บทความวิเคราะห์การค้าใน ASEAN Q4 2562 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บทความวิเคราะห์การค้าใน ASEAN Q4 2562

บทความวิเคราะห์การค้าใน ASEAN Q4 

2562

​​Q4-800x420.jpg

Highlights:

  • ภาพรวมการส่งออกของไทยไปยังกลุ่มประเทศ CLMVI ในปี 2562 มีแนวโน้มจะหดตัว
  • การคาดการณ์สำหรับปี 2563 มูลค่าส่งออกจากไทยไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าวจะหดตัวลงอีก 2% เนื่องจากอุปสงค์ของตลาดยังไม่ฟื้นตัวและแนวโน้มของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคของโลก (commodity price) ลดลง
 ​
การส่งออกของไทยไปยัง CLMV หดตัวถึงร้อยละ 6.4 YoY ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อ่อนค่าและอุปสงค์ที่ชะลอตัว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ทั้งปี ในปี 2562 จะหดตัวร้อยละ 4.0 YoY ขณะที่ การส่งออกในปีหน้ามีแนวโน้มจะเผชิญความเสี่ยงเชิงลบมากขึ้น​

info Th2.jpg

การส่งออกของไทยไปยังประเทศ CLMV ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 มีมูลค่า 2.0 หมื่นล้าน หดตัวที่ร้อยละ 6.4 YoY หลังจากเติบโตถึงร้อยละ 16.7 ในปี 2561 เนื่องจากการทรุดตัวลงของการส่งออกน้ำมันและทองคำเป็นหลัก
หากไม่นับรวมการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปและทองคำ การส่งออกของไทยไปยัง CLMV ในช่วง 9 เดือนแรกของปียังสามารถเติบโตที่ร้อยละ 0.7 YoY แต่ก็เป็นอัตราที่ชะลอลงอย่างมากจากการเติบโตที่ร้อยละ 10.8 ในปีก่อนหน้า โดยอุปสงค์ที่ชะลอลงใน CLMV ส่งผลให้การส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยไปยัง CLMV นั้นชะลอลงตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมียนมาและสปป.ลาวที่เศรษฐกิจภายในประเทศอ่อนแรงลงอย่างมาก ท่ามกลางปัจจัยรุมเร้าทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศ

ในขณะที่ การบริโภคในกัมพูชาและเวียดนามยังคงค่อนข้างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกที่อ่อนแรงลงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจกัมพูชาและเวียดนามที่พึ่งพาการส่งออกสูง และส่งผลให้การบริโภคในกัมพูชาและเวียดนามเติบโตในอัตราที่ชะลอลงเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนที่อ่อนแรงลงใน CLMV ส่งผลให้การส่งออกสินค้าทุนของไทยไปยัง CLMV ชะลอลงตามไปด้วย อีกทั้ง สงครามการค้าส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค และส่งผลให้การส่งออกของไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้านชะงักงันตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าไปยังเวียดนามซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากสงครามการค้าที่ส่งผลให้การส่งออกของเวียดนามชะลอตัวลง

ยิ่งไปกว่านั้น สงครามการค้าก่อให้เกิดการย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เวียดนามลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
 
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า การส่งออกของไทยไปยัง CLMV ทั้งปีจะหดตัวที่ร้อยละ 4.0 ในปี 2562 โดยการส่งออกในไตรมาส 4/2562 คาดว่าจะดีขึ้น เนื่องจากฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

การส่งออกของไทยไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ในปี 2563 ยังคงจะหดตัว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกของไทยไปยัง CLMV ในปี 2563 จะหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.0 ท่ามกลางอุปสงค์ที่มีแนวโน้มชะลอลง ประกอบกับราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ที่มีทิศทางลดลง โดยสงครามการค้าที่น่าจะยืดเยื้อไปจนถึงกลางปี 2564 จะยังคงเป็นปัจจัยฉุดรั้งหลักของการค้าโลกและส่งผลกระทบต่ออุปสงค์โลกให้ชะลอตัวลง ซึ่งจะกดดันราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ให้ทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ แม้ว่าองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) และพันธมิตร น่าจะปรับลดการผลิตน้ำมันต่อเนื่องไปในปี 2563 อย่างไรก็ดี ท่ามกลางอุปสงค์ที่หดตัวอย่างมาก ปริมาณน้ำมันในสต๊อกน่าจะอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะสร้างแรงกดดันเชิงลบต่อราคาน้ำมันต่อไป

นอกจากนี้เศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะยังคงมีโมเมนตัมชะลอลงอย่างต่อเนื่อง และบั่นทอนเศรษฐกิจประเทศในกลุ่มอาเซียนต่อไปโดยอุปสงค์ภายในประเทศอาเซียนที่อ่อนแรงจะส่งผลกระทบให้การส่งออกของไทยไปยังประเทศเหล่านี้ชะงักงัน ท่ามกลางความเสี่ยงเชิงลบที่เพิ่มสูงขึ้น

การส่งออกของไทยไปยังกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม รวมถึงอินโดนีเซีย น่าจะชะลอลงอย่างต่อเนื่อง โดยเศรษฐกิจสปป.ลาว เมียนมาและอินโดนีเซียน่าจะมีความเปราะบางมากที่สุด ส่งผลให้การส่งออกของไทยไปยังประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มจะหดตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอุปสงค์ภายในประเทศของเวียดนามและกัมพูชาน่าจะยังคงพอมีแรงขับเคลื่อนให้ยังเติบโตไปได้ แต่เศรษฐกิจโลกที่ซบเซาน่าจะยังคงกดดันอุปสงค์ของเวียดนามและกัมพูชาให้ชะลอลงต่อไปในระยะข้างหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad