อิปซอสส์ ประเทศไทย ขานรับบริษัทแม่ ประกาศทิศทางมุ่งเป้า “ผู้เปลี่ยนเกม – Game Changers” พลิกโฉมตลาดวิจัยโลก ปล่อยแคมเปญ “บี ชัวร์” เจาะทะลุทุกมิติการขยับตัวของผู้บริโภคและตลาด หนุนลูกค้าพลิกบทเป็น “ผู้คุมเกม” แทนการวิ่งไล่ตามความเคลื่อนไหวเหมือนในอดีต - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562

อิปซอสส์ ประเทศไทย ขานรับบริษัทแม่ ประกาศทิศทางมุ่งเป้า “ผู้เปลี่ยนเกม – Game Changers” พลิกโฉมตลาดวิจัยโลก ปล่อยแคมเปญ “บี ชัวร์” เจาะทะลุทุกมิติการขยับตัวของผู้บริโภคและตลาด หนุนลูกค้าพลิกบทเป็น “ผู้คุมเกม” แทนการวิ่งไล่ตามความเคลื่อนไหวเหมือนในอดีต

อิปซอสส์ ประเทศไทย ขานรับบริษัทแม่  ประกาศทิศทางมุ่งเป้า “ผู้เปลี่ยนเกม – Game Changers”  พลิกโฉมตลาดวิจัยโลก ปล่อยแคมเปญ “บี ชัวร์”  เจาะทะลุทุกมิติการขยับตัวของผู้บริโภคและตลาด หนุนลูกค้าพลิกบทเป็น “ผู้คุมเกม”  แทนการวิ่งไล่ตามความเคลื่อนไหวเหมือนในอดีต


อิปซอสส์เชื่อ.. ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับงานวิจัย ไม่มีแบบการวิจัยรูปแบบเดียวที่ใช้ได้กับทุกเงื่อนไขที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละราย   จึงพัฒนาโมเดลโซลูชั่นงานวิจัยพร้อมใช้ถึง 75 โซลูชั่นสำหรับตลาดโลก และ 9 โซลูชั่นหลักสำหรับประเทศไทย พร้อมตอกย้ำจุดแข็ง บริการที่เน้น Customized Research Solutions. ซึ่งเป็นรูปแบบการวิจัยที่ดีที่สุดในการทำความเข้าใจ สังคม ตลาด และผู้คน ในปัจจุบัน
                                                                                                                                                                   บริษัท อิปซอสส์  เป็นบริษัทระดับโลกด้านการสำรวจและวิจัยตลาดสัญชาติฝรั่งเศส  เริ่มก่อตั้งในปี  2518 (1975)  นับเป็นการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงและต่อเนื่องมานานถึง 44 ปี  ปัจจุบันได้ขยายบริการครอบคลุม  89 ประเทศทั่วโลก  โดยมีลูกค้ารายใหญ่กว่า  5,000 ราย  ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญถึง 18,000  คน   และให้บริการในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ อาทิเช่น กลุ่มสินค้าประเภทอุปโภค-บริโภค   กลุ่มสื่อ  กลุ่มการเงิน   กลุ่มสินค้าสุขภาพ  กลุ่มเทคโนโลยี  กลุ่มยานยนต์  กลุ่มท่องเที่ยว   กลุ่มสันทนาการ   องค์กรภาครัฐ  กลุ่มเอ็นจีโอ   และสถาบันต่างๆ   โดยให้บริการในลักษณะโซลูชั่นครบวงจร  ครบเครื่องเรื่องบริการงานวิจัย
จากการบริการที่โดดเด่นและแตกต่าง  ส่งผลให้ อิปซอสส์  มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดและสวนกระแส  โดยมีผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรก ของปี 2562  เป็นมูลค่าสูงถึง  903.4 ล้านยูโร  นับเป็นการเติบโตเฉลี่ยในอัตรา 14.9%  เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา   และมีการเติบโตในทุกกลุ่มธุรกิจที่อิปซอสส์ได้มีการให้บริการ  ยิ่งกว่านี้ ยังมีการเติบโตในตลาดภูมิภาคทุกๆตลาด  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ถือเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตสูงสุดอันดับหนึ่ง  โดยหากดูจาก Organic Growth แล้วจะเติบโตในอัตรา 7.2%  ตามด้วย ทวีปอเมริกา และ ยุโรป (รวมตะวันออกกลาง และอัฟริกา) ในอัตรา 2.6% และ 1.5% ตามลำดับ

อิปซอสส์ ผู้เชี่ยวชาญในการบริการงานวิจัยแบบ Customized Research Solution  มีโซลูชั่นพร้อมบริการในมือมากที่สุด  ชูจุดต่างด้วยบริการที่เหนือระดับแบบ “คู่หู คู่คิด”  ตอบรับความต้องการของลูกค้าปัจจุบันที่ต้องการมากกว่าแค่ผลสรุปรายงานการวิจัยธรรมดา
ณ เอ็มไพร์ ทาวเวอร์  วันที่ 21 ตุลาคม 2562  บริษัท อิปซอสส์ (ประเทศไทย) จำกัด  (Ipsos (Thailand) Co.,Ltd.)  ผู้นำระดับโลกด้านการวิจัยตลาดและสำรวจความคิดผู้บริโภค  ผู้ให้บริการงานวิจัยรูปแบบ Customized Research  Solution  โซลูชั่นครบวงจร แบบ One Stop Service  ที่ได้พัฒนาโมเดลโซลูชั่นการวิจัยพร้อมใช้มากที่สุดถึง 75 โซลูชั่นสำหรับตลาดโลก  และ 9 โมเดลโซลูชั่นสำหรับตลาดวิจัยไทย นำโดย นางสาว อุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วย นาย อิษณาติ วุฒิธนากุล หัวหน้าฝ่ายองค์กรลูกค้า ได้ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลขนในการประกาศทิศทางขานรับแนวทางบริษัทแม่ มุ่งเป้าเป็น   “ผู้เปลี่ยนเกม -Game Changers”  รับกระแสโลกธุรกิจ  พร้อมตอกย้ำจุดยืนการให้บริการแบบ “คู่หู คู่คิด” ที่เป็นมากกว่าการเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ  ผ่านแคมเปญ “บี ชัวร์”  (Be Sure) ” ที เจาะทะลุทุกมิติการขยับตัวของผู้ บริโภคและตลาด  หนุนลูกค้าพลิกบทเป็น “ผู้คุมเกม”  แทนการวิ่งไล่ตามความเคลื่อนไหวเหมือนในอดีต ให้ไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก
นางสาว อุษณา จันทร์กล่ำ เปิดเผยว่า  “อิปซอสส์ ประเทศไทย ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจตั้งแต่ปี  2538  (1995 ) โดยเติบโตอย่างมั่นคงและต่อเนื่องนับเป็นเวลากว่า 24 ปี ให้บริการใน 10 อุตสาหกรรมหลัก   ประกอบด้วย  กลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค  (Consumer Packed Goods)  กลุ่มเทคโนโลยีและการสื่อสาร (Telecommunications & Technology) กลุ่มธนาคารและบริการด้านการเงิน  (Banking & Finance)  กลุ่มยานยนตร์  (Automotive)  กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (F&B)  กลุ่มธุรกิจอสังหา   (Real Estate)  กลุ่มสุขภาพ  (Healthcare)  กลุ่มท่องเที่ยว  (Travel & Tourism)  กลุ่มโรงแรม (Hotel)  และ กลุ่มอีคอมเมิร์ช (eCommerce)    โดยบริษัทได้รับความเชื่อถือและความไว้วางใจจากลูกค้าแบรนด์ใหญ่รายสำคัญในตลาดประเทศไทยมากมาย
ด้วยความเชื่อที่ว่า ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับงานวิจัยรูปแบบเดียวที่ใช้ได้กับลูกค้าทุกรายเพราะต่างก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน   สำหรับตลาดประเทศไทย  บริษัทได้มีการพัฒนาโมเดลโซลูชั่นขึ้นเป็นพิเศษถึง  9 โซลูชั่น กล่าวคือ
1. Market   Strategy & Understanding2. Innovation 3. Customer Experience                                                                                                     4. Mystery Shopping5. Brand Health Tracking6. Qualitative Research (UU)7. Creative Excellence                                                                                                                                      8.        Social Intelligence Analytics                                                                                                                                                                     9 Observer
ทั้งนี้บริษัทต้องการเพิ่มคุณค่าของการบริการ โดยมีการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ล้ำสมัยเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจและการคาดการณ์แนวโน้มของอนาคตที่แม่นยำ ทำให้ผลวิจัยของบริษัทเป็นเหมือนเข็มทิศนำทาง ลูกค้าสามารถใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจและวางแผนธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่ดีทีสุด
นางสาว อุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ  เปิดเผยเพิ่มเติมว่า  “อิปซอสส์ เชื่อว่า นอกเหนือจาก                    
เครื่องมือทางการวิจัยที่ล้ำยุคแล้ว บุคคลากรมืออาชีพนับเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะสร้างผลวิจัยที่มีคุณภาพออกมา   อิปซอสส์จึงเป็นองค์กรที่รวมผู้เชี่ยวชาญที่มีศักยภาพสูงครบทุกด้านของงานวิจัยในแหล่งเดียว  บรรลุเป้าหมายในแง่ของการพัฒนาองค์กรสู่แนวคิด “Unique multi-specialist capabilities”  ได้อย่างเด่นชัดและเป็นรูปธรรม  โดยอิปซอสส์ยังเป็นบริษัทวิจัยที่เป็นเจ้าของ Field Work, Data Science และ Operation ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆในประเทศไทย ทำให้บริษัทสามารถควบคุมคุณภาพของงานวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำได้อย่างดีเยี่ยม นับว่าเป็นเพียงไม่กี่บริษัทในประเทศที่มีความสามารถตรงนี้
จับกระแสโลกเปลี่ยน  ตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา โลกได้เข้าสู่ภาวะ Accelerated Change  อิปซอสส์ ได้นำหน้าปูทาง พลิกบทเป็น  “ผู้เปลี่ยนเกม” (Game Changers) แทนการอยู่ล้าหลัง  ปล่อยแคมเปญ “บี ชัวร์” (Be Sure) หนุนลูกค้าเป็น “ผู้คุมเกม” พลิกวงการวิจัยพร้อมๆ กัน
จากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจเรื่อยมาจนถึงปี 2562 โลกได้เข้าสู่ยุค  Accelerated Change  ซึ่งคือการที่โลก เทคโนโลยี และความต้องการของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อิปซอสส์ เชื่อว่า  ทุกคนและทุกธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้ทันกับกระแสโลก  อิปซอสส์ จึงได้ปูทางนำหน้าสู่การเป็น “ผู้เปลี่ยนเกม Game Changers)  ผ่านแคมเปญ .”Be Sure”   โดยแคมเปญนี้ต้องการสื่อสารว่า  การมีข้อมูลที่รวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำเท่านั้นที่จะทำให้ธุรกิจให้เดินหน้าอย่างแข็งแกร่ง ตอบรับสโลแกน  “YOU ACT BETTER WHEN YOU ARE SURE”   ผลลัพธ์คุณจะเหนือกว่า เมื่อเต็มเปี่ยมด้วยพลังของความมั่นใจ

มาตรการทั้งหมดนี้  ทำให้มั่นใจได้ถึงคุณภาพในทุกด้านของ อิปซอสส์ ได้เป็นอย่างดี  โดย  อิปซอสส์  ถือเป็นเพียงไม่กี่บริษัทในวงการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการบริการ  ISO 20252:2012 Certified, Strict QC protocols in-buil   อย่างสมความภาคภูมิ   นางสาว อุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ กล่าวปิดท้าย

ปรากฏการณ์ใหม่ของโลกที่กลุ่มผู้สูงอายุจะครองเมืองในทุกพื้นที่ของโลกเป็นครั้งแรก ในปี  2593 (2050) และกลายเป็นตัวขับเคลื่อน สู่ เศรษฐกิจสูงวัย (Silver economy) และ เศรษฐกิจอายุวัฒน์ (Longevity economy) เปลี่ยนความเชื่อเดิมๆ ออกจากกลุ่มมิลเลนเนียลส์
ส่วนไทย จะมีประชากรสูงอายุถึง 30%   ในปี 2578  ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงโดยรวมของประเทศ ในหลายด้าน ที่รอการปรับตัว
อิปซอสส์ เดินหน้าตอกย้ำจุดยืนใหม่  “ผู้เปลี่ยนเกม” (Game Changer)  พลิกมุมมองและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับคนทั้งโลก   ส่งรายงานผลวิจัยชุดล่าสุด “Getting Older–Our Aging world”  เพื่อเปลี่ยนมุมมอง สร้างความเข้าใจ และอธิบายผลกระทบของสังคมผู้สูงวัยให้กับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคธุรกิจ
เป็นที่คาดการณ์ว่า  ระหว่างปี  1980 – 2050 (พ.ศ. 2523 – 2593)   จำนวนผู้สูงวัยจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน้อยหนึ่งเท่าตัว โดยในปี 2050 (พ.ศ. 2593)  โลกจะมีจำนวนผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป กว่า 2.1 พันล้านคน ส่งผลให้ในอีกราว 30 ปีต่อจากนี้จะเป็นครั้งแรกที่โลกมีจำนวนคนแก่มากกว่าคนหนุ่มสาว โดย 1 ใน 5 ของประชากรโลกในปี 2050 (พ.ศ. 2593)    จะเป็นผู้สูงวัย ซึ่งสถิติดังกล่าวได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ นับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ผู้สูงอายุจะครองเมืองในทุกพื้นที่ของโลก
จากการขยายตัวของกลุ่มคนสูงอายุอย่างกว้างขวางทั่วโลก   จนเป็นที่แน่ชัดว่าเจนเนอเรชั่นทรงอิทธิพลจะมีการเปลี่ยนขั้ว จากกลุ่มมิลเลนเนียลส์  Millennial ที่เป็นความเชื่อเดิมๆ มาเป็น   กลุ่มผู้สูงอายุ   ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่คุมอำนาจทางการเงินและการเมือง  เป็นกลุ่มที่มีเงินเหลือเพื่อการใช้จ่าย  (Disposable Incomes) มากกว่าคนทุกกลุ่ม   กลายเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก สู่  เศรษฐกิจสูงวัย หรือ Silver Economy และ เศรษฐกิจอายุวัฒน์  (Longevity Economy)   ผลักดันให้กลายเป็นภาคเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก   ซึ่งทั่วโลกกำลังจับตาและศึกษาแนวโน้มกันอย่างกว้างขวาง
สำหรับในประเทศไทย  -- ข้อมูลจากการศึกษาของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส   ได้ระบุว่า หลังจากที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  (Ageing society)  ตั้งแต่ปี 2543   ที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในอัตราร้อยละ 10  และคาดว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์  (Aged society) ในปี 2564   ซึ่งจำนวนประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20%  จากนั้นในปี 2578 ก็จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุด (Super  Aged  Society) โดยมีประชากรสูงอายุถึง 30%  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงโดยรวมของประเทศในหลายด้าน  ทำให้หลายฝ่ายต้องเริ่มตระหนักและหันมาให้ความสำคัญกับการเตรียมการรองรับไว้ล่วง หน้าเช่นเดียวกับความกังวลของนานาประเทศในขณะนี้
มารู้จัก ผู้สูงวัยชาวโลกและ ผู้สูงอายุคนไทย  ในรายงานวิจัยชุดพิเศษ .”Getting Older – Our Aging World”  จากอิปซอสส์ ชี้ให้เห็นว่า การที่เราไม่เข้าใจและเข้าไม่ถึงความรู้สึกนึกคิด และ ความต้องการกลุ่มผู้สูงอายุ  จะทำให้เราประเมินสถานการณ์และวางแผนการต่างๆ ไม่ถูกทิศทาง
มารู้จัก ผู้สูงวัยชาวโลกและ ผู้สูงอายุคนไทย  กับการจับโอกาสมหาศาล  ลดความเสี่ยง  เริ่มจากการสร้างมุมมองใหม่  ออกจากปัญหาและการติดกับความเชื่อและภาพจำเดิมๆ   เช่น  การกำหนดผู้สูงวัยจาก ‘ตัวเลขอายุ’  และภาพจำเดิมๆ ที่ว่า  ผู้สูงวัยไม่สนใจเทคโนโลยี  ไม่ชอบเรียนรู้  และ ไม่ชอบสิ่งใหม่ๆ    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ในหมู่นักการตลาด กว่า 79% ยังใช้ ‘อายุ’ เป็นตัวชี้วัดในการกำหนดตัวตนของผู้สูงวัย แทนที่จะศึกษาจากความชอบ ไลฟ์สไตล์ หรือความต้องการที่แท้จริง ความเข้าใจผิดเหล่านี้  ทำให้เราไม่รู้จักผู้สูงอายุได้อย่างแท้จริง  ไม่เข้าใจและเข้าไม่ถึงความรู้สึกนึกคิด  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความต้องการของกลุ่มผู้สูงอายุ   ทำให้เราประเมินสถานการณ์ผิดพลาดและวางแผนต่างๆ ไม่ถูกทิศทาง
สำหรับประเทศไทย กว่า 75%  ของผู้สูงวัยคนไทยมีความสนใจและต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ   และ กว่า 1.2 ล้านของผู้สูงวัยชาวไทยที่มีอายุเกิน 60 ปี เข้าถึงโลกอินเตอร์เน็ต ดังนั้นความเชื่อที่ว่าผู้สูงวัยไม่ยอมปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่จึงเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องอีกต่อไป
ความชอบ ความต้องการ  พฤติกรรม และ ไลฟ์สไตล์  ของผู้สูงอายุทั้งที่เป็นภาพรวมของโลกและกลุ่มผู้สูงวัยชาวไทย ต่างก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเช่นเดียวกับ เจนเนอเรชั่นกลุ่มอื่นๆ
จากความเชื่อเดิมๆ  ที่ฝังใจกันทั่วไปว่า  ผู้สูงอายุไม่สนใจเรื่องเทคโนโลยีและการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เป็นวิวัฒนาการของโลกนั้น   อาจต้องมีการทบทวนใหม่  เพียงแต่ผู้สูงอายุอาจจะมีข้อจำกัดบ้างในบางจุดเพื่อการปรับตัวให้เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมดังกล่าว   ซึ่งอาจต้องใช้เวลากับสิ่งเหล่านั้นมากเป็นพิเศษ  อีกทั้ง อาจต้องใช้ความพยายามมากกว่าในการเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านั้น  
โดยข้อมูลวิจัยชุดพิเศษ  “Getting Older-Our Aging World”  จะบอกให้ทราบถึง  ความวิตกกังวลและความต้องการลึกๆ ที่อยู่ในใจของกลุ่มผู้สูงอายุทั้งที่เป็นภาพรวมตัวแทนผู้สูงวัยของโลก  และเจาะลึกถึงคุณลักษณะผู้สูงอายุชาวไทย ในแง่มุมต่างๆ  ทั้งด้านความชอบ  ไลฟ์สไตล์  พฤติกรรม   ความต้องการ  ตลอดจน  ข้อมูลในการใช้จ่ายเงิน  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกวงการ
โดยสิ่งที่ผู้สูงอายุทั่วโลกวิตกกังวลมากที่สุด คือ  เรื่องเงิน และ สุขภาพ  (Top Worries – Money & Health)  และสิ่งที่ผู้สูงอายุชาวไทยมีความกังวลใจซึ่งก็มีความใกล้เคียงกัน    โดยสามารถเรียงลำดับตามความวิตกกังวลของกลุ่มผู้สูงวัยของโลก  คือ   กลัวมีเงินไม่พอต่อการดำรงชีวิต  30%,   กลัวมีปัญหาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย  25%,  เสียความทรงจำ 24%,  ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ที่เคยทำได้ 22%,   การจากไปของคนในครอบครัว  ญาติ และเพื่อนฝูง   20%,   ความเจ็บป่วย 20%,   ถูกทิ้งให้เปล่าเปลี่ยว  เหงา  เศร้า 19%,   ไม่มีอิสระ 18%,         ตาย   16%,    หูตึง / ตามองไม่เห็น 13%   (รายละเอียดใน Chart 1)                      
ส่วนความกังวลใจของผู้สูงอายุคนไทยเมื่อถึงวัยชรา  เรียงตามลำดับได้ดังนี้  

51% - ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ที่เคยทำได้    41%-เจ็บป่วย     34%- ความเคลื่อนไหวทางร่างกาย     32% -มีเงินไม่พอต่อการดำรงชีวิต  27% -เสียความทรงจำ   20% -ญาติและเพื่อนฝูงค่อยๆ จากไป   15% -สูญเสียสายตาและ การได้ยิน   10%-ถูกทิ้งให้ล้าหลังทางเทคโนโลยี    10% -ผมหงอกและศีรษะล้าน   10% -เบื่อหน่าย   10% -ถูกทิ้งให้โดดเดี่ยว   7% -ไมได้รับการดูแลเอาใจ  เป็นต้น  (รายละเอียด Chart 2)
เป็นที่น่าสังเกตว่า  ปัจจุบัน ผู้สูงอายุคนไทย มีประกันภัยด้านสุขภาพถึง 50%  และ อีก  18%  เป็นการทำประกันในลักษณะ  Endownment  Life insurance

ในการนี้ เพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุคนไทยให้มากยิ่งๆขึ้น  อิปซอสส์ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมถึง ไลฟ์สไตล์ กิจกรรมที่ทำ ตลอดจน พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของกลุ่มผู้สูงวัย  ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

กิจกรรมยอดฮิตติดอันดับที่ผู้สูงอายุชาวไทยชื่นชอบตามลำดับ  คือ  การออกกำลังกาย  เดินทางท่องเที่ยว   การเพาะปลูก   ชอบสังคมเยี่ยมญาติ / เพื่อนสนิทมิตรสหาย  การเดินออกกำลังกาย และ  ร่วมกิจกรรมชุมชน  ในอัตรา 56%, 49%, 34%, 27%,  27%  22% ตามลำดับ
ส่วนพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงอายุชาวไทยนั้น  ผลสำรวจพบว่า  ผู้สูงอายุชาวไทยได้ให้ความ สำคัญในเรื่องของการใช้จ่ายเงินในเรื่องต่างๆ   ดังนี้  การใช้จ่ายเพื่ออาหารเป็นอันดับสูงสุด ถึง 95%  ตามมาด้วย  การออกไปทานอาหารนอกบ้านในโอกาสพิเศษถึง 78%  ใช้เงินกับซื้อเครื่องไฟฟ้าในบ้าน 78%   ใช้จ่ายสำหรับเสื้อผ้า 73%   ใช้เงินเพื่อการผ่อนคลาย 73%   การท่องเที่ยว  71% ตามลำดับ
มนุษย์ทุกคน ทุกเจน ไม่แบ่งแยกเฉพาะผู้สูงวัย  ย่อมอยากให้ตนเองมีสุขภาพดีไปนานๆ  โดยสถิติผู้สูงวัย   6 ใน 10 คนทั่วโลก  คาดหวังให้ตัวเองมีสุขภาพดี และ มีร่างกายแข็งแรงยามแก่  ส่วนคนสูงอายุชาวไทยมีการเตรียมตัวเพื่อการเป็นคนสูงวัยที่มีคุณภาพ เรียงตามลำดับ ดังนี้
ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ   ทานอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ   เก็บออมเพื่อให้มีเงินพอใช้หลังเกษียณ  หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอร์   หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่   สร้างทักษะกับงานอดิเรกที่สนใจ  มีบทบาทในชุมชน  พบปะเพื่อนฝูงแล อยู่ในแวดวงเพื่อนที่ดี   รักษาความสัมพันธ์อันดีกับหุ้นส่วน   ทำกิจกรรมด้านกีฬาเป็นประจำ  ดูแลปรับปรุงที่อยู่อาศัย   ใช้ วีลแชร์ ด้วยความชำนาญ  หาที่อยู่อาศัยที่เหมาะกับคนสูงอายุ  และอีก3%  เป็นเรื่องอื่นๆ   ในอัตรา 79%,  72%,  59%,  37%,  33%,  30%,  29%,  28%,  22%,  22%,  22%,  22%,  8%, และ  3%  ตามลำดับ
รายงานชุด “Getting Older – Our Aging World”  นี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วนหลัก  โดยในส่วนที่ 4 ซึ่งเป็นส่วนสุดท้าย จะเป็นข้อสรุปของประชากรผู้สูงอายุ  เป็นคำตอบของความหมาย  ข้อเท็จจริง และความคิดในแง่มุมต่างๆ  ตลอดจนสิ่งที่ควรทำ  โดยสรุปไว้เป็น 3 ส่วน  ดังนี้                                                                 1.   เป็นแนวทางที่แสดงให้เห็นทุกมิติทั้งในแง่ของมุมมองและแนวโน้ม                                                           ที่เกี่ยวกับรูปแบบการพักผ่อน   พฤติกรรมเรื่องการเงิน   ด้านการเมือง  เรืองของแบรนด์   ด้าน สุขภาพ   บ้านและครอบครัว   การทำงาน   เกี่ยวกับสวัสดิการ  
2. เป็นข้อมูลและข้อเท็จจริงเอื้อประโยชน์ให้กับภาคส่วนต่างๆ  อาทิ                                                         FMCG  อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค   Healthcare       อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ                                                           Financial service    บริการด้านการเงิน Public Sector    ภาครัฐ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad