ปตท.ดึงบริษัทชั้นนำดิจิทัลของโลกร่วมลงทุนในEECi - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ปตท.ดึงบริษัทชั้นนำดิจิทัลของโลกร่วมลงทุนในEECi

ปตท. ดึงบริษัทดิจิทัลชั้นนำของโลก อาทิ IBM , Microsoft, หัวเว่ย, ซิสโก (Cisco), เอสเอพี, ดีไอจี, และอูเบะ เข้ามาเช่าพื้นที่และพัฒนาการวิจัยร่วมกัน ใน EECi โดยคาดงานก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2565

นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท. ต้องการสร้างพื้นที่ EECi ให้เป็น Eco System เรื่องการสร้างนวัตกรรมให้แก่ประเทศ โดยมีโรงเรียนกำเนิดวิทย์และสถาบันวิทยสิริเมธี สถาบันวิทยาศาสตร์และการวิจัยชั้นนำ ที่จะมารองรับการแผนยุทธศาตร์ชาติ 20 ปี เพื่อก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ด้วยการมีนวัตกรรมของตนเองและมีรายได้ที่สูงขึ้น
ที่สำคัญ Eco System บนพื้นที่ 3,500 ไร่ ได้นำมาพัฒนา EECi โดยร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สร้างศูนย์นวัตกรรมให้กับ EEC มีบริษัทเอกชนชั้นนำเข้ามาตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น Smart Farmer, Internet of Thing (iOT), Robotic AI, Bio Economy, Bio Platic หรือ Bio Field รวมทั้ง Smart City, Smart Material จะอยู่ในพื้นที่ EECi ซึ่งคาดหวังว่าจะมีนวัตกรรมเกิดขี้นในอีกไม่นานนี้ มีนักวิจัย มีเครื่องมือที่ราชการ พันธมิตร และมีคณาจารย์จากต่างประเทศ มหาวิทยาลัยชั้นนำมาช่วยกันสร้างนวัตกรรมในพื้นที่แห่งนี้ คาดว่า EECi จะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2565 และจะมีบริษัทชั้นนำระดับโลกเข้ามาอยู่ในพื้นที่มากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่การลงทุนของบริษัทพันธมิตรต่างๆ ที่จะเข้ามาลงทุนพัฒนาในเทคโนโลยีเป้าหมาย 6 ด้าน ได้แก่ สมาร์ทเอนเนอร์ยี่, เทคโนโลยีพลังงานอัจฉริยะ, สมาร์ทเทคโนโลยี, เทคโนโลยีอัจฉริยะ, สมาร์ทเอ็นน์ไวรอนเม้นท์ เทคโนโลยีสภาพแวดล้อมที่ชาญฉลาด, สมาร์ทอินฟราสตรัคเจอร์ เทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ, สมาร์ทโมบิลลิตี้ เทคโนโลยีการขนส่งอัจฉริยะ และสมาร์ทเมเนจเม้น เทคโนโลยีการจัดการอัจฉริยะ โดย ปตท. มีแผนที่จะออกไปโรดโชว์ดึงดูดบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาลงทุนในพื้นที่ EECi โดยเฉพาะการดึงบริษัทพันธมิตรที่เป็นคู่ค้าของ ปตท. เช่น IBM, Microsoft, หัวเว่ย, ซิสโก (Cisco), เอสเอพี, ดีไอจี, และอูเบะ ซึ่งประเทศหลักๆ ที่จะไปโรดโชว์ทั้งในภูมิภาคเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น รวมทั้งยุโรป และสหรัฐฯ เนื่องจากมีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย
ส่วนพื้นที่ด้านหน้าของพื้นที่ EECi จะพัฒนาเป็น Community เช่น ที่พักอาศัย โรงเรียน โรงพยาบาล ที่จะมารองรับ EEC โดยอาจมีพันธมิตรเข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่ นอกเหนือจากที่ ปตท. ดำเนินการเอง ทำให้ใช้เงินลงทุนสำหรับเขต EECi รวมกว่า 4,100 ล้านบาท
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) พร้อมทำพิธีเปิดหน้าดิน (Groundbreaking) เพื่อเริ่มงานก่อสร้างโครงการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์เพื่อเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ในพื้นที่วังจันทร์วัลเล่ย์ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ได้กล่าวแสดงความยินดีกับทั้งสองสถาบันที่เป็นแหล่งรวมหัวกะทิของประเทศ ผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมมารองรับการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันนอก (EEC) และขอบคุณหลายหน่วยงานเกี่ยวข้องที่มีส่วนทำให้สถาบันดังกล่าวเกิดขึ้นมาได้ เพราะมองว่าการศึกษาคือการสร้างอนาคตและจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำให้กับสังคมไทยได้ ซึ่งเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีของรัฐบาล ดังนั้น รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการวางแผนให้เด็กที่เกิดในวันนี้ได้มีงานทำใน 20 ปีข้างหน้า โดยการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งระบบตั้งแต่เด็กนักเรียน ครู อาจารย์ต่างๆ ตามแนวทางประชารัฐ มีท้องถิ่นเข้ามาช่วยพัฒนาทั้งหมด ไม่ได้มุ่งเน้นการให้เงินเพียงอย่างเดียว เช่นการสร้างโรงเรียน 1 โรงเรียน 1 ตำบล ที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้นในอำเภอในจังหวัด เพื่อไม่ต้องเข้ามาเรียนในเมืองทั้งหมด
นอกจากนี้ ประเทศไทยจะต้องเร่งผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมที่ยังคงขาดแคลนเพื่อมาตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ รวมทั้งเพิ่มการวิจัยและพัฒนา (R&D) การตลาด และระบบการค้าเสรีให้แก่บุคลากรไทยมากขึ้น ขณะที่มหาวิทยาลัยต้องช่วยวางแผนการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ต้องรู้ว่าประเทศต้องการแรงงานประเภทไหนเพื่อผลิตนักศึกษาออกมารองรับ ซึ่งวันนี้ รัฐบาลพยายามนำหลักสูตรการศึกษาจากต่างประเทศ เช่นการก่อตั้งสถาบันการศึกษารูปแบบโคเซน (KOSEN) ในประเทศไทย เพื่อให้เกิดการแข่งขันด้านการศึกษา อย่าไปกังวลว่าจะมาแย่งงานในประเทศ ขณะเดียวกันจะต้องสร้างสินค้าที่มีนวัตกรรมป้อนตลาดโลก หากทำได้ดังนี้จะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง และมีโอกาสที่จะทำให้ EEC มี GDP ต่อหัวเท่าโตเกียว นิวยอร์ค ทำให้ภาครัฐมีงบประมาณมาช่วยดูแลประเทศได้มากขึ้น จึงต้องสร้างคน สร้างรายได้ และสร้างความรู้ให้แก่บุคคลากรไทยตั้งแต่เริ่มต้น
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมงานวิจัยของนิสิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอก และเยี่ยมชมศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานสำหรับโครงการพัฒนาอุปกรณ์กักเก็บพลังงานต้นแบบสำหรับรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad