ภัยแล้งกระทบคนเลี้ยงหมู ซื้อน้ำ-เพิ่มต้นทุน เสี่ยงโรคฤดูร้อน-วัตถุดิ บอาหารสัตว์พุ่ง
อากาศร้อน ภัยแล้ง ไม่เพียงส่งผลกับชีวิตความเป็ นอยู่ของผู้คนเท่านั้น สัตว์ก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในหมู สัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อที่ช่ วยระบายความร้อน เมื่อต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ ร้อน อบอ้าว หมูจะแสดงอาการหอบ หายใจถี่
อาการหอบนี้หากเกิดในแม่อุ้มท้ อง จะกระทบถึงการตั้งท้อง ช่วงร้อนจัดจึงเป็นช่วงที่ ในฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ต้องลุ้นว่ าสภาพอากาศจะเพิ่มความเครี ยดจนทำให้แม่หมูเกิดการแท้งเฉี ยบพลันหรือไม่ แล้วจำนวนลูกเสี ยหายแรกคลอดจะมากขึ้นหรือเปล่า ส่วนในหมูขุนอากาศร้ อนและความเครียดทำให้หมูกิ นอาหารน้อยลง อัตราการเจริญเติบโตจะต่ำลง โตไม่สม่ำเสมอ การสร้างภูมิคุ้มกันลดลง หมูอ่อนแอ อัตราเจ็บป่วยมากขึ้น เปอร์เซ็นต์เสียหายเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายทั้งเรื่องค่ าอาหารและค่าเวชภัณฑ์เพื่อการดู แลหมูจึงสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
ขณะที่ปีนี้คาดว่าไทยจะต้องเผชิ ญปัญหาภัยแล้งหนักหนากว่าทุกปี จากรายงานของสถาบันสารสนเทศทรั พยากรน้ำ ที่ระบุว่าปริมาณฝนสะสมในปี 2563 ของไทยมีค่าน้อยกว่าค่าปกติร้ อยละ 4 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ฝนน้อยกว่ าปกติเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน (2562-2563) ส่งผลให้ฤดูแล้งนี้จะมีน้ำไม่ เพียงพอต่อภาคการเกษตร ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งอุ ปสรรคของคนเลี้ยงหมู เพราะหมูเป็นสัตว์ที่บริโภคน้ำ มาก โดยพ่อแม่พันธุ์หมูใช้น้ำเฉลี่ ยวันละ 130 ลิตรต่อตัว ส่วนหมูขุนใช้น้ำเฉลี่ยวันละ 40 ลิตรต่อตัว
วันนี้จึงเห็นเกษตรกรหลายพื้นที่ ต้องซื้อน้ำจากแหล่งอื่นมาใช้ ในฟาร์ม ทั้งสำหรับให้หมูกิน ใช้ทำความสะอาดโรงเรือน และหล่อเลี้ยงระบบทำความเย็นหรื ออีแวป บางพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งอย่ างหนัก ต้องซื้อน้ำทุกวัน ทำให้มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่ มขึ้นอีก
ตัวอย่างเช่น เดิมต้นทุนการใช้น้ำต่อตัวหมูขุ นเคยอยู่ที่ประมาณ 30 บาทต่อตัว ก็เพิ่มขึ้นเป็น 300-600 บาทต่อตัว หรือ 3-6 บาทต่อหมู 1 กิโลกรัม จากค่าน้ำที่ราคาต่อเที่ ยวประมาณ 3,000 บาทต่อน้ำ 1 หมื่นลิตร สำหรับฟาร์มขนาดเล็กใช้น้ำราวๆ 2 เที่ยวต่อวัน ต้นทุนในส่วนนี้จึงเพิ่มขึ้นถึง 6,000 บาทต่อวัน หากเป็นฟาร์มใหญ่ต้องใช้นํ้ ามากขึ้น ต้นทุนก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย
นอกจากนี้ ในฤดูร้อนเกษตรกรยิ่งมีความเสี่ ยงกับการเกิดโรค โดยเฉพาะกลุ่ มอาการของโรคในระบบสืบพันธุ์ และระบบทางเดินหายใจในหมู หรือโรคเพิร์ส (PRRS) ที่พบการระบาดในหลายพื้นที่ในปั จจุบัน โรคนี้ทำให้หมูแท้งลูกในระยะท้ ายๆของการอุ้มท้อง ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปถึงหมู อนุบาลและหมูขุนทำให้อัตราเสี ยหายเพิ่ม เมื่อจำนวนหมูที่สามารถจั บออกขายได้น้อยลง ต้นทุนการเลี้ยงจึงพุ่งสูงขึ้ นเพราะตัวเฉลี่ยต้นทุนลดลง
ขณะเดียวกัน เกษตรกรทั้งประเทศยังต้องร่ วมใจกันยกระดับการเฝ้าระวั งและป้องกันโรค ASF ซึ่งความพยายามที่เข้มแข็งของทุ กคนในวงการหมู ทำให้ไทยเป็นประเทศเดียวที่ ปลอดโรคนี้ แม้จะต้องมีต้นทุนเพิ่มแต่ เกษตรกรก็ยินดี ทำตามมาตรฐานการเลี้ยงและการป้ องกันโรคที่ภาครัฐแนะนำ ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายต้องเพิ่มขึ้ นกว่า 100-200 บาทต่อตัว จากการใช้ยาฆ่าเชื้อพ่นป้องกั นทุกวัน วันละ 2 ครั้ง และมีค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแรงงานเพิ่ม ยิ่งมีโรค PRRS เข้ามาสมทบด้วยแล้ว การป้องกันโรคยิ่งเข้มข้นขึ้น ด้วยการจัดการระบบ Biosecurity เต็มรูปแบบ เน้นการจัดการฟาร์มที่ได้ มาตรฐาน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ต้นทุนเพิ่มอี ก 200-300 บาทต่อตัว
ยังไม่นับอีกหนึ่งอุปสรรคคือ วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ขยั บราคาขึ้นต่อเนื่อง ทั้งกากถั่วเหลือง มันสัมปะหลัง รำข้าว ปลายข้าว ถือเป็นอีกปัจจัยซ้ำเติมต้นทุ นที่ต้องปรับตาม นับเป็นภาระหนักมากสำหรับคนเลี้ ยง จากต้นทุนการลี้ยงหมูขุนเฉลี่ ยไตรมาส 1/2564 ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ประมาณการว่าอยู่ที่ 77.49 บาทต่อกิโลกรัม แต่เกษตรกรกลับขายหมูมีชีวิตหน้ าฟาร์มได้เพียง 79-80 บาทต่อกิโลกรัม และคาดว่าต้นทุนการเลี้ ยงในขณะนี้สูงกว่าตัวเลขที่ สศก.คาดการณ์ไว้แล้ว นั่นเท่ากับว่าคนเลี้ยงหมู แทบไม่มีกำไรเลย
แม้ว่าภาระต่างๆจะถาโถม และปัจจัยรุมเร้าให้ต้นทุนสูงขึ้ น แต่คนเลี้ยงหมูยังคงประคั บประคองอาชีพเดี ยวของพวกเขาเอาไว้ เพื่อให้มีปริมาณหมูสำหรับผู้ บริโภคอย่างเพียงพอ ... สำหรับผู้บริโภคเอง ต้องมีความเข้าใจในวงจรการเลี้ ยงหมู ว่ากว่าจะเป็นเนื้อหมูที่รั บประทานกันนั้น ต้องใช้เวลามากถึงครึ่งปี แน่นอนว่าย่อมมีต้นทุน และเกษตรกรเองก็ต้องทุ่ มเทในการทำอาชีพนี้ เพื่อสร้างอาหารให้กับผู้บริโภค ความต้องการเดียวของพวกเขาคือ ความเข้าใจในกลไกตลาด...ที่ พอจะช่วยให้เกษตรกรมีแรงเลี้ ยงหมูต่อไป./
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น