เกษตรไทยผนึกกำลังอาเซียน แสดงจุดยืนสร้างความมั่นใจด้านความมั่นคงด้านอาหาร และการปรับตัวฟื้นวิกฤตโควิด-19 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563

เกษตรไทยผนึกกำลังอาเซียน แสดงจุดยืนสร้างความมั่นใจด้านความมั่นคงด้านอาหาร และการปรับตัวฟื้นวิกฤตโควิด-19


นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา รัฐมนตรีเกษตรอาเซียน 10 ประเทศ (อาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้) ได้ร่วมรับรองถ้อยแถลงว่าด้วยการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เพื่อสร้างความมั่นใจถึงความมั่นคงด้านอาหาร ความปลอดภัยด้านอาหารและคุณค่าทางโภชนาการในอาเซียนว่า อาเซียนจะเร่งผลักดันการดำเนินการตามกลไกที่มีอยู่แล้วภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าประชากรในอาเซียนจะมีอาหารเพียงพอต่อการดำรงชีวิต เป็นอาหารที่ปลอดภัย และมีคุณค่าทางอาหารที่เหมาะสมท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยจะดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่ามีการสำรองข้าวฉุกเฉินที่เพียงพอ การมีข้อมูลการตลาดที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผ่านการดำเนินงานของสำนักเลขานุการระบบข้อมูลสารสนเทศความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคอาเซียน (AFSIS) และองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม (APTERR) รวมทั้งประเมินสถานการณ์และคาดการณ์สถานการณ์อาหารของภูมิภาคอาเซียนและของโลก ทั้งด้านการค้า ราคา คุณภาพ และปริมาณสำรองของอาหารพื้นฐาน เช่น ข้าว ข้าวโพด และน้ำตาล เป็นต้น โดยมีคณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียน (AFSRB) ร่วมกับ AFSIS และ APTERR และประสานงานกับคณะทำงานที่เกี่ยวข้องด้านอาหาร พืช ปศุสัตว์ ประมง และป่าไม้ และส่งเสริมการอำนวยความสะดวก การดำเนินการตามนโยบายด้านความปลอดภัยอาหารของอาเซียน และกรอบการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยอาหารของอาเซียน

ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 ณ นครดานัง ประเทศเวียดนาม ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 26 ได้ร่วมประกาศ “ถ้อยแถลงการส่งเสริมความร่วมมือของอาเซียนเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19” อาทิ การรักษาตลาดอาเซียนที่เปิดกว้างสำหรับการค้าและการลงทุน การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและการค้าดิจิทัลเพื่อเอื้อภาคธุรกิจ การเสริมสร้างความยืดหยุ่นและยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทาน และเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2563 ในการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี) สมัยพิเศษ ว่าด้วยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านระบบการประชุมทางไกล อาเซียนได้เห็นชอบร่างฯ 2 ฉบับ ได้แก่ “ร่างปฏิญญาของการประชุมสุดยอดอาเซียน สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน +3 สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อร่วมกันส่งเสริมความร่วมมือและการสนับสนุนซึ่งกันและกันในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการเตรียมความพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและด้านอื่น ๆ ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยพร้อมจะร่วมมือกับนานาประเทศในอาเซียน พลิกวิกฤตจากการระบาดของโควิด-19 ให้เป็นโอกาส และต้องเร่งปรับตัวในทุกด้านเพื่อให้มีความยืดหยุ่นและเข้มแข็ง พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad