PwC เผยปัจจัยความสำเร็จเพื่อขับเคลื่อนความแตกต่างและความสามารถ ในการแข่งขันให้กับธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

PwC เผยปัจจัยความสำเร็จเพื่อขับเคลื่อนความแตกต่างและความสามารถ ในการแข่งขันให้กับธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก

PwC เผยปัจจัยความสำเร็จเพื่อขับเคลื่อนความแตกต่างและความสามารถ
ในการแข่งขันให้กับธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก

กรุงเทพฯ, 16 พฤศจิกายน 2565 – PwC เปิดตัวรายงานใหม่ ‘Asia Pacific’s Time: Responding to the new reality’ ในวันนี้ ร่วมกับการประชุม APEC CEO Summit 2022 ที่จัดขึ้น ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย โดย PwC ได้รับเกียรติให้เป็น ‘พันธมิตรด้านองค์ความรู้’ อีกครั้ง

รายงานระบุว่า ผลกระทบที่ยืดเยื้อจากการระบาดของโควิด-19 ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อสูง ความเปราะบางของห่วงโซ่อุปทาน และความท้าทายใหม่ด้านแรงงาน รวมถึงแรงกดดันให้ธุรกิจเร่งดำเนินการในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ได้ก่อให้เกิดสภาวะความไม่สมดุล (disequilibrium) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคและธุรกิจยังเปลี่ยนวิถีเศรษฐกิจและสังคมไปจากเดิมอย่างมาก

นาย บ็อบ มอริตซ์ ประธาน บริษัท PwC โกลบอล  กล่าวว่า “โลกกำลังเผชิญกับภาวะหยุดชะงักในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน หากผู้นำธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกต้องการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต มีความสามารถในการแข่งขัน และฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วจากสถานการณ์ที่ยากลำบาก พวกเขาต้องเปิดรับความท้าทายและโอกาสจาก ESG และโลกแห่งการทำงานที่ยืดหยุ่น กุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนวาระเหล่านี้ให้มีความก้าวหน้าในโลกแห่งความเป็นจริงใหม่ คือ การปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานไปสู่ความร่วมมือทั่วทั้งภูมิภาคโดยอาศัยการสร้างความไว้วางใจและส่งมอบผลลัพธ์ที่ยั่งยืนซึ่งต้องเริ่มดำเนินการเดี๋ยวนี้”

ทั้งนี้ การเติบโตและการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปของภูมิภาคไม่เพียงพอที่จะฝ่าฟันช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ไปได้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องปรับสู่การทำงานเชิงรุกและมีความสามารถในการตัดสินใจด้วยตนเองมากขึ้น พวกเขาต้องประยุกต์ใช้กลยุทธ์ใหม่ที่มีความเหมาะสม เพื่อดำเนินธุรกิจไปสู่ความสำเร็จในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีพลวัตและเชื่อมต่อถึงกันมากขึ้น

จากการสนทนาของเรากับผู้นำธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาค เราเชื่อว่ามีปัจจัยความสำเร็จที่สอดคล้องและส่งเสริมกันห้าประการที่จะช่วยขับเคลื่อนความแตกต่างและความสามารถในการแข่งขันให้ธุรกิจและรัฐบาลมีความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งเราได้เน้นย้ำในรายงาน ทั้งนี้ ปัจจัยความสำเร็จดังกล่าว มีความเชื่อมโยงและพึ่งพาอาศัยกัน โดยแต่ละปัจจัยส่งเสริมกันและการดำเนินการต่อปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ส่งผลกระทบต่อปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย:

  1. ห่วงโซ่อุปทาน – ภาวะหยุดชะงัก (disruption) ทำให้ธุรกิจต้องประเมินกลยุทธ์การจัดหาใหม่ ผู้นำในเอเชียแปซิฟิกต้องเปลี่ยนโฟกัสจากต้นทุนและประสิทธิภาพ (cost and efficiency) ไปสู่ความสามารถในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากสถานการณ์ที่ยากลำบาก (resilience) และความไว้วางใจ (trust) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาค
  2. การเติบโตขององค์กรระดับภูมิภาค – โอกาสสำหรับการสร้างคุณค่า (value creation) ในเอเชียแปซิฟิกนั้นมีมากมาย เพื่อขยายธุรกิจให้เติบโตในภูมิภาค dealmaker ต้องใช้แนวทางเชิงกลยุทธ์ที่ ‘ขับเคลื่อนด้วยความสามารถ’ ซึ่งผสมผสานระหว่างกระบวนการ เครื่องมือ เทคโนโลยี ทักษะ และวัตถุประสงค์ขององค์กร
  3. เศรษฐกิจดิจิทัล – การเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่ดิจิทัล (digitalisation) มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการตอบสนองต่อความเป็นจริงใหม่ ธุรกิจต่าง ๆ ต้องเปิดรับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูลเชิงลึก ลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนมากขึ้น
  4. กำลังแรงงาน – พนักงานในเอเชียแปซิฟิกให้คุณค่ากับการดำเนินงานที่มีความหมายและความถูกต้องแท้จริง และ 90% ของแรงงาน สนับสนุนการทำงานแบบทางไกล หรือแบบผสมผสาน เพื่อสร้างความไว้วางใจและตอบสนองต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของพนักงาน ผู้นำธุรกิจต้องทบทวนการยกระดับทักษะแรงงาน เปิดรับความยืดหยุ่น และส่งมอบงานที่ขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์
  5. ESG – ESG ไม่ใช่สิ่งที่ ‘มีก็ดี’ สำหรับธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกอีกต่อไป การวิจัยของ PwC ระบุว่า 88% ของซีอีโอในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังคงมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero) หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ธุรกิจต้องเปลี่ยนความตั้งใจดีไปสู่การสร้างคุณค่า โดยเร่งสร้างความก้าวหน้าในการจัดลำดับประเด็นความสำคัญด้าน ESG เพื่อสร้างความแตกต่างในตลาดสำหรับเงินทุนและบุคลากรที่มีความสามารถ

นาย เรย์มอนด์ ชาว ประธาน PwC ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า “โลกรวมทั้งเอเชียแปซิฟิกได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วและยังดำเนินต่อไป ในฐานะผู้นำเราต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างความไว้วางใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างคุณค่า เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และส่งมอบผลลัพธ์ที่ยั่งยืน นี่ต้องอาศัยกรอบความคิดที่เน้นการเปลี่ยนแปลงและมีความแตกต่างบนพื้นฐานของการทำงานร่วมกัน ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องร่วมแรงร่วมใจกันและลงมือปฏิบัติเดี๋ยวนี้เพื่อความเป็นจริงใหม่ในภูมิภาค”

เกี่ยวกับ PwC

ที่ PwC เป้าประสงค์ของเรา คือ การสร้างความไว้วางใจในสังคมและช่วยแก้ปัญหาสำคัญให้กับลูกค้า เราเป็นหนึ่งในบริษัทเครือข่าย 152 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานมากกว่า 327,000 คนที่ยึดมั่นในการส่งมอบบริการคุณภาพด้านการตรวจสอบบัญชี ที่ปรึกษาทางธุรกิจ กฎหมายและภาษี หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.pwc.com


เกี่ยวกับ PwC ประเทศไทย

PwC ประเทศไทย ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2502 โดยมีบทบาทในการช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจไทยมานานกว่า 63 ปี PwC ผสมผสานประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถในการทำงานกับลูกค้าข้ามชาติ ผนวกกับความเข้าใจตลาดภายในประเทศเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ชื่อเสียงของ PwC เป็นที่ยอมรับและได้รับความไว้วางใจจากภาคธุรกิจต่าง ๆ โดยปัจจุบัน มีบุคลากรมากกว่า 1,800 คนในประเทศไทย

PwC refers to the Thailand member firm, and may sometimes refer to the PwC network. Each member firm is a separate legal entity. Please see www.pwc.com/structure  for further details.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad