"พาณิชย์"จับมือพันธมิตร พัฒนาร้านโชวห่วยสู่สมาร์ทโชวห่วย ตั้งเป้า 3 หมื่นรายทั่วประเทศ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

"พาณิชย์"จับมือพันธมิตร พัฒนาร้านโชวห่วยสู่สมาร์ทโชวห่วย ตั้งเป้า 3 หมื่นรายทั่วประเทศ

"พาณิชย์"จับมือพันธมิตร พัฒนาร้านโชวห่วยสู่สมาร์ทโชวห่วย ตั้งเป้า 3 หมื่นรายทั่วประเทศ

img
"พาณิชย์"จับมือพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เดินหน้าพัฒนาร้านโชวห่วยจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมสู่สมาร์ทโชวห่วย ที่มีการนำรูปแบบค้าปลีกสมัยใหม่ เทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการร้านค้า มั่นใจช่วยสร้างความเข้มแข็งให้โชวห่วยและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ตั้งเป้าพัฒนาาเจาะลึกทั้งในหมู่บ้าน ตำบล ชุมชน ตั้งเป้าปีนี้ 3 หมื่นรายทั่วประเทศ จากที่มีอยู่ทั้งหมด 4 แสนราย

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเปิดโครงการพัฒนาร้านค้าปลีกยุคใหม่สู่สมาร์ทโชว์ห่วย ว่า โครงการพัฒนาร้านค้าปลีกสู่สมาร์ทโชห่วย เป็นโครงการที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะเข้ามาร่วมกันพัฒนาร้านค้าโชห่วยไทยให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างยั่งยืนและสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากของประเทศ โดยสมาร์ทโชว์ห่วย คือ การปรับรูปแบบร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมสู่รูปแบบใหม่ที่มีความทันสมัย มีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อให้สามารถนำไปอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคและเพิ่มขีดความสามารถในแข่งขันที่จะสู้กับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ได้

"ได้ตั้งเป้าหมายที่จะมุ่งเน้นพัฒนาโชว์ห่วยในหมู่บ้าน ตำบล ชุมชน โดยปีนี้ตั้งเป้าไว้ที่ 3 หมื่นรายทั่วประเทศ จากทั้งหมด 4 แสนราย ซึ่งการพัฒนาร้านค้าโชว์ห่วยขึ้นอยู่กับความเหมาะสม มีทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ หรือถ้าในหมู่บ้าน ก็เป็นขนาดจิ๋ว"นายจุรินทร์กล่าว

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้หารือกับหน่วยงานพันธมิตร 16 หน่วยงานเพื่อหาแนวทางการพัฒนาร้านค้าโชวห่วย โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการปรับภาพลักษณ์ร้านค้า ด้านการส่งเสริมการตลาดและบริการเสริมเพิ่มรายได้ ด้านส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการร้านค้า และด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

ทั้งนี้ สมาคมการค้าและซัปพลายเออร์ จะมาช่วยปรับภาพลักษณ์ร้านค้า ส่งเสริมการตลาดและบริการเสริมเพิ่มรายได้ สถาบันการศึกษา จะช่วยสร้างองค์ความรู้และสร้างทีมพี่เลี้ยงพัฒนาร้านค้า สถาบันการเงินจะเข้ามาสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ส่วนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและผู้ให้บริการ Application จะช่วยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและฐานข้อมูล เพื่อบริหารจัดการร้านค้าให้มีประสิทธิภาพ

ขณะที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จะทำการเชื่อมโยงสินค้า SMEs สินค้า OTOPและสินค้าชุมชน จากท้องถิ่นเข้าไปจำหน่ายในร้านค้าโชว์ห่วย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มช่องทางการขาย เพิ่มรายได้ ให้กับผู้ผลิตสินค้าชุมชนอีกทางหนึ่ง อันจะส่งผลให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างยั่งยืน บรรลุเป้าหมายตามแนวนโยบายของกระทรวงพาณิชย์และของรัฐบาล

ปัจจุบัน มูลค่าธุรกิจค้าปลีกในช่วง 3 ปีที่ผ่าน จะขยายตัวเฉลี่ย 6-7% โดยปีที่ผ่านมา มีมูลค่ารวม 16.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 13% ของจีดีพีประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad