ฟิทช์ปรับแนวโน้มเครดิต บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล เป็นลบ คงอันดับเครดิตที่ ‘AA+(tha)’ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563

ฟิทช์ปรับแนวโน้มเครดิต บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล เป็นลบ คงอันดับเครดิตที่ ‘AA+(tha)’

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์

(ประเทศไทย) จำกัด ประกาศปรับแนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล
จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC เป็นลบจากมีเสถียรภาพ ในขณะเดียวกัน
ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว ของ PTTGC และอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิของบริษัท
ที่ 'AA+(tha)’
และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น
ที่ 'F1+(tha)’
นอกจากนี้ ฟิทช์ประกาศจัดอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว หุ้นกู้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิชุดใหม่ของ PTTGC มูลค่าไม่เกิน 1.5 หมื่นล้านบาท ที่ระดับ 'AA+(tha)’ เงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้ครั้งนี้จะนำไปใช้สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนด และใช้สำหรับการลงทุน หุ้นกู้ดังกล่าวได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ PTTGC เนื่องจากมีสถานะเท่าเทียมกับหนี้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิของบริษัท
การปรับแนวโน้มเครดิตเป็นลบ
สะท้อนถึงความไม่แน่นอนที่อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อกระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียน
(FFO
Net Leverage) ของ
PTTGC
จะยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า
2 เท่า ในปี 2564
และหลังจากนั้น ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินของ PTTGC ณ สิ้นปี 2563 จะอยู่สูงกว่า
2 เท่า
ซึ่งเป็นระดับที่ไม่สอดคล้องกับอันดับเครดิตปัจจุบันของบริษัท เนื่องจากอุปสงค์
และส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่อ่อนแอ
เนื่องจากสถานะการณ์โคโรนาไวรัส การขาดทุนมูลค่าสต๊อกน้ำมัน
จากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างรวดเร็ว
และค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินจะลดลงมาอยู่ต่ำกว่าระดับ
2 เท่าในปี 2565
เนื่องจากกระแสเงินสดที่ปรับตัวดีขึ้น
จากกำไรที่มากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการขยายกำลังการผลิต และอุปสงค์
และส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ปรับตัวดีขึ้น
หลังจากสถานะการณ์โคโรนาไวรัส และค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนที่ลดลง อย่างไรก็ตาม
อัตราส่วนหนี้สินของ PTTGC อาจยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 2 เท่า
อย่างต่อเนื่อง หากอุปสงค์
และส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมียังคงอยู่ในระดับต่ำ
จากสภาวะเศรษกิจที่อ่อนแอ หลังปี 2564
ซึ่งอาจจำกัดการฟื้นตัวของรายได้อย่างมีนัยสำคัญ
ปัจจัยที่มีผลต่ออันดับเครดิต
กำไรที่คาดว่าจะลดลงในปี
2563:
ฟิทช์คาดว่ากำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย
ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของ PTTGC จะลดลงในปี 2563
ที่ไปอยู่ที่ประมาณ 1.0 – 1.5 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับ 2.5
หมื่นล้านบาทในปี 2562 
ธุรกิจปิโตรเคมีที่อ่อนแอตั้งแต่ปี 2562
และน่าจะยังคงอ่อนแออยู่ในปี 2563
เนื่องจากจากอุปสงค์ที่ลดลงจากสถานะการณ์โคโรนาไวรัส
การเพิ่มขึ้นของอุปทานจากกำลังการผลิตใหม่ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และการขาดทุนมูลค่าสต๊อกน้ำมัน
จากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างรวดเร็วในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563
อย่างไรก็ตามส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี น่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2564 เนื่องจากความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์กลับมาเพิ่มขึ้น แต่ส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี น่าจะยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าในปี 2560 และ 2561 นอกจากนี้ความต้องการที่ลดลงจากผลกระทบของโคโรนาไวรัสจะยังคงกดดันค่าการกลั่นในระยะสั้น ถึงแม้ว่าค่าการกลั่นน่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า
อัตราส่วนหนี้สินจะปรับตัวดีขึ้นในปี
2564:
ถึงแม้ว่าสถานะทางการเงินของ
PTTGC
จะยังคงอ่อนแอในปี
2563
อัตราส่วนหนี้สินของบริษัทน่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2564
ฟิทช์คาดว่าบริษัทน่าจะมีกระแสเงินสดสุทธิ (Free Cash Flow) เป็นบวกในปี 2564
เนื่องจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจาก ค่าการกลั่น และส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ปรับตัวดีขึ้น
ปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นจากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น
และค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ฟิทช์คาดว่า อัตราส่วน FFO Net Leverage จะปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่า 2.5 เท่าในปี 2564 และ 1.7 เท่าในปี 2565 จากระดับ 7.5 เท่าที่คาดการณ์สำหรับปี 2563 ซึ่งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า PTTGC จะดำเนินนโยบายเพื่อรักษาสถานะทางการเงินของบริษัทให้แข็งแกร่ง ซึ่งรวมถึงการปรับลดการจ่ายเงินปันผล รวมถึงการไม่ลงทุนขยายกำลังการผลิตขนาดใหญ่ หรือการเข้าซื้อกิจการขนาดใหญ่ จนกว่ากำไรของบริษัทจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสถานะทางการเงิน
การลงทุนที่จำเป็น: ค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนของ PTTGC น่าจะปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 2564 เป็นต้นไป หลังจากที่บริษัทเสร็จสิ้นการก่อสร้างโครงการ propylene oxide และ polyol และโครงการ olefins reconfiguration project (ORP) ซึ่งคาดว่าจะเปิดดำเนินการในปี 2563 ฟิทช์คาดว่าบริษัทจะไม่มีการลงทุนขนาดใหญ่ใหม่ๆ ในระยะนี้เนื่องจากสภาวะอุตสาหกรรมที่อ่อนแอ ฟิทช์คาดว่าค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนน่าจะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 3.1 หมื่นล้านบาทในปี 2563 และลดลงไปสู่ระดับประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท ในปี 2564 จากระดับสูงสุดที่ 4.1 หมื่นล้านบาท ในปี 2562
กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น: ปริมาณการขายของ PTTGC น่าจะเพิ่มขึ้นในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า เนื่องจากกำลังการผลิตปิโตรเคมีใหม่ที่เพิ่มขึ้น บริษัทได้เริ่มดำเนินการผลิตของโครงการ Methyl Ester 2 ซึ่งมีกำลังการผลิต 200,000 ตันต่อปี ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 ในขณะที่โครงการ propylene oxide และ polyol และโครงการ ORP จะช่วยผลักดันการเติบโตของรายได้และกำไรของบริษัทในปี 2564 เป็นต้นไป
การผลิตที่ครบวงจรและต้นทุนการผลิตที่ต่ำ: PTTGC มีขนาดธุรกิจที่ใหญ่ มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่สูง ส่งผลให้บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่มากกว่า และอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับผู้ผลิตปิโตรเคมีและน้ำมันอื่นๆ ในประเทศ นอกเหนือจากนี้ PTTGC ยังมีความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิตเนื่องจากวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตโอเลฟินส์ คือก๊าซธรรมชาติซึ่งจัดหาได้จากภายในประเทศ และบริษัทยังได้รับประโยชน์จากการที่มีสัญญาการจัดหาวัตถุดิบระยะยาวกับ ปตท. ซึ่งช่วยลดความผันผวนของส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบได้
ความผันผวนตามวัฏจักรของธุรกิจ:
อันดับเครดิตของบริษัทถูกลดทอนจากความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ตามวัฎจักรของธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น
ความผันผวนของอัตราส่วนกำไรของผลิตภัณฑ์ ค่าการกลั่น ราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน
และความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียน
ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อกำไรและกระแสเงินสดของบริษัท  นอกจากนี้ PTTGC ยังมีความเสี่ยงจากการพึ่งพาแหล่งวัตถุดิบน้อยแหล่ง
เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่มาจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.; อันดับเครดิตที่
AAA(tha)/แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ)
ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท อย่างไรก็ตามความเสี่ยงจากการที่บริษัท
รับวัตถุดิบส่วนใหญ่จาก ปตท. ได้ถูกบรรเทาลงจากการที่ ปตท.
มีอันดับเครดิตที่แข็งแกร่ง
และเป็นผู้ดำเนินธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ในประเทศไทย
ความเชื่อมโยงกับบริษัทแม่:
อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ PTTGC ได้มีการพิจารณารวมถึงการปรับเพิ่มอันดับเครดิตขึ้นสองอันดับจากสถานะเครดิตโดยลำพัง
(Standalone
credit profile) ของบริษัทที่
'aa-(tha)’  ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระดับปานกลางระหว่างบริษัท
กับ บริษัทแม่ หรือ ปตท.   ธุรกิจปิโตรเคมี
และโรงกลั่น ซึ่ง PTTGC เป็นหนึ่งในผู้ดำเนินการหลักของกลุ่ม  มีความสำคัญด้านกลยุทธ์อย่างมากต่อกลุ่ม ปตท.
โดยรายได้จากธุรกิจปิโตรเคมี และโรงกลั่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28
ของรายได้รวมของกลุ่ม ปตท. ในขณะที่ EBITDA ของธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่นมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของกลุ่ม
โดยในช่วง 3
ปีที่ผ่านมาคิดเป็นประมาณร้อยละ 28 ของกลุ่ม รองจากธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
ในขณะที่ PTTGC
มีความสำคัญด้านกลยุทธ์ต่อธุรกิจปิโตรเคมี
และโรงกลั่น  ของกลุ่ม ปตท.
เนื่องจากเป็นผู้รับซื้อวัตถุดิบที่เป็นผลิตภัณฑ์ก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีรายใหญ่ของ
ปตท. และ เป็นบริษัทปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดของ ปตท.
การกำหนดอันดับเครดิตโดยสรุป
อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ PTTGC ได้มีการพิจารณารวมถึงการปรับเพิ่มอันดับเครดิตขึ้นสองอันดับจากสถานะเครดิตโดยลำพัง (Standalone credit profile) ของบริษัทที่ 'aa-(tha)’ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระดับปานกลางระหว่างบริษัท กับ ปตท. โดย PTTGC เป็นบริษัทปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่ม ปตท. และเป็นตัวจักรสำคัญในการขยายธุรกิจปิโตรเคมีของ ปตท. โดยเห็นได้จากการที่ ปตท. ได้โอนธุรกิจปิโตรเคมีให้กับ PTTGC ในปี 2560 นอกจากนี้ PTTGC ยังได้รับผลประโยชน์จากสัญญาการจัดหาก๊าซธรรมชาติกับ ปตท. ซึ่งส่งผลให้บริษัทมีความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิต และสัญญาการซื้อขายผลิตภัณฑ์กับ ปตท. ซึ่งช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีกับวัตถุดิบได้
สถานะทางเครดิตโดยลำพัง
(Standalone
credit profile) ของ
PTTGC
ที่
'aa-(tha)’
สะท้อนถึงขนาดธุรกิจและการผลิตปิโตรเคมีที่ใหญ่ของบริษัท
รวมถึงต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เนื่องจากการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี     สถานะทางธุรกิจของ PTTGC แข็งแกร่งที่สุดเมื่อเทียบกับบริษัทในธุรกิจการกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีในประเทศไทยที่ฟิทช์จัดอันดับเครดิต
และมีอัตราส่วนหนี้สินที่ต่ำเมื่อเทียบกับคู่แข่งดังกล่าว  PTTGC มีขนาดธุรกิจที่ใหญ่กว่าและมีการผลิตปิโตรเคมีที่มากกว่าเมื่อเทียบกับ
บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP (อันดับเครดิตที่ 'AA(tha)’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ; สถานะเครดิตโดยลำพังที่
'a+(tha)’)     นอกจากนี้ PTTGC ยังมีอัตราส่วนกำไรที่สูงกว่า
TOP        
PTTGC มีขนาดธุรกิจที่ใหญ่กว่าและมีการกระจายตัวของธุรกิจปิโตรเคมีที่มากกว่าเมื่อเทียบกับ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC (อันดับเครดิตที่ 'A(tha)’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ; สถานะทางเครดิตโดยลำพังที่ bbb+(tha)) นอกจากนี้ บริษัทยังมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งกว่าและมีอัตราส่วนกำไรที่สูงกว่ามาก
สมมุติฐานที่สำคัญ:
  • ราคาน้ำมันดิบ (เบรนท์) ที่ราคา 41 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในปี 2563, 48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในปี 2564, 53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในปี 2565 และ 55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในปี 2566 โดยมีการปรับปรุงด้วยส่วนต่างราคาน้ำมันตามการซื้อน้ำมันดิบของ PTTGC;
  • ค่าการกลั่นที่ปรับตัวลดลงในปี 2563 ซึ่งเป็นผลบางส่วนมาจากการขาดทุนมูลค่าสต๊อกน้ำมันจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันในไตรมาศที่ 1 ของปี 2563; ค่าการกลั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี 2564 เป็นต้นไป
  • กำไรของธุรกิจอะโรเมติกส์ และธุรกิจโอเลฟินส์ ปรับลดลงในปี 2563 และค่อยๆปรับตัวเพิ่มขึ้นหลัง จากนั้น
  • การใช้กำลังการผลิตของโรงกลั่นอยู่ที่ร้อยละ 95 ในปี 2563 เนื่องจากอุปสงค์ที่ต่ำลงโดยเฉพาะน้ำมันอากาศยาน
  • ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนจำนวน 6.6 หมื่นล้านบาท ในปี 2563-2566 ทั้งนี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายลงทุนที่อยู่ในแผนและค่าใช้จ่ายเพื่อการบำรุงรักษา
  • จ่ายเงินปันผลร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิของงบการเงินรวม
  • ไม่มีการลงทุนเพิ่มเติมในโครงการใหม่ หรือการเข้าซื้อกิจการขนาดใหญ่ ในปี 2563-2566
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
ปัจจัยบวก:
  • แนวโน้มเครดิตอาจถูกปรับเป็นมีเสถียรภาพ หากอัตราส่วน FFO Net Leverage ลดลงไปอยู่ในระดับต่ำกว่า 2 เท่าภายในปี 2565 อย่างต่อเนื่อง
  • ระดับความสัมพันธ์ในด้านการดำเนินงาน และความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ระหว่างบริษัท กับ ปตท. ที่เพิ่มสูงขึ้น
ปัจจัยลบ:
  • อันดับเครดิตอาจถูกปรับลด หากฟิทช์คาดการณ์ว่าอัตราส่วน FFO Net Leverage ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 2 เท่าในปี 2565
  • ระดับความสัมพันธ์ในด้านการดำเนินงาน และความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ระหว่างบริษัทฯ กับ ปตท. ที่ลดน้อยลง
สภาพคล่อง

สภาพคล่องที่บริหารจัดการได้: PTTGC มีหนี้สินที่
1.1 แสนล้านบาท ณ สิ้นปี 2562
โดยหนี้สินที่ครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนอยู่ที่ 1
หมื่นล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระจำนวน 8.2
พันล้านบาท และหนี้สินระยะสั้นจำนวน 2 พันล้านบาท
โดยหนี้สินส่วนใหญ่ดังกล่าวจะครบกำหนดชำระในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 
สภาพคล่องได้รับการสนับสนุนจากเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจำนวน 2.4
หมื่นล้านบาท วงเงินสินเชื่อหมุนเวียนจากสถาบันการเงินที่ยังไม่ได้เบิกใช้จำนวน 450
ล้านเหรียญสหรัฐฯ และวงเงินกู้ระยะสั้นที่สามารถเบิกกู้ได้จาก ปตท. จำนวน 1
หมื่นล้านบาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad