อนาคตโลกยานยนต์ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนาคตโลกยานยนต์

อนาคตโลกยานยนต์

จากที่อุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกกำลังเข้าสู่ช่วงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างขนานใหญ่ ซึ่งมีเรื่องของการเชื่อมต่อ (connectivity) และระบบดิจิทัล (digitization) เป็นเทรนด์อันดับหนึ่งของอุตสาหกรรมยานยนต์ จากผลสำรวจ “20th KPMG Global Automotive Executive Survey (GAES)” ผู้บริหารส่วนใหญ่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ โดยผู้เล่นแต่ละรายจำเป็นต้องสร้างจุดแข็ง สร้างความรู้ความเชี่ยวชาญที่แตกต่างไปจากเดิม
         
ยังมีผลสำรวจด้านอื่นที่น่าสนใจ โดยมาจากการสำรวจผู้บริหารในอุตสาหกรรมยานยนต์และเทคโนโลยีเกือบ 1,000 ราย และผู้บริโภคประมาณ 2,000 รายทั่วโลก พบว่ามีความเป็นไปได้ที่อุตสาหกรรมยานยนต์จะถูกขับเคลื่อนโดยนโยบายและกฎข้อบังคับแต่ละประเทศมีแนวโน้มที่จะพัฒนาระบบส่งกำลังยานยนต์ที่ตรงกับวัตถุดิบ (raw material) ที่ประเทศนั้นมี เช่น สหรัฐอเมริกาจะมุ่งพัฒนาเครื่องยนต์สันดาปภายใน และยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง ในขณะที่ประเทศจีนจะเน้นระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
         
ในเชิงของตลาดค้าปลีกอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดย 30-50% ของร้านค้าปลีกจะหายไป หรือถูกเปลี่ยนสภาพไปภายในปี 2568 ขณะเดียวกันจะไม่มีผู้เล่นรายไหนที่สามารถคุมห่วงโซ่แห่งคุณค่าได้ทั้งหมด แต่ละองค์กรจะมีความร่วมมือกันมากขึ้นในอนาคต ในแง่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าจะซื้อรถยนต์ไฮบริดเป็นคันต่อไป และยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ กลับมาครองเทรนด์การผลิตอันดับ 1 ของปีชนะยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง
         
ดีเตอร์ เบคเกอร์ ประธานฝ่ายยานยนต์ของเคพีเอ็มจี ให้ข้อมูลว่า “อุตสาหกรรมยานยนต์จะต้องตระหนักว่าความไม่ปกติคือความปกติในยุคของการเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่มีคำตอบหนึ่งเดียวที่จะสามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกได้หมด ปัจจุบันต่างมีการจัดการที่แยกจากกันเป็นส่วนๆ แม้ว่าจะมีความเชื่อมโยงกันบ้าง องค์กรเหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลง ควบรวม หรือเปลี่ยนสภาพเนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเข้าสู่การปฏิวัติทางเทคโนโลยี เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเข้าสู่การปฏิวัติทางเทคโนโลยี
         
ทั้งนี้ ผู้บริหารทั่วโลกเชื่อว่าภายในปี 2583 ระบบขับเคลื่อนแต่ละระบบจะมีส่วนแบ่งตลาดที่ไม่แตกต่างกันมากนัก โดยเป็น BEVs 30%, ระบบไฮบริด 25%, FCEVs 23% และ ICEs 23% โดยมี BEVs เป็นผู้นำตลาด ในส่วนของผู้บริโภคนั้นไม่ต้องการเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนทางเลือกแบบเต็มรูปแบบ ระบบไฮบริดจะเป็นทางเลือกอันดับหนึ่งของผู้บริโภคสำหรับรถยนต์คันต่อไป โดยมี ICEs เป็นตัวเลือกที่ตามมา
         
ธิดารัตน์ ฉิมหลวง ประธานฝ่ายดูแลลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรม เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า แม้ประเทศไทยจะยังคงเป็นประเทศที่ผลิตรถยนต์สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตยานยนต์ชั้นนำของโลก แต่ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับคู่แข่งในภูมิภาคที่ต่างกำลังมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของตนเอง ประกอบกับความตึงเครียดทางการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน
         
ดังนั้น ผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย ต้องหาวิธีเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับตนเอง ยานยนต์ขับเคลื่อนไฟฟ้า สามารถช่วยพลิกโฉมอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยได้ เนื่องจากความต้องการ EVs ทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่ส่งเสริมการใช้ EVs และนโยบายทางภาษีที่ส่งเสริมการผลิต EVs ในประเทศไทยต่างเป็นโอกาสที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในการเพิ่มความหลากหลายในการผลิต สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างสูงสุด
         
จะเห็นได้ว่าโลกของการทำธุรกิจและการผลิตเปลี่ยนแปลงไปมากจากเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การประเมินสถานการณ์ การตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคก็ต้องสอดรับอย่างแข็งแกร่งด้วยเช่นกัน แม้กระทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ก็ต้องสร้างความต่างในตลาด และบางครั้งการประสบความสำเร็จอาจไม่สามารถเดินได้เพียงลำพัง แต่หากยังต้องมีพาร์ตเนอร์เข้ามาช่วยเสริมซึ่งกันและกันอีกด้วย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากปรับตัวได้ทันท่วงที ก็มีโอกาสสปีดได้เร็ว.
         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad