กสิกรฯ มองปีหน้าค่าเงินบาทหลุด 30 แน่ คาด GDP โตแค่ 2.7% ปัญหาเชิงโครงสร้างกดดันไทย - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

กสิกรฯ มองปีหน้าค่าเงินบาทหลุด 30 แน่ คาด GDP โตแค่ 2.7% ปัญหาเชิงโครงสร้างกดดันไทย

กสิกรฯ มองปีหน้าค่าเงินบาทหลุด 30 แน่ คาด GDP โตแค่ 2.7% ปัญหาเชิงโครงสร้างกดดันไทย


ประเด็นสำคัญจากงานสัมมนา “ส่องทิศทางเศรษฐกิจปีชวด” จัดโดยธนาคารกสิกรไทย ซึ่งมองว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะโตอยู่ประมาณ 2.7% ส่วนค่าเงินบาทคาดว่าอาจหลุด 30 บาท
Kasikorn Bank กสิกรไทย
ภาพจาก Shutterstock
ประเด็นสำคัญๆ ของในงานสัมมนานี้ที่จะเน้นคือเรื่องของเศรษฐกิจไทยเป็นหลัก รวมไปถึงเรื่องปัญหาใหญ่ๆ ที่ไทยกำลังจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในระยะยาว

เชื่อเอเชียยังโตได้ดี ไทยดูไม่ดีเท่าไหร่

ปีหน้าเราน่าจะเห็นเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง ส่งผลให้กลุ่มประเทศพัฒนาอื่นนั้นชะลอตัวตาม แต่ตรงข้ามกับประเทศในเอเชียน่าจะฟื้นตาม เช่น สิงคโปร์ ฯลฯ สาเหตุเพราะว่าภาครัฐมีการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง เช่น ญี่ปุ่น เริ่มมองว่านโยบายการเงินไปไม่ไหว แต่ประเทศอื่นๆ ยังลดอัตราดอกเบี้ย หรือใช้เครื่องมืออื่นๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้นักลงทุนสนใจลงทุนในเอเชีย
ขณะที่เรื่องสงครามการค้าไม่น่าจะจบในปีนี้ แม้ประธานาธิบดีทรัมป์จะบอกว่าระยะ 1 จะใกล้เสร็จแล้วก็ตาม แต่มองว่าจะได้เซ็นจริงๆ ได้หรือเปล่าไม่มีใครทราบได้ ซึ่งตอนนี้ปลายปีแล้ว ขณะถ้าหากเซ็นปีหน้าแล้วจีนอาจรอดูท่าที ซึ่งอาจลากยาวไปถึงปลายปี ขณะเดียวกันจีนส่งออกสินค้ากลับเข้ามาในเอเชีย ส่งผลทำให้ประเทศอื่นๆ ส่งออกหดตัวตามไปด้วย
สำหรับเศรษฐกิจไทยนั้นในปีหน้าคาดว่าการส่งออกของไทยจะยังไม่ฟื้นตัว คาดว่าจะติดลบ 2% เนื่องจากเรื่องของสงครามการค้า แม้ว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตมาแล้วบ้างแต่ก็ยังไม่ส่งผลเท่าไหร่นัก นอกจากนี้ในปีหน้านั้นสิ่งที่ยังพอหวังได้คือเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านเม็ดเงินการลงทุนจากภาครัฐ คาดว่าปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะโตอยู่ที่ 2.7%
Thailand Surplus

ทำไมค่าเงินบาทไทยแข็ง

ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งนั้นธนาคารมองว่าเกิดจากปัจจัยภายในมากกว่า สาเหตุหลักๆ ได้แก่ เมื่อเรานำตัวเลขการนำเข้าหักลบการส่งออกก็ยังได้ดุลการค้าเป็นบวก และในปีที่ผ่านมาเราจะเห็นตัวเลขการนำเข้าสินค้าน้อยลงกว่าเดิมมากๆ นอกจากนี้แรงเสริมจากนักท่องเที่ยวจากจีน ส่งผลทำให้ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่ม ทำให้ภาพรวมของไทยนั้นมีดุลบัญชีเดินสะพัดสูงสุดอันดับ 3 ของเอเชีย
ขณะที่เม็ดเงินอีกส่วนไหลเข้ามาลงทุนก็ส่วนหนึ่งจากเรื่องของสงครามการค้าที่มีการย้ายฐานการผลิต นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการลงทุนในหุ้นไทย โดยเฉพาะในปีนี้ทีมี IPO ตัวใหญ่ๆ เข้าตลาด
ในส่วนของตราสารหนี้ช่วงที่ผ่านมาที่ต้นทุนการถือครองพันธบัตรของไทยดีกว่าในประเทศอื่นๆ ในเอเชีย พันธบัตร 10 ปีของไทยให้ผลตอบแทนหักลบต้นทุนแล้วอยู่ที่ 8.3% ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องออกมาตรการจำกัดนัดลงทุนที่พักเงินตราสารหนี้ระยะสั้น รวมไปถึงมีมาตรการผ่อนคลายอื่นๆ ที่ทำให้เม็ดเงินไหลออก เพื่อที่ค่าเงินบาทจะได้อ่อนค่า แต่บาทกลับแข็งค่าเพราะว่าดุลบัญชีเดินสะพัดเรายังเป็นบวกอยู่ดีนั่นเอง คาดว่าในปลายปีหน้าค่าเงินบาทของไทยจะอยู่ที่ประมาณ 29.25 บาทต่อดอลลาร์ และผู้ประกอบการควรที่จะทำประกันความเสี่ยงค่าเงินบาทด้วย ถ้าค่าเงินบาทเริ่มหลุดกรอบ 30 บาท

เศรษฐกิจไทยกำลังจะสูญเสียความสามารถ

นอกจากนี้ในงานสัมมนายังได้กล่าวถึงเรื่องของเศรษฐกิจไทยที่กำลังจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น เวียดนาม ฯลฯ โดยเฉพาะการส่งออกของไทยแม้ว่าปีนี้เราจะส่งออกไปสหรัฐได้มากขึ้น อย่างไรก็ดีสัดส่วนเทียบกับประเทศอื่นๆ ไทยมีการส่งออกไปทั่วโลกคิดเป็น 1.38% จากเดิม 1.48% สิ่งที่ไทยต้องทำคือ พยายามทำยังไงไม่ให้เสียสัดส่วนตรงนี้ แต่ที่ผ่านมาเราเสียหมด แถมยังโดนเรื่องของค่าเงินบาทที่แพงกว่าความเป็นจริง 6.7% เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ประเทศเพื่อนบ้านทำได้ดีกว่าไทย รวมไปถึง Productivity ในการทำงานของประเทศเพื่อนบ้านดีกว่า ขณะเดียวกันไทยกำลังสูญเสียจำนวนแรงงานลงไปเรื่อยๆ ทุกปี สัดส่วนแรงงานเทียบกับประชากรในปี 2008 อยู่ที่ 72.7% ขณะที่ล่าสุดไทยอยู่ที่ 67.8% และจะลดลงไปเรื่อยๆ แถมอัตราค่าจ้างแรงงานจากเติบโต 4% เมื่อกลางปี ล่าสุดเหลือแค่ 1.5% ส่งผลทำให้กำลังซื้อจากฐานรากคือขยายตัวได้ต่ำ
ขณะเดียวกันประเทศไทยเองมีข้อจำกัดหลายอย่างมาก เช่น อสังหาริมทรัพย์เราไม่ให้ถือครอง ขณะที่ประชากรลดลงอย่างมาก 2008 เรามี 66.1 ล้าน ปี 2050 เราเหลือเท่า 2008 ขณะที่อสังหาริมทรัพย์ไทยนั้นมีจำนวนยูนิตที่เพิ่มมากขึ้น ในอนาคตยังมีคาดการณ์ว่าไทยจะมีคนลดลงในอาเซียนเพียงประเทศเดียวถือเป็นเรื่องน่ากังวลอย่างมาก
มุมมองของธนาคารกสิกรไทยมองว่าไทยอาจต้องมีการปฏิรูปหลายๆ เรื่อง เช่น การศึกษา ระบบภาษี หรือแม้แต่ความง่ายในการลงทุน หรือการรับชาวต่างชาติเก่งๆ เข้ามา ​ฯลฯ เพื่อที่จะสอดคล้องกับโครงสร้างประชากรในอนาคต ซึ่งจะเห็นได้จาก

เรื่องอื่นๆ

  • เงินในระบบหมุนเวียนในระบบของไทยลดลงอย่างมากจากในปี 1999 อยู่ที่ 12 รอบ ตอนนี้เหลือไม่ถึง 6 รอบ
  • ค่าเงินเยนอาจมีสิทธิ์หลุด 28 บาทต่อ 100 เยน และอาจเหวี่ยงลงไปได้ถึง 27.5 บาทต่อ 100 เยน
  • สำหรับเรื่องการลงทุน แนะนำให้ลงทุนต่างประเทศไว้บ้าง แต่หุ้นไทยยังมีภาคอุตสาหกรรมที่น่าสนใจเช่น ท่องเที่ยว โรงพยาบาล
  • แนะนำให้จับตามองตลาดใหม่ 3 ประเทศ อินเดีย บังคลาเทศ กัมพูชา เป็นประเทศที่น่าสนใจ
การเติบโตของความสามารถในการผลิตของแรงงานในแต่ละประเทศ labour productivity growth
การเติบโตของความสามารถในการผลิตของแรงงานในแต่ละประเทศ – ข้อมูลจาก ธนาคารกสิกรไทย

ไทยสูญเสียการส่งออกแก่เพื่อนบ้านไปแล้ว – ข้อมูลจากธนาคารกสิกรไทย
ที่มา: Brand Inside

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad