มาสเตอร์การ์ดชี้ นิวซีแลนด์ ไต้หวัน และสิงคโปร์ เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

มาสเตอร์การ์ดชี้ นิวซีแลนด์ ไต้หวัน และสิงคโปร์ เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ

มาสเตอร์การ์ดชี้ นิวซีแลนด์ ไต้หวัน และสิงคโปร์ เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ
สำหรับผู้หญิงมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก
ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ไทย ฮ่องกง และเวียดนาม ติด 20 อันดับแรกของโลกกับมาสเตอร์การ์ด

มาสเตอร์การ์ดชี้ นิวซีแลนด์ ไต้หวัน และสิงคโปร์ เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ สำหรับผู้หญิงมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ไทย ฮ่องกง และเวียดนาม ติด 20 อันดับแรกของโลก

คำบรรยายภาพ: 20 อันดับประเทศทั่วโลกที่ส่งเสริมผู้ประกอบการสตรี
ข้อมูลจากดัชนีผู้ประกอบการสตรีของมาสเตอร์การ์ดประจำปี พ.ศ. 2562

กรุงเทพฯ26 พฤศจิกายน 2562 – ประเทศนิวซีแลนด์ถูกจัดให้เป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และอันดับสองของโลก รองจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจสำหรับผู้หญิง มาสเตอร์การ์ดเผยดัชนีผู้ประกอบการสตรี (Mastercard Index of Women Entrepreneurs) เป็นฉบับที่สาม เพื่อฉลองให้กับประเทศที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้เติบโต ขณะเดียวกันเพื่อส่งสัญญาณให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันที่ยังคงมีอยู่ในสังคม

ดัชนีผู้ประกอบการสตรีของมาสเตอร์การ์ดรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานระหว่างประเทศ องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ยูเนสโก และรายงานการศึกษาความเป็นผู้ประกอบการระดับโลก (The Global Entrepreneurship Monitor) เพื่อติดตามความก้าวหน้าและความสำเร็จของผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้หญิงใน 58 ประเทศ (คิดเป็นเกือบร้อยละ 80 ของแรงงานหญิงทั่วโลก) พิจารณาจากสามองค์ประกอบ ได้แก่ 1) ผลลัพธ์ด้านความก้าวหน้าของสตรี 2) สินทรัพย์ด้านความรู้และการเข้าถึงทางการเงิน และ 3) สภาพที่เอื้อต่อการประกอบกิจการ

รายงานนี้ได้ตอกย้ำถึงความสามารถของผู้หญิงในการทำธุรกิจและการมีส่วนร่วมในการทำงานที่มากขึ้นในประเทศที่เปิดกว้างอย่างนิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ประเทศเหล่านี้มีอัตราการสนับสนุนการทำธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สูงและมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ ผู้หญิงในประเทศเหล่านี้สามารถเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน การให้บริการด้านการเงินและหลักสูตรให้ความรู้ในด้านต่างๆ โดยทั่วไปแล้วประเทศเหล่านี้มีบรรทัดฐานทางสังคมที่ส่งเสริมความสำเร็จของบุคคลที่มีความพยายาม คิดสร้างสรรและกล้าได้กล้าเสีย รวมถึงให้โอกาสผู้หญิงอย่างเท่าเทียมในการเป็นผู้นำทางธุรกิจ ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และให้การยอมรับในฐานะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งร้อยละ 80 จาก 20 อันดับประเทศทั่วโลกที่ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการสตรี เป็นประเทศที่มีฐานรายได้สูง

20 อันดับประเทศที่ส่งเสริมผู้ประกอบการสตรี
อันดับ
ประเทศ
คะแนนความเกื้อหนุนต่อผู้ประกอบการสตรี
อันดับ
ประเทศ
คะแนนความเกื้อหนุนต่อผู้ประกอบการสตรี
1
สหรัฐอเมริกา
70.3
11
ฟิลิปปินส์
65.1
2
นิวซีแลนด์
70.2
12
ฝรั่งเศส
64.8
3
แคนาดา
69.0
13
ออสเตรเลีย
64.7
4
อิสราเอล
68.4
14
ไทย
64.62
5
ไอร์แลนด์
67.7
15
เขตปกครองพิเศษฮ่องกง
64.61
6
ไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน)
66.2
16
สเปน
64.5
7
สวิตเซอร์แลนด์
65.8
17
เดนมาร์ก
64.3
8
สิงคโปร์
65.6
18
โปตุเกส
64.2
9
สหราชอาณาจักร
65.6
19
เวียดนาม
63.4
10
โปแลนด์
65.1
20
โคลอมเบีย
63.3
คำบรรยายตารางเจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้หญิง (จากร้อยละของเจ้าของธุรกิจทั้งหมด) เป็นตัวชี้ค่าดัชนีผู้ประกอบการสตรีคำนวณจาก องค์ประกอบในข้างต้น

จาก 58 ประเทศในดัชนีนี้ มี 8 ประเทศที่มีการเลื่อนอันดับมากกว่า 5 อันดับในแต่ละปี ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีการเลื่อนอันดับเร็วที่สุดและเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน คือ อินโดนีเซีย (+13 อันดับ) ไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน) (+9 อันดับ) และไทย(+5 อันดับ)

ในอีกด้านหนึ่ง ผู้หญิงที่อยู่ในประเทศที่อยู่อันดับล่างของดัชนีนี้ไม่ได้รับโอกาสในการทำงานในตำแหน่งระดับสูง ถูกจำกัดโอกาสทางธุรกิจเนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอ  โอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินต่ำ ได้รับโอกาสการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาน้อย และระบบธุรกิจและการเงินที่ด้อยพัฒนาทำให้การทำธุรกิจเป็นเรื่องยาก ที่สำคัญ สังคมและกฎระเบียบทางสังคมไม่สนับสนุนให้พวกเธอทำงาน ไม่สนับสนุนความก้าวหน้า และไม่สนับสนุนให้ผู้หญิงสวมบทบาทผู้นำ

“สิ่งที่เห็นได้ชัดจากการศึกษานี้คือ ความไม่เท่าเทียมทางเพศยังปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วทุกมุมโลกแม้จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งไม่เกี่ยวกับการเป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา เพราะแม้กระทั่งในประเทศที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจก็ยังไม่สามารถผลักดันให้ผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจได้อย่างเต็มศักยภาพ สถานการณ์เช่นนี้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อความสำเร็จของผู้หญิงทั้งทางสังคม อาชีพ เศรษฐกิจและการเมือง ทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคมในภาพรวม ด้วยเหตุนี้มาสเตอร์การ์ดจึงเดินหน้าสู้กับปัญหานี้ทั่วทุกมุมโลก โดยจัดหาเครื่องมือและโครงข่ายที่จะผลักดันสังคมสู่การเติบโตแบบทั่วถึง และนำเศรษฐกิจดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับทุกคนในทุกที่” จูเลียน โลห์ รองประธานกรรมการบริหารความร่วมมือระหว่างองค์กร ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มาสเตอร์การ์ด กล่าว

ร้อยละของผู้หญิงที่เป็นเจ้าของธุรกิจจากจำนวนเจ้าของธุรกิจทั้งหมดใน 5 ประเทศอันดับต้นของโลกและประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
อันดับ
ประเทศ
ร้อยละ
อันดับ
ประเทศ
ร้อยละ
1
ยูกันดา
38.2%
27
จีนแผ่นดินใหญ่
25.6%
2
กานา
37.9%
33
ไทย
23.4%
3
บอตสวานา
36.0%
40
อินโดนีเซีย
20.3%
4
สหรัฐอเมริกา
35.1%
41
ไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน)
20.2%
5
นิวซีแลนด์
31.8%
42
เขตปกครองพิเศษฮ่องกง
19.8%
6
รัสเซีย
31.2%
46
ญี่ปุ่น
17.3%
8
ออสเตรเลีย
30.9%
47
เกาหลี
16.8%
20
เวียดนาม
27.0%
48
มาเลเซีย
16.2%
24
สิงคโปร์
26.3%
53
อินเดีย
7.4%
25
ฟิลิปปินส์
25.8%
56
บังกลาเทศ
4.4%

“ธุรกิจที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของและเป็นผู้นำสามารถสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ ทำให้ทุกชีวิตดีขึ้น จากการศึกษานี้ มาสเตอร์การ์ดได้ส่องไฟไปสู่กลุ่มที่ไม่ได้รับการพูดถึงมากนัก เพราะทุกวันนี้ยังมีความไม่เท่าเทียมและการกีดกันที่ดึงรั้งผู้หญิงไว้ มาสเตอร์การ์ดเชื่อว่าความคิดที่ดีเริ่มต้นได้ทุกที่ และถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลและองค์กรต่างๆ จะร่วมมือกันผลักดันให้ผู้หญิงได้ก้าวหน้าทางธุรกิจมากขึ้น โดยกำจัดอคติทางเพศและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาและโอกาสทางการเงิน” แอนน์ แคนส์ รองประธานกรรมการบริหาร มาสเตอร์การ์ด กล่าว

สามารถดาวน์โหลด รายงานดัชนีผู้ประกอบการสตรีฉบับเต็ม ได้ที่นี่

# # #
วิธีการรวบรวมผลสำรวจ
ดัชนีผู้ประกอบการสตรีของมาสเตอร์การ์ด ประจำปี พ.ศ. 2562 เป็นรายงานฉบับที่ 3 ที่ติดตามความก้าวหน้าและความสำเร็จของผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้หญิงใน 58 ประเทศทั่วโลก ด้วยการเพิ่มสาธารณรัฐแองโกลาในฐานข้อมูลของกลุ่มประเทศแถบตะวันออกกลางและแอฟริกา ดัชนีนี้ได้ขยายความพยายามที่จะติดตามปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดช่องว่างทางเพศของผู้ประกอบการ  ผลการศึกษาฉบับนี้ชี้ให้เห็นถึงสภาวะความแตกต่างของแรงงานหญิงใน 58 ประเทศใน 3 มิติ ได้แก่ 1) ความก้าวหน้าทางอาชีพของสตรี 2) สินทรัพย์ด้านความรู้และการเข้าถึงทางการเงิน และ 3) สภาพที่เอื้อต่อการประกอบกิจการ และยังชี้ให้เห็นถึงปัจจัยและสภาวะต่างๆ ที่สำคัญที่ช่วยลดช่องว่างทางเพศของผู้ประกอบการที่เป็นผู้หญิง รวมถึงปัจจัยและสภาวะที่จำกัดและกีดกันความสามารถของผู้หญิงในการทำธุรกิจ

เกี่ยวกับมาสเตอร์การ์ด
Mastercard (NYSE: MA) www.mastercard.com  เป็นบริษัทเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการชำระเงินระดับโลก เครือข่ายการประมวลผลการชำระเงินทั่วโลกของเราเชื่อมต่อผู้บริโภค สถาบันการเงิน ผู้ประกอบการ หน่วยงานรัฐบาล และธุรกิจในกว่า 210 ประเทศและดินแดนต่างๆ ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของมาสเตอร์การ์ดช่วยให้ธุรกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การจับจ่ายซื้อสินค้า การท่องเที่ยว การดำเนินธุรกิจ และการจัดการทางการเงิน เป็นเรื่องง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง สามารถติดตามเราได้บนทวิตเตอร์ @MastercardAP หรือร่วมสนทนากับเราที่ Beyond the Transaction Blog และ subscribe  เพื่อติดตามข่าวสารล่าสุดผ่าน Engagement Bureau

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad