แอร์พอร์ตลิงก์เซททีมส่งไม้ต่อ3 สนามบิน -จัดงบปีละ400ล. ซ่อมรถ9 ขบวน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

แอร์พอร์ตลิงก์เซททีมส่งไม้ต่อ3 สนามบิน -จัดงบปีละ400ล. ซ่อมรถ9 ขบวน

แอร์พอร์ตลิงก์เซททีมส่งไม้ต่อ3 สนามบิน -จัดงบปีละ400ล. ซ่อมรถ9 ขบวน




แอร์พอร์ลิงก์ เซททีมครูฝึก 100 คน แยกเรียนรู้ระบบรถไฟฟ้าญี่ปุ่นเตรียมเดินรถสีแดง และถ่ายทอดความรู้ก่อนโอนให้เอกชน 3 สนาม ยอมรับสุดหิน ช่วงเปลี่ยนผ่าน 2 ปี ส่งต่อรถ 9 ขบวน จัดงบปีละ400ล.ดูแลสภาพรถ
นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล  ลิงก์ เปิดเผยว่า ในปี 2562 และ 2563 จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่บริษัทฯ จะต้องเตรียมความพร้อมในการยกระดับบริษัท ไปเป็นผู้บริหารการเดินรถไฟสายสีแดง ในขณะเดียวกัน จะมีการส่งต่อการบริหารเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์. ให้กับเอกชนผู้บริหารโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินโดยบริษัทฯจะต้องทำหน้าที่ในการบริหารการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์อย่างน้อย ไปจนถึงเดือนธ.ค.2563



ทั้งนี้ ในช่วง2 ปีนี้ จะต้องเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรสำหรับการเดินรถสายสีแดง จำนวน 52 คน ซึ่งในเดือนเม.ย.-ก.ย.2562 จะส่งครูฝึก ด้านการเดินรถและซ่อมบำรุง จำนวน 52 คน ไปเรียนรู้เทคโนโลยี ระบบรถไฟฟ้าญี่ปุ่น ตามสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้า เครื่องกล และจัดหาตู้รถไฟฟ้า เพื่อให้ทำหน้าที่ถ่ายทอดและฝึกอบรมพนักงานฯ ได้ก่อนเปิดสายสีแดงในปี 2564 ในขณะเดียวกัน จะต้องเตรียมครูฝึก อีก 40 คน เพื่อถ่ายทอดความรู้ในการบริหารการเดินรถแอร์พอร์ลิงก์แก่ เอกชนผู้บริหารรถไฟเชื่อม3 สนามบิน 
ปัจจุบัน รถทั้ง9 ขบวน สามารถให้บริการได้ หลังดำเนินงานซ่อมบำรุงใหญ่ ( Overhaul ) เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2562 ซึ่งจะเพิ่มความถี่ในการเดินรถจาก 10 นาทีเป็น 8.30 นาที ในเดือนเม.ย. นี้ จะเพิ่มการรองรับผู้โดยสาร ซึ่งรถ9 ขบวนมีขีดความสามารถที่ 9 หมื่นคน/วัน ซึ่งจะเต็มขีดความสามารถใน 1ปี -1 ปีครึ่ง ปัจจุบันมีปริมาณผู้โดยสารที่เฉลี่ย 8 หมื่นคน/วัน ตั้งเป้า เติบโตปี2562 ที่ 6% หรือมีผู้โดยสารรวมที่ 25 ล้านคน เติบโตจากปีก่อนที่มี 23.7 ล้านคน 
สำหรับขบวนรถนั้น ปัจจุบันมีระยะวิ่งที่ 2.4 ล้านกม. ซึ่งมีกำหนดที่จะต้อง Overhaul อีกครั้งที่ระยะ 3.6 ล้านกม. โดยประเมินจากค่าเฉลี่ยการวิ่งที่ ประมาณ 600 กม./วัน จะครบในอีก 4 ปี ข้างหน้า และจะต้องมีการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ในช่วงการใช้งานปีที่15 อีกด้วย โดยทั่วไป รถไฟฟ้าจะมีอายุการใช้งานถึง 30 ปี ซึ่งเป็นหน้าที่ของเอกชน 3 สนามบิน โดยหลังการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ลงนามสัญญา เอกชนจะต้องวางแผนเรื่องการดำเนินการซ่อมบำรุง เพราะการจัดหาอะไหล่ต้องดำเนินการล่วงหน้า รวมถึงแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถ เช่น การจัดหารถเพิ่ม การปรับปรุงตู้สัมภาระ เป็นต้น 
โดย ปี62 รฟท.จ่ายค่าจ้างให้บริษัทฯในการเดินรถแอร์พอร์เรลลิงก์ประมาณ 320 ล้านบาท และค่าซ่อมบำรุงและจัดซื้ออะไหล่ ประมาณ 400 ล้านบาท ขณะที่มีรายได้จากค่าโดยสารประมาณ 740 ล้านบาท จากพื้นที่เชิงพาณิชย์ 30 ล้านบาท 
“บริษัทฯได้ทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินขบวนรถและการสต๊อกอะไหล่ ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 3-4 ปีนี้ วงเงินค่าจ้างกว่า 10 ล้านบาท เพื่อให้รถมีสภาพสมบูรณ์ในการบริการและสำหรับส่งมอบ ถือเป็นช่วงที่ยาก และท้าทายเพราะต้องเรียนรู้และให้บริการเดินรถไม่ให้มีปัญหาด้วย”
ส่วนการบริหารงานรถไฟฟ้าสายสีแดงบริษัทได้ตั้งคณะทำงานทำแผนงานและ เตรียมความพร้อม ทุกด้านต่างๆ  ให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งจะปรับจากการรับจ้างเดินรถ เป็นบริหารรายได้ค่าโดยสารและเชิงพาณิชย์ ซึ่งสายสีแดงมี 13 สถานี บริษัทฯ จะได้บริหารพื้นที่ 10 สถานี ยกเว้น บางซื่อ ดอนเมือง รังสิตที่ รฟท.จะบริหารเอง
สำหรับ การติดตั้งราวกั้นสแตนเลสบนชั้นชานชาลาใน 7 สถานี ครบในเดือนนี้ , สร้างบันไดเลื่อนระหว่างชั้นจำหน่ายตั๋ว และชั้นทางเดินเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีพญาไท ซึ่งเป็นตัวที่ 140 เสร็จพ.ค.นี้ ,เร่งติดตั้งหัวอ่าน พัฒนาซอฟต์แวร์ระบบตั๋วร่วม เพื่อรองรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เวอร์ชั่น 2.5 และบัตรแมงมุมในพ.ค.2562

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad