แล้งจนไม่พอปลูกข้าว นักวิชาการแนะเร่งเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน รับมือแล้งวิกฤต - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

แล้งจนไม่พอปลูกข้าว นักวิชาการแนะเร่งเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน รับมือแล้งวิกฤต

แล้งจนไม่พอปลูกข้าว นักวิชาการแนะเร่งเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน รับมือแล้งวิกฤต


เหมืองแร่ทองคำชาตรี
ภาพเหมืองแร่ทองคำชาตรีก่อนหน้าการปิดเหมืองทอง / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ปรัชญ์ รุจิวนารมย์
นักวิชาการด้านสิทธิและสิ่งแวดล้อมชี้ รัฐบาลและผู้ประกอบการเหมืองทองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งปิดเหมืองทอง เพราะไม่มีการฟื้นฟูแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองหลังหยุดดำเนินกิจการ พร้อมย้ำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนให้ถี่ถ้วน ก่อนอนุญาติให้เหมืองทองคำชาตรี จ.พิจิตร เปิดดำเนินการอีกครั้ง
หลังจากที่มีกระแสข่าวว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ มีแผนที่จะไกล่เกลี่ยคดีความในชั้นอนุญาโตตุลาการกับบริษัทผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำจากออสเตรเลีย คิงส์เกท คอนโซลิเดตเต็ด ลิมิเต็ด โดยการอนุญาตให้บริษัท อัครา รีซอร์สเซส ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท คิงส์เกท เปิดดำเนินการเหมืองทองคำชาตรีอีกครั้ง จากกรณีที่รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งฉบับที่ 72/2559 ระงับการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำในประเทศไทยตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.255
อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ กล่าวว่า แผนการอนุญาตให้บริษัท อัครา รีซอร์สเซส กลับมาดำเนินกิจการเหมืองทองคำที่ จ.พิจิตร อีกครั้ง เพื่อเป็นการไกล่เกลี่ยคดีความ ไม่ให้รัฐบาลไทยต้องจ่ายเงินชดเชยการปิดเหมืองทองแก่บริษัท คองส์เกท เป็นจำนวน 30,000 ล้านบาท นับเป็นการตัดสินใจที่สุ่มเสี่ยงอย่างมากที่จะทำให้ชาวบ้านรอบเหมืองทอง ต้องกลับมาทนทุกข์ทรมานกับภัยคุกคามต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารพิษจากการทำเหมืองทองที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเมื่อผู้ประกอบการเหมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน จากการทำเหมือง ตามที่คำสั่งคสช.ได้ระบุไว้
“คำสั่งคสช.ฉบับที่ 72/2559 นอกจากจะมีคำสั่งให้ผู้ประกอบกิจการเหมืองทองในประเทศไทยระงับการดำเนินกิจการไว้ก่อน เพื่อรอการตรวจสอบวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาจากการทำเหมืองทอง คำสั่งฉบับนี้ยังสั่งให้ผู้ประกอบการเหมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม  และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมจากผลกระทบของการทำเหมืองอีกด้วย” ไชยณรงค์ กล่าว
“อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่มีคำสั่งคสช.ฉบับนี้ออกมาเป็นเวลาเกือบ 3 ปีแล้ว แต่ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อนสารพิษจากการทำเหมืองในสิ่งแวดล้อม ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา อีกทั้งยังไม่มีการดำเนินการใดๆจากทั้งบริษัทผู้ประกอบการเหมืองและหน่วยงานที่รับผิดชอบในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมรอบเหมือง ทำให้ประชาชนจำนวนมากยังต้องทนทุกข์กับการสัมผัสการสารพิษเช่น ไซยาไนด์ แมงกานีส และสารหนู ในสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”
โรงเรียนข้างเหมือง
ป้ายโรงเรียนร้าง หลังจากหลายชุมชนที่ได้รับผลกระทบต้องย้ายที่อยู่อาศัย เมื่อมีการเปิดกิจการเหมืองทองคำในพื้นที่ //ขอบคุณภาพจาก: Chainarong Setthachua
นอกจากนี้ ไชยณรงค์ กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้ดำเนินการใดๆที่จะบังคับให้ผู้ประกอบการเหมืองต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในข้อกำหนดที่คำสั่งคสช.ฉบับดังกล่างระบุเอาไว้ด้วย
คำสั่งคสช.ฉบับที่ 72/2559 ซึ่งลงประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2559 ระบุว่า คำสั่งคสช.ในการการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคําฉบับนี้ มีที่มาจากการร้องเรียนและคัดค้านการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคํา เนื่องจากการประกอบกิจการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ซึ่งได้พบว่าทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่โครงการทําเหมืองแร่ทองคําหลายแห่ง จึงมีความจําเป็นต้องกําหนดมาตรการในการป้องกันและระงับ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน  รวมทั้งกําหนดมาตรการในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคํา
โดยข้อที่ 3 ของคำสั่งคสช.ฉบับนี้ กำหนดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับประทานบัตรและใบอนุญาตต่างๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคํา ระงับการประกอบกิจการไว้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2560 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีมติเป็นอย่างอื่น แต่ยังต้องทำหน้าที่ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้กำกับดูแลการฟื้นฟู
คำสั่งคสช.
นอกจากนี้ ยังมีการระบุไว้ในข้อที่ 7 ของคำสั่งว่า ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำ และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมตามมาตรการ EIA ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ อีกด้วย
ดังนั้น ไชยณรงค์ จึงกล่าวย้ำว่า ก่อนหน้าที่รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมจะอนุญาตให้เหมืองทองคำชาตรีกลับมาดำเนินกิจการอีกครั้ง รัฐมนตรีสุริยะ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในรัฐบาล ควรมาพบคนที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองว่าพวกเขาต้องทนทุกข์เพียงใด และให้ใช้ใจและสามัญสำนึกของการเป็นมนุษย์ในการพิจารณาว่าควรหรือไม่ที่จะเปิดให้ทำเหมืองทองอีกครั้ง
อนึ่ง ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2561 คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำ อันเนื่องมาจากคำสั่งปิดเหมืองทอง ได้รายงานผลการศึกษาโครงการ “การสำรวจตรวจสอบโอกาสการรั่วไหลของสารพิษจากบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 (TSF1)” โดย ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะ พบว่า บ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 มีการรั่วซึมจริง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้สารโลหะหนักที่กักเก็บในบ่อกักเก็บกากแร่ของเหมือง รั่วซึมปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม และกระทบกับสุขภาพของประชาชนรอบเหมือง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ที่มา:GreenNews

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad