ยูเอ็นหนุนไทยศูนย์เรียนรู้ระบบอาหารและการเกษตรเพื่อ'อาหารกลางวัน-นมโรงเรียน' - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ยูเอ็นหนุนไทยศูนย์เรียนรู้ระบบอาหารและการเกษตรเพื่อ'อาหารกลางวัน-นมโรงเรียน'

ยูเอ็น พร้อมหนุน ‘ไทย’ เป็น ‘ศูนย์เรียนรู้ระบบอาหารและการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน และนมโรงเรียน’


ยูเอ็นหนุนไทยศูนย์เรียนรู้ระบบอาหารและการเกษตรเพื่อ'อาหารกลางวัน-นมโรงเรียน'
ยูเอ็นหนุนไทยเป็นศูนย์เรียนรู้ระบบอาหารและการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันและนมโรงเรียน พร้อมร่วมมือนโยบายเทคโนโลยีการเกษตรBig Data แลกเปลี่ยนข้อมูลกับไทย
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2562 สำนักที่ปรึกษาการเกษตรของไทยประจำองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วย นายพลพิศิลป์ สุวรรณชัย ผู้อำนวยการกองประมงต่างประเทศ นายธนวรรษ เทียนสิน อัครราชทูต (ฝ่ายเกษตร) และผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ (FAO/IFAD/WFP) ณ กรุงโรม น.ส.รัชนก แสงเพ็ญจันทร์ ที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) และ นางศุภจิต ศรีอริยวัฒน์ เลขานุการเอก (ฝ่ายเกษตร) ได้เข้าร่วมการประชุมหารือกับ4ผู้บริหารของยูเอ็นได้แก่ Mr.David Kaatud ผู้อำนวยการด้านความร่วมมือของโครงการอาหารโลก (World Food Programme หรือ WFP)
โดยประเด็นการหารือได้เจารจาในประเด็นถึงความเป็นไปได้ที่WFPจะสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็น "ศูนย์เรียนรู้ด้านระบบอาหาร (Food system)โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน และโครงการนมโรงเรียน" (Knowledge hub on food system, home-grown school feeding and school milk programme) ในระดับภูมิภาค เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ของไทยกับองค์กรระหว่างประเทศ และประเทศในภูมิภาค ผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและไตรภาคี (South-South and Triangular Cooperation - SSTC) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อย ซึ่งไทยมีองค์ความรู้ ประสบการณ์และนวัตกรรมเกษตรที่พร้อมจะถ่ายทอดให้ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคร่วมกับWFP เพื่อสานความร่วมมือที่แข็งแกร่งในการบรรลุเป้าหมายหยุดยั้งความหิวโหย (Zero Hunger) และภาวะทุพโภชนาการในระดับภูมิภาคต่อไป ซึ่งปัจจุบันไทยมีโครงการความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมาร์เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ตลอดจนประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก และประเทศในภูมิภาคแอฟริกาบางประเทศ
ทั้งนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงดำรงตำแหน่งทูตพิเศษของโครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ ด้านโครงการอาหารโรงเรียน (Special Ambassador of WFP on School Feeding) ด้วย
ขณะที่ นายเดวิด (Mr.David ) กล่าวว่า โครงการอาหารโลกได้สนับสนุนโครงการอาหารในโรงเรียน (School Feeding) และโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียน (School Milk Programmme) ให้แก่ประเทศต่างๆ กว่า 70 ประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยมีความรู้และประสบการณ์การดำเนินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน และโครงการนมโรงเรียนมาอย่างยาวนาน จากความสำเร็จของไทย จะเป็นต้นแบบและยินดีสนับสนุนพร้อมร่วมมือกับประเทศไทยให้เป็นศูนย์เรียนรู้ฝึกอบรมและเผยแพร่วิทยาการและการบริหารจัดการระบบอาหาร การเกษตรเพื่ออาหารกลางวันและนมโรงเรียนให้กับประเทศต่างๆ
นอกจากนี้ นายอลงกรณ์ และคณะ ยังได้ประชุมกับอีก3ผู้บริหารของเอฟเอโอ ได้แก่ Mr.Arni Mathiesen ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ FAO ด้านประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ Mr.Máximo Torero Cullen ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ FAO ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และ Mr.Bukar Tijani ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ FAO ด้านเกษตรและปกป้องผู้บริโภคและเพื่อขยายความร่วมมือกับโครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ
โดยผู้บริหารของเอฟเอโอ.แสดงความชื่นชมไทยในการช่วยพัฒนาประมงและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน (Blue Growth) จากความสำเร็จของไทยในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) และการพัฒนาภาคเกษตรกรรมจนเป็นประเทศชั้นนำของโลกด้านเกษตรและอาหารทั้งนี้เอฟเอโอ ให้ความสนใจอย่างมากต่อนโยบายและโครงการใหม่ๆ ของไทยเช่นโครงการรีสอร์ตชุมชน (Fisherman & Farm Village Stay) โครงการฐานข้อมูล Big Data โครงการเกษตร 4.0 โครงการศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร โครงการเกษตรแปลงใหญ่โครงการเกษตรพาณิชย์ออนไลน์ ซึ่งเอฟเอโอเป็นต้น โดยจะขยายความร่วมมือกับประเทศไทยในกรอบทวิภาคีและในกรอบอาเซียน และหวังว่าประเทศไทยจะช่วยถ่ายทอดเทคนิควิทยาการต่างๆให้กับประเทศต่างๆ ร่วมกับเอฟเอโอ
อย่างไรก็ตาม ไทยในฐานะประธานอาเซียนและผู้ส่งออกอาหารทะเลอันดับต้นของโลกพร้อมที่จะกระชับความร่วมมือกับเอฟเอโอในด้านเกษตร อาหารและการพัฒนาประมงและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน (Blue Growth) และพร้อมสนับสนุนทางด้านเทคนิควิชาการด้านเกษตรกับประเทศกลุ่มเป้าหมายของเอฟเอโอ ภายใต้แนวทางความร่วมมืออย่างใกล้ชิด (Hand in Hand Initiative) ของท่านผู้อำนวยใหญ่ในทุกกรอบความร่วมมือรวมทั้งโครงการใหม่ๆของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งตระหนักถึงการที่ดิจิทัลเทคโนโลยีทำให้โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเริ่มโครงการเกษตรอัจฉริยะสมาร์ตฟาร์มทั้งในการผลิตและการค้าออนไลน์ ซึ่งกลุ่มเกษตรกรคนรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) จะสามารถช่วยในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบัน มีการใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มเกิดอาชีพเกี่ยวเนื่องเกษตรและอาหารในประเทศไทยเช่นธุรกิจ Cloud Kitchen เป็นการทำธุรกิจร้านอาหารตามสั่งที่บ้านผ่าน Mobile Application และนำส่งลูกค้าตามต้องการด้วยระบบบริการส่ง (Delivery services) ทำให้การเข้าถึงอาหารได้ในปริมาณที่ต้องการ สะดวกรวดเร็ว และป้องกันอาหารเหลือทิ้ง (Food Waste) ซึ่งเกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการขายสินค้าออนไลน์ได้เอง จะสามารถแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรจากพ่อค้าคนกลางได้ รวมทั้งการที่กระทรวงเกษตรฯจัดตั้งคณะกรรมการโลจิสติกส์เกษตรมีผู้ช่วยรัฐมนตรีนราพัฒน์ แก้วทองเป็นประธานทำหน้าที่ศึกษาการบริหารโลจิสติกส์ภาคเกษตรจากฟาร์มถึงผู้บริโภครวมทั้งแก้ไขปัญหาอาหารสูญเสียและอาหารเหลือทิ้ง (Food Lost Food Waste) ด้วย
ปัจจุบันไทยกำลังขับเคลื่อน "นโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0" พัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอลมาสนับสนุนการผลิตภาคเกษตร เช่น "โครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (AgriTech and Innovation Center)" เป้าหมาย 77 จังหวัด ซึ่งเป็นการบูรณาการของ 6 หน่วยงาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันอุดมศึกษา สถาบันการเงินกลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร ซึ่งพร้อมเปิดศูนย์ ทั่วประเทศภายในปีหน้า และ "โครงการ Quick Win บริการ 4.0" เพื่อพัฒนาระบบบริการและบริหารออนไลน์ของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ แบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อลดขั้นตอนการอนุมัติการออกใบอนุญาตและการออกใบรับรอง เพื่อให้การบริการประชาชนเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเปิดบริการทุกหน่วยงานในสังกัดภายในต้นปีหน้า และขอบคุณเอฟเอโอ.ที่พร้อมจะสนับสนุนการพัฒนาระบบBig Data และ AI รวมทั้งระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการเกษตรโดยจะรายงานผลการหารือกับ3องค์กรของยูเอ็น เอฟเอโอ โครงการอาหารโลกและกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรมต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน เพื่อสานต่อข้อหารือในครั้งนี้ไปสู่การปฏิบัติโดยเร็วต่อไประหว่างนี้ผู้แทนถาวรของกระทรวงเกษตรประจำเอฟเอโอ.จะเป็นหลักในการประสานงานอย่างใกล้ชิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad