ปลากระป๋องติดลบในรอบ 30 ปี สามแม่ครัว-โรซ่า-ปุ้มปุ้ยฝ่าวิกฤต 9 พันล้าน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562

ปลากระป๋องติดลบในรอบ 30 ปี สามแม่ครัว-โรซ่า-ปุ้มปุ้ยฝ่าวิกฤต 9 พันล้าน

ปลากระป๋องติดลบในรอบ 30 ปี สามแม่ครัว-โรซ่า-ปุ้มปุ้ยฝ่าวิกฤต 9 พันล้าน

ผู้ประกอบการพลิกเกมการตลาด ดิ้นหาทางรอด ตลาดปลากระป๋องชะลอตัว ผลพวงพิษเศรษฐกิจ บวกวัตถุดิบปลาขาดตลาด ยักษ์ “สามแม่ครัว โรซ่า ปุ้มปุ้ย” ดิ้นแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มช่องทางออนไลน์-ออฟไลน์ เจาะผู้บริโภครุ่นใหม่ หวังกระตุ้นยอดขายให้เติบโต
ปัจจุบันภาพรวมตลาดปลากระป๋องมูลค่ากว่า 8-9 พันล้านบาทมีการเติบโตชะลอตัว จากปกติตลาดจะสามารถเติบโตเฉลี่ยปีละ7-8% ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาขยายได้แค่ 2-3% ก่อนที่จะติดลบในปี 2560 ซึ่งถือว่าวิกฤตหนักครั้งแรกในรอบ 30 ปี จากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบในแง่กำลังซื้อและทำให้ผู้บริโภคลดการจับจ่าย ผนวกกับปัญหาการขาดแคลนปลา ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก ทำให้ตลาดต้องเร่งปรับตัวหันไปสร้างเซ็กเมนต์ใหม่ เพื่อเสริมแกร่งธุรกิจในอนาคต
ตลาดปลากระป๋องในช่องทางโมเดิร์นเทรด พบว่าปัจจุบันมีปลากระป๋องวางจำหน่ายมากกว่า 10 แบรนด์ อาทิ สามแม่ครัว โรซ่า ปุ้มปุ้ย ซูเปอร์ซีเชฟ สยามยิ้ม Mica Top อะยัม ไฮคิว ซีคราวน์ นกพิราบ ซีเล็ค ซื่อสัตย์ แม็กกาเรต โดยมีราคาเริ่มต้น 11-17 บาท พบว่าตลาดมีการแข่งขันเรื่องของการอัดโปรโมชั่น ซื้อ 1 แถม 1 ที่จุดขาย
รวมถึงเน้นสื่อสารหลากหลายช่องทางเพื่อเข้าถึงผู้บริโภค อาทิ โฆษณาทีวี และสื่อออฟไลน์อย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันภาพรวมตลาดปลากระป๋องมูลค่ากว่า 8-9 พันล้านบาทมีการเติบโตชะลอตัว จากปกติตลาดจะสามารถเติบโตเฉลี่ยปีละ7-8% ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาขยายได้แค่ 2-3% ก่อนที่จะติดลบในปี 2560 ซึ่งถือว่าวิกฤตหนักครั้งแรกในรอบ 30 ปี จากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบในแง่กำลังซื้อและทำให้ผู้บริโภคลดการจับจ่าย ผนวกกับปัญหาการขาดแคลนปลา ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก ทำให้ตลาดต้องเร่งปรับตัวหันไปสร้างเซ็กเมนต์ใหม่ เพื่อเสริมแกร่งธุรกิจในอนาคต
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” ได้สำรวจตลาดปลากระป๋องในช่องทางโมเดิร์นเทรด พบว่าปัจจุบันมีปลากระป๋องวางจำหน่ายมากกว่า 10 แบรนด์ อาทิ สามแม่ครัว โรซ่า ปุ้มปุ้ย ซูเปอร์ซีเชฟ สยามยิ้ม Mica Top อะยัม ไฮคิว ซีคราวน์ นกพิราบ ซีเล็ค ซื่อสัตย์ แม็กกาเรต โดยมีราคาเริ่มต้น 11-17 บาท พบว่าตลาดมีการแข่งขันเรื่องของการอัดโปรโมชั่น ซื้อ 1 แถม 1 ที่จุดขาย
รวมถึงเน้นสื่อสารหลากหลายช่องทางเพื่อเข้าถึงผู้บริโภค อาทิ โฆษณาทีวี และสื่อออฟไลน์อย่างต่อเนื่อง
สามแม่ครัวลุยตลาดโลก

นายเกรียงสิน เต็มสุนทร ผู้ช่วยผู้จัดการ บริษัท รอแยลฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายปลากระป๋องตรา “สามแม่ครัว” เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันตลาดปลากระป๋องยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัว และปีนี้วัตถุดิบหลักในการผลิต ปลาแมกเคอเรลขาดแคลน บวกกับบริษัทเน้นวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ไซซ์ และขนาดเท่ากัน จึงทำให้ขาดแคลนมากขึ้น
เนื่องจากวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในปีที่ผ่านมา บริษัทต้องหันมาเน้นเพิ่มกำลังการผลิตปลาซาร์ดีนแทน ถือเป็นการแก้ไขปัญหาส่วนหนึ่ง แม้ว่าความนิยมของตลาด ผู้บริโภคจะนิยมปลาแมกเคอเรลในซอสมะเขือเทศมากกว่าก็ตาม
จากแนวทางดังกล่าว บริษัทจึงวางแผนปั้นแบรนด์สามแม่ครัวส่งออกสู่ตลาดโลก โดยเน้นผลิตภัณฑ์กลุ่มซอสมะเขือเทศเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันมีการจำหน่ายออกไปในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ เมียนมา เวียดนาม กัมพูชา โดยตั้งเป้าหมายไว้ภายใน 5 ปีจากนี้ สัดส่วนรายได้ต่างประเทศจะเพิ่มเป็น 20-30% จากรายได้รวมทั้งหมด ขณะที่ปัจจุบันยอดขายต่างประเทศอยู่ที่ 10% และในประเทศ 90%
ทิศทางจากนี้ไปมุ่งวางแผนนำ
“สามแม่ครัว” ขยายการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เพื่อรองรับเทรนด์ผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ รวมทั้งได้แตกไลน์ผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องในกลุ่มเมนูพิเศษมากขึ้น จากเดิมที่มีจำหน่ายมากกว่า 10 เมนู อาทิ ฉู่ฉี่ คั่วกลิ้ง มัสมั่น และน้ำพริก ในราคากระป๋องละ 22 บาท เพื่อขยายฐานผู้บริโภครุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์เร่งรีบ และที่ผ่านมาถือว่าได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค
ปุ้มปุ้ย ลอนช์ผลิตภัณฑ์ใหม่
นายไกรฤทธิ์ โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตปลากระป๋อง “ปุ้มปุ้ย” และ “ปลายิ้ม” เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันภาพรวมของตลาดปลากระป๋อง (ในซอสมะเขือเทศ) ที่มีมูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท มีแนวโน้มชะลอตัว โดยมีอัตราการเติบโตเพียง 1-2% จากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบในแง่กำลังซื้อและทำให้ผู้บริโภคลดการจับจ่าย และตลาดก็มีการแข่งขันค่อนข้างสูง จากผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้ามาในตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะแบรนด์ของผู้ประกอบการรายย่อยที่เน้นการตัดราคาอย่างรุนแรง
สำหรับแนวทางการดำเนินงานของบริษัท เพื่อให้สอดรับกับสภาพตลาดที่เกิดขึ้น บริษัทจะยังคงให้ความสำคัญกับการแข่งขันด้วยคุณภาพและราคาที่ได้มาตรฐาน ควบคู่กับการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ นอกจากผลิตภัณฑ์ปลากระป๋อง ล่าสุด บริษัทได้ส่งผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานสำเร็จรูป ตราปุ้มปุ้ย ภายใต้คอนเซ็ป “Smilimg Meal” เบื้องต้นมี 8 เมนู อาทิ คั่วกลิ้งไก่ ผัดกะเพราไก่ แกงมัสมั่นไก่ เป็นต้น ราคาซองละ 30 บาท วางจำหน่ายผ่านซูเปอร์มาร์เก็ต เจาะกลุ่มแม่บ้านยุคใหม่ที่ใช้เวลาเร่งรีบ
นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์น้ำแกงพร้อมปรุง เพื่อรองรับความต้องการของตลาดในแถบยุโรป ที่มีความชื่นชอบอาหารไทย ซึ่งจะนำผลิตภัณฑ์ไปประชาสัมพันธ์ในงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในงาน Anuga 2019 ที่ประเทศเยอรมนี
ส่วนแผนการดำเนินงานในปี 2562 ในแง่ของโปรดักต์ ขณะนี้เตรียมลอนช์ผลิตภัณฑ์ใหม่ สแน็ก แบรนด์ “Smilimg fish” 4 รสชาติ อาทิ หอยลายอบกรอบ ออริจินอลรสกระเทียมอบกรอบ รสสาหร่าย รสต้มยำอบกรอบ ขนาด 30 กรัม จำหน่ายผ่านซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วประเทศ และมีแผนจะจัดกิจกรรมตามจุดขาย และจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการขายตามร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
โรซ่าปรับพอร์ตลดเสี่ยง
นายสุวิทย์ วังพัฒนมงคล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปลากระป๋องและซอสปรุงรสโรซ่า เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในปีที่ผ่านมาถือเป็นปีแรกที่ตลาดปลากระป๋องติดลบถึง 4% เนื่องจากการขาดแคลนปลาซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก และที่ผ่านมาผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนราคาปลาที่เพิ่มถึง 20-30% อาจส่งผลให้มีการปรับราคาปลากระป๋องเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันไปเลือกสินค้าอย่างอื่นทดแทน โดยวัตุดิบหลักมากกว่า 50% นำเข้าจากจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม และเมียนมา
สำหรับ “โรซ่า” เร่งปรับตัวขยายพอร์ตสินค้า ด้วยการพัฒนาสินค้าใหม่มาขายเฉพาะช่องทางออนไลน์เท่านั้น ซึ่งอยู่ในช่วงของการวางแผนทำตลาด โดยที่ผ่านมา “โรซ่า” ทำยอดขายเติบโตกว่า 9% แบ่งเป็นสินค้าหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ ซอส 35% ปลากระป๋อง 55% อาหารแบบซอง และผักกาดดองโรซ่า 10%
อีกทั้งการที่ตลาดปลากระป๋องติดลบ รวมไปถึงสินค้า FMCG เกือบทั้งหมด มีปัจจัยหลักที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันไปซื้อของออนไลน์มากขึ้น ทำให้ตลาดค้าปลีกซบเซาลง และอีกทางเลือกหนึ่งคือ การทำปลากระป๋องให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ต้องเลือกใช้วัตถุดิบที่พรีเมี่ยมเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 นี้ ตลาดปลากระป๋องยังประเมินได้ยาก และบริษัทจะเน้นการทำสปอร์ตมาร์เก็ตติ้งเป็นการสร้างแบรนด์ในแบบของโรซ่า และสร้างสีสันให้กับตลาด ส่วนเรื่องของผลิตภัณฑ์นั้นคือโจทย์ใหญ่ที่ต้องมาวางแผนว่าจะสร้างความแตกต่าง เพื่อผลักดันให้ยอดขายเติบโตขึ้นต่อไปอย่างไร


ที่มา : prachachat.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad