“ถิรไทย” เซ็นสัญญาความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ SIEMENS ENERGY - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

“ถิรไทย” เซ็นสัญญาความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ SIEMENS ENERGY

“ถิรไทย” เซ็นสัญญาความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ SIEMENS ENERGY

“ถิรไทย” หรือ TRT ประกาศเริ่มต้นความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Siemens Energy นำระบบ Transformer Online Monitoring จากประเทศเยอรมนี และออสเตรีย ที่เน้นการตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้าแบบออนไลน์ที่เข้ากับ Smart Grids ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยหม้อแปลงไฟฟ้าทั้งหมดของ ถิรไทย ตั้งแต่ 20 MVA ถึง 1,000 MVA จะสามารถเลือกการติดตั้ง SIEMENS ENERGY Online Monitoring ซึ่งจะทำให้กลายเป็น Smart Transformer ทันที โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของ Siemens Energy ในฐานะผู้ให้บริการชั้นนำด้านอุปกรณ์ Transformer Online Monitoring และความชำนาญของกลุ่ม บริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าชั้นนำของประเทศไทย

ระบบตรวจสอบออนไลน์ของหม้อแปลงไฟฟ้า ที่ใช้เทคโนโลยี Siemens Energy สามารถ บูรณาการเข้ากับระบบไอที ที่มีอยู่ได้อย่างง่ายดาย และปรับให้เข้ากับความต้องการการใช้งานเฉพาะแต่ละประเภท เช่นสาธารณูปโภค (Utility) อุตสาหกรรม (Industry) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และการบริหารจัดการเมือง (Urban Management) เป็นต้น

นายสัมพันธ์ วงษ์ปาน กรรมการผู้จัดการ ของกลุ่ม บริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ด้วยทักษะและประสบการณ์ที่ยาวนานในธุรกิจหม้อแปลงของเรา ร่วมกับ ซีเมนส์ เอเนอยี่ (SIEMENS ENERGY) ผู้นำด้านเทคโนโลยีจากเยอรมนี เรามั่นใจว่าเราจะเป็นผู้นำในการส่งมอบการบริหารจัดการระบบ Transformer Online Monitoring ที่ครบวงจร เพื่อนำไปสู่การแปลงโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้าให้เป็นดิจิทัลทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน

ระบบ Transformer Online Monitoring ของ SIEMENS ENERGY ประกอบด้วย สมาร์ทมอนิเตอร์ที่สร้างแบบจำลองของหม้อแปลงในรูปแบบดิจิตอล โดยจะสามารถประมวลผลสภาพการใช้งานของหม้อแปลงและให้ข้อเสนอการดำเนินการทางเทคนิค โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับจากการเซ็นเซอร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น SITRAM Multisense หรือ Bushing Monitor ซึ่งทำให้สามารถตรวจสอบสภาพการใช้งานหม้อแปลงได้ทั้งในพื้นที่และจากระยะไกล”

การใช้ระบบ Transformers Online Monitoring ของ SIEMENS ENERGY เป็นการเริ่มใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในวิศวกรรมการบำรุงรักษา เช่น การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition Based Maintenance : CBM), การบำรุงรักษาตามความเสี่ยง (Risk-Based Maintenance : RBM) และการบำรุงรักษาเพื่อความเชื่อถือได้ของสินทรัพย์ (Reliability-centered maintenance : RCM) โดยการกำหนดระดับโหลดสำรอง (Load Reserve) ที่เหมาะสม เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการบริหารจัดการสินทรัพย์ (Asset Management) และการบริหารระบบเครือข่ายไฟฟ้า (Grid Operation) ซึ่งมีประโยชน์เชิงพาณิชย์ 2 ประการคือ การลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน และขยายอายุการใช้งานโดยใช้ Dynamic Overload Management ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์และระบบ Transformers Online Monitoring ของ SIEMENS ENERGY สามารถนำไปใช้ได้ทั้งหม้อแปลงใหม่ (Greenfield Transformer) และหม้อแปลงที่ใช้งานแล้ว (Brownfield Transformer) เช่นเดียวกัน

“การร่วมมือกับ SIEMENS ENERGY นับเป็นก้าวใหม่ในการนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านระบบไฟฟ้าจากยุโรป มาใช้งานอย่างเป็นทางการในประเทศไทย โดยถิรไทยจะใช้ทักษะและประสบการณ์ที่ยาวนานในธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้ามาใช้ เพื่อมุ่งมั่นยกระดับอุตสาหกรรมหม้อแปลงในประเทศขึ้น และต่อยอดเพื่อนำไปสู่การแปลงโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้า เดินหน้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านต่อไป” นายสัมพันธ์ กล่าวทิ้งท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad