“ CAT ส่งมอบสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ลดความเสี่ยงมลพิษให้โรงเรียนวัดอมรินทราราม " - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

“ CAT ส่งมอบสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ลดความเสี่ยงมลพิษให้โรงเรียนวัดอมรินทราราม "


  CAT ส่งมอบสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ลดความเสี่ยงมลพิษให้โรงเรียนวัดอมรินทรา

ราม  

CAT ส่งมอบสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ลดความเสี่ยงมลพิษให้โรงเรียนวัดอมรินทราราม

            วันนี้ (26 พฤศจิกายน 2562)  นายขจิต ชัยวานิชย์ รองปลัด
กรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธี รับมอบระบบแจ้งเตือนคุณภาพฝุ่น พร้อม
ระบบเปิดปิดละอองน้ำ เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพฝุ่นผ่านแอปพลิเคชัน         โดยใช้
เทคโนโลยี IoT โดยมี นางสุวรรณา  หรรษาจารุพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
ใหญ่  บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เป็นผู้แทนมอบ และ
นางภารดี ผางสง่า ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอมรินทราราม  เป็นผู้รับมอบ ณ 
โรงเรียนวัดอมรินทราราม
             โครงการระบบแจ้งเตือนคุณภาพฝุ่น พร้อมระบบเปิดปิดละอองน้ำ เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพฝุ่นผ่านแอปพลิเคชัน โดยใช้เทคโนโลยี IoT เกิดขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนวัดอมรินทราราม ที่ประสบปัญหาภาวะอากาศและฝุ่นจากการก่อสร้างโครงการต่อขยายสะพานอรุณอมรินทร์ พร้อมทางขึ้น-ลง และทางยกระดับข้ามแยกศิริราช  รวมทั้งการก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ภายในโรงเรียน โดย CAT ได้สนับสนุนสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ : ค่าฝุ่น PM2.5/PM10  พร้อมระบบน้ำฝอยแบบพ่นหมอกควัน จำนวน 1 ระบบ ด้วยการเข้าติดตั้งอุปกรณ์ Sensor วัดค่าฝุ่น อุณหภูมิ ความชื้นภายนอกอาคาร เพื่อทำการวัดค่าแล้วส่งข้อมูลผ่านโครงข่าย LoRaWAN ไปยังฐานข้อมูลกลาง เพื่อให้แสดงผลบน Dashboard หรือ Mobile Application นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งอุปกรณ์ภายในอาคาร เพื่อทำการวัดค่าแล้วแสดงผลบนหน้าจอ LED พร้อมกับติดตั้งตู้คอนโทรลระบบจ่ายไฟ เพื่อควบคุมการเปิด-ปิดระบบน้ำ
            สำหรับโซลูชันวัดค่าคุณภาพอากาศ จะทำงานผ่านโครงข่าย LoRa ซึ่งจะเชื่อมต่ออุปกรณ์ด้วยคุณสมบัติโครงข่ายที่ CAT ออกแบบการทำงานสำหรับ Internet of Things (IoT) มีจุดเด่นในการรับ-ส่งข้อมูลได้ในระยะไกล 5-15 กิโลเมตร และใช้พลังงานในช่วงรับ-ส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำ โดยเซ็นเซอร์จะวัดค่าคุณภาพอากาศเป็นมูลส่งมาจัดเก็บบน IRIS Cloud แล้วแสดงผลบนแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น Dashboard หรือ Mobile Application ซึ่งสามารถนำข้อมูลไปใช้งานกับระบบอื่น ๆ ในรูปแบบ API ได้ และนอกจากวัดคุณภาพอากาศแล้วยังสามารถประยุกต์ให้ทำงานควบคู่กับระบบน้ำฝอยแบบพ่นหมอก เพื่อลดปริมาณฝุ่น โดยสามารถสั่งการเปิด-ปิด ระบบน้ำฝอยแบบพ่นหมอกควัน ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้
             ทั้งนี้ CAT ได้เล็งเห็นถึงปัญหามลพิษทางอากาศมาอย่างต่อเนื่อง จึงได้เริ่มทดลองทดสอบสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการวัดค่าคุณภาพอากาศแบบเจาะจงพื้นที่และรายงานผล เรียลไทม์ โดยติดตั้งอุปกรณ์ 20 จุดครอบคลุมพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad