท ซึ่งในระยะเวลา 2 เดือนเต็ม แต่ละแบรนด์ต้องนำความรู้ทางเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาต่อยอดแบรนด์และผลิตภัณฑ์ของตนเอง โดยมีผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายนักสร้างสรรค์คอยให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำตลอดทั้งการดำเนินโครงการ จนได้ผลลัพธ์เป็นผลิตภัณฑ์คอลเลกชันพิเศษที่ผลิตขึ้นเพื่อวางขายจริงบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่างช้อปปี้เมื่อช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา

และนี่เป็นตัวอย่างของผู้ประกอบการหญิงในโครงการ Women Made ที่ผ่านการอบรมจนได้ผลงานสุดสร้างสรรค์ มาวางจำหน่ายในช้อปปี้และได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี


ภญ.ชัญญานุช พันธุ์ประเสริฐ เจ้าของ      แบรนด์ Mediherbtea จำหน่ายชาจากดอกไม้ เล่าว่า “การได้เข้าร่วมโครงการนี้จึงมีประโยชน์อย่างมาก เพราะเราได้ผู้เชี่ยวชาญและนักสร้างสรรค์มาช่วยให้คำแนะนำในการออกแบบผลิตภัณฑ์ แพคเกจ โลโก้ กอปรกับการได้เรียนรู้เรื่องการขายออนไลน์มากขึ้น ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์ความพิเศษของสินค้าเราได้แตกต่างไปจากเดิม โดยเราได้รังสรรค์รสชาติใหม่เพื่อโครงการนี้โดยเฉพาะ โดยผสมผสานความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้ด้านแพทย์ทางเลือก ประกอบไปด้วยชาเบลนด์ 3 สี 3 รสชาติ ที่สามารถดื่มได้ตั้งแต่เช้าถึงเย็น ทำจากธรรมชาติ 100% ปราศจากคาเฟอีน น้ำตาลและสีสังเคราะห์ เหมาะสำหรับการบำบัดร่างกายและจิตใจของผู้ดื่มในทุกวัน ซึ่งการได้ขายในช้อปปี้ทำให้มียอดการสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น และมีการกลับมาซื้อซ้ำ ทั้งยังนำไปเป็นของฝากตามโอกาสต่างๆ ด้วย ซึ่งโครงการนี้เป็นการทำให้เห็นว่ายังมีศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวเอง ฉะนั้นถ้าเราขวนขวายหาโอกาสเรื่อยๆ ไม่หยุดที่จะพัฒนาตัวเอง สักวันโอกาสจะเป็นของเราค่ะ”


คุณชลธิชา ทองบริสุทธิ์แท้ เจ้าของแบรนด์ Ales Thailand จำหน่ายสกินแคร์ดูแลผิว เล่าว่า “การเข้าร่วมโครงการนี้ทำให้ได้เรียนรู้ด้านการทำตลาดออนไลน์มากขึ้น เพราะปกติวางขายออฟไลน์เป็นหลัก โครงการนี้เป็นการสร้างความมั่นใจในเรื่องการทำธุรกิจมากขึ้น เปิดโอกาสและช่วยผลักดันผู้ประกอบการเล็กๆที่ไม่มีประสบการณ์ทำธุรกิจมาก โดยได้วิทยากรที่มีประสบการณ์ตรงมาคอยช่วยแนะนำ ให้ความรู้เรา ทำให้เราทำธุรกิจได้อย่างมั่นใจ มีมุมมองในการทำธุรกิจได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น สอนให้เราสามารถคิดและวางแผนต่อยอดในการทำธุรกิจต่อไปในอนาคต ทำให้ตอนนี้มียอดการติดตามเพิ่มขึ้น ยอดการสั่งซื้อออนไลน์ก็เพิ่มขึ้นมากค่ะ”


คุณอัมภานุช บุพไชย เจ้าของแบรนด์ทันจิตต์ จำหน่ายขนม ตะแกรงเผือกกรอบ เล่าว่า “การได้เรียนรู้เรื่องการทำตลาดออนไลน์จากโครงการนี้ ทำให้เรารู้จักการวัดผลของการขาย การทำคอนเทนต์ รวมถึงการออกแบบหน้าร้านให้น่าสนใจ เนื่องจากเราได้ร่วมงานกับนักสร้างสรรค์ และมีวิทยากรให้ความรู้ ทำให้    แบรนด์ดิ้งของสินค้าชัดเจนมากขึ้น แม้ว่าผลิตภัณฑ์ขนมทันจิตต์จะมีมากว่า 40 ปี แต่เราเพิ่งจะเริ่มวางจำหน่ายทางออนไลน์ ซึ่งก่อนหน้านี้เราไม่มั่นใจในสินค้าของเราว่าจะถูกใจผู้บริโภคหรือเปล่า แต่เมื่อได้ร่วมโครงการทำให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น เพราะผลิตภัณฑ์ของเราแตกต่างจากเผือกฉาบทั่วไป มีความพิเศษ สวย แปลกใหม่ และมีหลายรูปแบบ ได้แก่ เผือกกรอบรูปตะแกรง เผือกกรอบแบบเส้น เผือกแท่งอบกรอบสูตร Vegan / มังสวิรัติ ดังนั้นการขายบนออนไลน์จึงทำให้คนรู้จักสินค้าเรามากขึ้น ส่งผลให้ยอดการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาเกือบ 100% ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา”

“จากความสำเร็จครั้งนี้ ทาง Sea (ประเทศไทย) รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างความมั่นใจให้กลุ่มผู้ประกอบการหญิงในประเทศไทยในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้สินค้าและบริการของตนเอง และใช้เทคโนโลยีในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจและความยั่งยืนทางสังคม ทั้งยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถจุดไฟแรงบันดาลใจและส่งต่อความรู้ เพื่อเสริมความมั่นใจและสนับสนุนผู้ประกอบการหญิงให้ประสบความสำเร็จได้ เพราะเราเชื่อว่าผู้หญิงมีพลังและจะเป็นแรงสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต” คุณมณีรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad