TMB Analytics ชี้มาตรการเยียวยาโควิดตอบโจทย์ “หยุดเชื้อเพื่อชาติ” รอจังหวะฟื้นตัว - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2563

TMB Analytics ชี้มาตรการเยียวยาโควิดตอบโจทย์ “หยุดเชื้อเพื่อชาติ” รอจังหวะฟื้นตัว


TMB Analytics ชี้มาตรการเยียวยาโควิดตอบโจทย์ “หยุดเชื้อเพื่อชาติ” รอจังหวะฟื้นตัว

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics (ทีเอ็มบี อนาลิติกส์) เผยแพคเกจมาตรการเยียวยาผลกระทบโควิดชุดใหญ่เม็ดเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท ช่วยยืดเงินใช้จ่ายของลูกจ้างที่มีอยู่จาก 2 เดือน เป็น 8 เดือน ธุรกิจมีสภาพคล่องหมุนเวียนอยู่ได้เพิ่มจาก 3 เดือน เป็น 5 เดือน สามารถประคองการจ้างงาน พร้อมจะฟื้นตัวได้เมื่อวิกฤตคลี่คลาย

เรามอง Timeline ในช่วงรับมือโควิดเป็น 2 เฟส โดยเฟส 1: “หยุดเชื้อเพื่อชาติ” เพื่อให้ความเสียหายไม่ยืดเยื้อ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉินการประกาศเคอร์ฟิว และการล็อกดาวน์ของจังหวัดต่างๆ ส่งผลกระทบต่อประชาชน ลูกจ้าง แรงงานราว 9 ล้านคนที่ต้องสูญรายได้ไป และภาคธุรกิจที่ต้องปิดกิจการชั่วคราว เกิดปัญหาด้านสภาพคล่องตามมา ซึ่ง TMB Analytics คาดเฟสนี้กินเวลาประมาณ 3 เดือน (มี.ค.-พ.ค.) สำหรับเฟส 2: “ฟื้นตัวสู่ปกติ” เป็นช่วงหลังการแพร่ระบาดคลี่คลาย (คาดตั้งแต่ มิ.ย.เป็นต้นไป) กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มทยอยกลับมาฟื้นตัว
#หยุดเชื้อเพื่อชาติ บวกมาตรการเยียวยา ช่วยยืดเวลาให้ลูกจ้างและธุรกิจประคองตัวอยู่รอด  เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและธุรกิจหลายประเภทต้องหยุดกิจการชั่วคราว ย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้ของลูกจ้าง โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม สอดคล้องกับการสำรวจของ TMB Customer Insight ในปี 2561 พบว่า 50% ของคนไทยที่มีอายุ 18-54 ปี หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น กรณีตกงานจะมีเงินเก็บสำหรับการใช้จ่ายได้เฉลี่ย 2 เดือนเท่านั้น การมีมาตรการเยียวยาเร่งด่วนอัดฉีดเงินในเฟสนี้เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่วยต่อเวลาออกไป ซึ่งล่าสุด มาตรการใส่เงินชดเชยรายได้ 5 พันบาทต่อเดือนได้ขยายเวลาช่วยเหลือเป็น 6 เดือน ซึ่งจะครอบคลุมลูกจ้าง แรงงานราว 9 ล้านคน คิดเป็นเม็ดเงินราว 2.7 แสนล้านบาท จะช่วยเยียวยาให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤติในช่วง #หยุดเชื้อเพื่อชาติ ซึ่งหากนับการเพิ่มสภาพคล่องให้โดยการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงินรายละไม่เกิน 1-5 หมื่นบาท บวกกับมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งหลาย จะช่วยลดผลกระทบที่ลูกจ้างและแรงงานได้รับในขณะนี้ ทั้งนี้ จากการประเมินเบื้องต้น มาตรการเยียวยาทั้งการให้เงินและการให้สินเชื่อจะทำให้มีเงินหมุนเวียนกลับมาราว 1.88 แสนล้านบาท หรือช่วยหนุนให้โตขึ้นได้ 2.3% ของการบริโภคภาคเอกชน
ในทำนองเดียวกัน เมื่อประเมินจากวงจรการดำเนินธุรกิจ (Operating Cycle) พบว่าโดยทั่วไป SMEs จะมีสภาพคล่องรองรับเหตุการณ์ช็อกต่างๆ ได้โดยเฉลี่ยที่ 3 เดือน ดังนั้น มาตรการช่วยเติมสภาพคล่อง โดยให้ซอล์ฟโลนแก่ธุรกิจ SME ซึ่งรวมมาตรการสินเชื่อทั้ง 3 ระยะที่ออกมาแล้ว วงเงินทั้งสิ้น 8 แสนล้านบาท คาดว่าจะช่วยยืดเวลาออกไปได้อีก 2 เดือน ทั้งนี้ เมื่อลงรายละเอียดถึงประเภทธุรกิจได้รับผลกระทบจากมาตรการเข้มข้นล็อกดาวน์จะตกอยู่กับกลุ่มธุรกิจบริการมากสุด เนื่องจากมีสภาพคล่องเพียงพอจะรองรับเหตุการณ์ช็อกได้เฉลี่ยอยู่ที่ 2 เดือน (มี.ค.-เม.ย.) ซึ่งได้แก่ ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร บริการท่องเที่ยว สถานบันเทิง โรงหนัง ขนส่งผู้โดยสาร เป็นต้น รองลงมาเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ระยะเวลาช็อกเฉลี่ยอยู่ที่ 4 เดือน (มี.ค.-มิ.ย.) ได้แก่ อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมเหล็ก ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น ขณะที่กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวันจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า  
คาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมีความจำเป็น หนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็ว (มิ.ย.เป็นต้นไป) โดยเม็ดเงินในส่วนนี้ตามพ.ร.ก.กู้เงินจะอยู่ที่ 4 แสนล้านบาท และหากรัฐออกมาตรการการเงินและการคลังเพิ่มเติมอีก จะช่วยเร่งให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วขึ้น ได้แก่ มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย เช่น ท่องเที่ยวในประเทศ การบริโภคในประเทศ รวมไปถึงที่อยู่อาศัยและรถยนต์ การให้สินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูกิจการหรืออาชีพ มาตรการลดภาษีเงินได้ ขณะที่มาตรการเยียวยาที่ใช้ในเฟส 1 มีความจำเป็นน้อยล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad